17 ก.พ. 2022 เวลา 13:24 • การศึกษา
ระดับชั้นของสนามบิน (Airport Category)
ระดับชั้นของสนามบินในด้านที่เกี่ยวข้องกับขนาดของอากาศยานที่มาใช้บริการ
ณ ท่าอากาศยาน ตาม ICAO Doc 9137-AN/898, Airport Service Manual Part 1- Rescue and Firefighting ภาคผนวกที่ 2
เอกสารอ้างอิง
เอกสารอ้างอิง
เอกสารอ้างอิง
ระดับการป้องกันด้านการดับเพลิงและกู้ภัย (Level of protection) Category 10
สนามบินจะต้องจัดเตรียมสิ่งที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ รถดับเพลิงอากาศยาน สารดับเพลิง อัตราฉีดของรถดับเพลิงอากาศยาน (รวมกัน) อุปกรณ์ดับเพลิงและกู้ภัย รวมถึงบุคลากร เพื่อรองรับเหตุฉุกเฉินด้านอากาศยาน ตามข้อกำหนดของ กพท. และสอดคล้องตามข้อกำหนดของ ICAO ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
รถดับเพลิงอากาศยาน
จำนวนรถดับเพลิงอากาศยาน มีระบุไว้ในเอกสารของ
ตามข้อกำหนดของ กพท. หมวดที่ 6 บริการของสนามบิน ส่วนที่ 2
ดับเพลิงและกู้ภัย, 10 จำนวนและคุณสมบัติของรถดับเพลิงอากาศยาน ข้อ 1046 และ ข้อ 1047
เอกสารอ้างอิง
เอกสารอ้างอิง
ซึ่งใน Category ที่ 10 นั้น สนามบินต้องจัดให้มีรถดับเพลิงอากาศยาน
ไม่น้อยกว่า 3 คัน ในขณะที่ ทสภ. มีรถดับเพลิงอากาศยานอยู่ฝั่งละ 5 คัน
(รวมทั้งหมด 10 คัน)
การจัดเตรียมรถดับเพลิงอากาศยาน และอุปกรณ์ไว้ให้พร้อม
สำหรับการปฏิบัติงาน เพื่อรองรับเหตุฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้น
ภายในเขตท่าอากาศยาน หรือพื้นที่ใกล้เคียงท่าอากาศยาน
ผู้โดยสารจะได้รับการช่วยเหลือในภายในระยะเวลาที่รวดเร็วที่สุด
สารดับเพลิงและอัตราฉีดของรถดับเพลิงอากาศยาน (รวมกัน)
สารดับเพลิงนั้น ถูกแบ่งออกเป็น
สารดับเพลิงหลัก ซึ่งได้แก่ ปริมาณน้ำ และปริมาณน้ำยาดับเพลิงโฟม
สารดับเพลิงรอง (สารดับเพลิงขั้นต้น) ได้แก่ ผงเคมีแห้ง
เกี่ยวกับสารดับเพลิงนั้น ตามข้อกำหนดของ กพท. กำหนดไว้ในหมวดที่ 6 บริการของสนามบิน ส่วนที่ 2 ดับเพลิงและกู้ภัย 4 สารดับเพลิง
เอกสารอ้างอิง
เอกสารอ้างอิง
ปริมาณสารดับเพลิงและอัตราฉีดของรถดับเพลิงอากาศยาน (รวมกัน) ซึ่ง กพท. กำหนดไว้ในตามตารางที่ 34
เอกสารอ้างอิง
เปรียบเทียบกับปริมาณสารดับเพลิงและอัตราฉีดของรถดับเพลิงอากาศยาน
(รวมกัน) ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งใช้สารดับเพลิงโฟมที่มี
คุณสมบัติระดับ B เป็นสารดับเพลิงหลัก ดังระบุ ในตาราง
📌ติดตามพวกเรา #ARFF_AOT_VTBS
ติดตามสาระข่าวสารการเรียนรู้ "ด้านการดับเพลิง" จากทีม ARFF_AOT_VTBS
ได้ทุกช่องทาง
โฆษณา