Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Tech Gadget
•
ติดตาม
17 ก.พ. 2022 เวลา 15:54 • ไอที & แก็ดเจ็ต
แนวทางการประยุกต์ใช้งาน IoT สำหรับ Smart Home ตอนที่ 2
ตอนที่แล้วได้นำเสนอรูปแบบการประยุกต์อุปกรณ์ IoT สำหรับบ้านอัจฉริยะไปแล้ว 4 แบบ ตอนนี้เรามาดูการประยุกต์ใช้แบบอื่นๆ หากอยากย้อนดูตอนแรก ดูที่ท้ายบทความตามลิงค์ด้านใต้ได้ครับ
5. ระบบเสียง Multi-room (Multi-room Audio System)
ระบบเสียง Multi-room ช่วยส่งสัญญาณเสียงบนเครือข่าย Wi-Fi จากอุปกรณ์คอนเทนต์ไปยังลำโพงที่ต่อในเครือข่าย มีการนำเสนอระบบ Multi-room จากหลายบริษัท เช่น Sonos Yamaha (MusicCast) และ Denon (HEOS) ซึ่งเป็นระบบที่พร้อมใช้งานเมื่อมีการติดตั้ง ผู้ใช้สามารถวางลำโพงภายในห้องและสตรีมเพลงจากแพลตฟอร์ม Spotify หรืออาจส่งเพลงที่แตกต่างกันไปยังแต่ละอุปกรณ์ ลำโพง Amazon Echo และ Google Nest ก็สามารถสตรีมเพลงแบบเดียวกันนี้ได้เช่นกัน
6. ตัวจับควันและก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์ (Smart Smoke and Carbon Monoxide Detectors)
หากพิจารณาเครื่องตรวจจับควันไฟแบบเดิมจะพบว่ามีข้อจำกัดหลายอย่าง เช่น เครื่องอาจส่งเสียงเตือนดังขึ้นในขณะที่เจ้าของบ้านไม่อยู่บ้าน การเลือกใช้อุปกรณ์ตรวจจับควันอัจฉริยะจึงน่าสนใจ เพราะอุปกรณ์สามารถส่งสัญญาณเตือนไปยังโทรศัพท์มือถือของผู้ใช้หรือใครก็ตามที่ได้รับอนุญาตให้ติดต่อได้เมื่อมีเหตุอันตรายเกิดขึ้น ตัวตรวจจับควันบางรุ่นมีฟังก์ชันพิเศษ เช่น Google Nest Protect มีไฟฉุกเฉินในตัว ช่วยส่องทางเมื่อเกิดเพลิงไหม้ หรือ First Alert Onelink Safe & Sound ได้รวมเอาลำโพงอัฉริยะไว้ในตัว เพื่อช่วยอำนวยความสะดวก
7. ระบบน้ำอัจฉริยะ (Smart Irrigation)
น้ำเป็นทรัพยากรที่สำคัญอันหนึ่ง ระบบจัดการน้ำอัจฉริยะช่วยให้สามารถรดน้ำต้นไม้ สนามหญ้าหรือสวน เพื่อความร่มรื่นและลดการสิ้นเปลืองน้ำ ระบบน้ำอัจฉริยะเป็นระบบที่น่าสนใจในการลงทุน เนื่องจากไม่ต้องใช้กล่องควบคุมจึงมีราคาถูกกว่า เนื่องจากระบบน้ำมีความซับซ้อนดังนั้นการใช้แอปที่ออกแบบเฉพาะจึงเป็นทางเลือกที่ดีกว่า อุปกรณ์สำหรับระบบน้ำอัจฉริยะ ได้แก่ Rachio ที่เป็นตัวควบคุมสปริงเกอร์รดน้ำต้นไม้ Wyze Labs ตัวควบคุมสปริงเกอร์ราคาถูก และ Orbit B-Hyve ที่เป็นตัวตั้งเวลารดน้ำต้นไม้ในสวน หรือการรดน้ำผ่านสายยาง
8. บริการ IFTTT
IFTTT เป็นชื่อย่อจากคำว่า “If This Then That” รูปการใช้บริการนี้ เมื่อมีการส่งสัญญาณจากอุปกรณ์หนึ่งมายัง IFTTT แล้ว ระบบสามารถส่งสัญญาณไปสั่งงานอุปกรณ์ชิ้นอื่นได้ บริการ IFTTT ทำหน้าที่ลักษณะเดียวกับกล่องควบคุมบ้านอัจฉริยะ เป็นบริการที่ใช้กันอย่างแพร่หลายไม่จำกัดเฉพาะบ้านอัจฉริยะเท่านั้น
ตัวอย่างการใช้บริการ IFTTT กับบ้านอัจฉริยะ เช่น การกำหนดให้ไฟ Phillip Hue สว่างขึ้นเมื่อตัวจับเวลาใน Amazon Echo ถึงกำหนดเวลา ผู้ใช้สามารถกำหนด Applet สร้างเสียงสั่งงานว่า “ตัวจับเวลาบน Amazon Echo ถึงเวลาแล้ว…” เมื่อพูดประโยคนี้ไฟ Phillip Hue จะสว่างขึ้น
การสร้างบ้านอัจฉริยะไม่มีหลักการที่เป็นลำดับตายตัว หากคิดว่าการติดตั้งระบบตรวจจับควันไฟเป็นสิ่งจำเป็น ก็สามารถเริ่มติดตั้งอุปกรณ์นี้ก่อนได้ หากจะลงทุนกับกล่องควบคุม (Hub) ที่ช่วยให้สามารถใช้งานบ้านอัจฉริยะบนอินเทอร์เฟซเดียวกัน อาจลองเลือกกล่องควบคุมที่ใช้งานกันทั่วไป เช่น กล่องควบคุมบ้านอัจฉริยะ Aeotec ที่ใช้แพลตฟอร์ม Samsung SmartThings หรือกล่องควบคุม Ring Alarm และ Ring Alarm Pro ที่เน้นการรักษาความปลอดภัย หากมีข้อส่งสัยเกี่ยวกับกล่องควบคุมหรือการรองรับอุปกรณ์ต่างๆ สามารถตรวจเช็คได้จากเว็บไซต์ผู้ผลิต
salereg.com
แนะนำ Smart Home สำหรับผู้เริ่มต้น ตอนที่ 2 - Salereg
ตอนที่แล้วได้นำเสนอรูปแบบการประยุกต์อุปกรณ์ IoT สำหรับบ้านอัจฉริยะไปแล้ว 4 แบบ ตอนนี้เรามาดูการประยุกต์ใช้แบบอื่นๆกัน ดังนี้ 5. ระบบเสียง Multi-room (Multi-room Audio System) ระบบเสียง Multi-room ช่วยส่งสัญญาณเสียงบนเครือข่าย Wi-Fi จากอุปกรณ์คอนเทนต์ไปยังลำโพงที่ต่อในเครือข่ายได้ มีการนำเสนอระบบ Mul…
อ่านเพิ่มเติม
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย