18 ก.พ. 2022 เวลา 13:25 • ธุรกิจ
ยกระดับ LEAN Maintenance ด้วย Factorium CMMS Application
Startup สัญชาติไทยที่มีนามว่า factorium เป็นโปรแกรมซ่อมบำรุง CMMS (Computerized Maintenance Management System) ที่ถูกพัฒนามาเพื่อที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการบำรุงรักษาและช่วยให้การบริหารจัดการการบำรุงรักษาทำได้โดยสะดวก ทำให้การใช้งานและการทำงานของเครื่องจักรอุปกรณ์ต่างๆ ของโรงงาน และสินทรัพย์ต่างๆ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงที่สุด
วันนี้แอดมินพาเพื่อน ๆ ไปรีวิวการใช้งานระบบซ่อมบำรุงรักษาออนไลน์ (eMaintenance) ที่ให้ความรู้สึกถึงความทันสมัยและสามารถลดความสูญเสียกระบวนการซ่อมบำรุงได้อย่างมากมาย ซึ่ง Factorium เป็นโปรแกรมซ่อมบำรุง CMMS เป็น CMMS Application ที่มีการออกแบบให้ผสมผสานกันระหว่างหลักการ TPM (Total Productive Maintenance ) และเทคโนโลยีเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อสร้างระบบการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์
หรือ Predictive Maintenance ซึ่งเป็นการบำรุงรักษาที่ใช้วิธีการหรือเทคนิคใหม่ ๆ โดยใช้เครื่องมือวัดต่าง ๆ เพื่อติดตามสภาพเครื่องจักรและใช้ข้อมูลนั้นเพื่อการวางแผนในการซ่อมบำรุง เพื่อใช้ในการคาดคะเนอัตราการเสื่อมของเครื่องจักรจากผลการวัด ทำนาย พยากรณ์อาการชำรุดในปัจจุบันเพื่อสามารถจัดวางแผนเพื่อทำการบำรุงรักษาในอนาคต โดยอาจจะใช้วิธีการ วิเคราะห์ผลการบำรุงรักษาจากประวัติเครื่องจักร, ประวัติการซ่อมบำรุง เพราะในยุคของโลกสมัยใหม่ข้อมูลถือเป็นสินทรัพย์อย่างหนึ่ง
หากมองในมุมของ TPM นั้นมีจุดมุ่งหมาย คือ การเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการผลิต เพื่อทำให้บริษัทสามารถ สร้างผลกำไรได้โดยมีวิธีการ คือ การกำจัดความสูญเสียทุกรูปแบบให้หมดสิ้นไป ด้วยการทำให้ “เป็นศูนย์” และ “ป้องกันการเกิดซ้ำ , ป้องกันล่วงหน้าก่อนเกิด” โดยทุกคนมีส่วนร่วมทำกิจกรรมเพื่อกำจัดความสูญเสียให้เป็นศูนย์ (Zero Loss) ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ Zero Breakdown ที่มีหน่วยงานซ่อมบำรุง Planned Maintenance (PM) เป็นหลักในการขับเคลื่อนการซ่อมบำรุง โดยการบำรุงรักษาตามแผนต้องได้รับการสนับสนุน ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลเครื่องจักร อะไหล่ หรืองบประมาณต่าง ๆ โดยทั่วไปเป็นกิจกรรมเชิงบริหาร อันประกอบด้วย การจัดการข้อมูลด้านต่าง ๆ ในการบำรุงรักษา (Maintenance Information Management) เป็นสิ่งสำคัญ
แอดมินเองได้เริ่มใช้งานโปรแกรมแบบ Factorium Demo User (www.factorium.tech) เมื่อไม่นานมานี้ เลยขอสรุปการใช้งานแยกเป็นข้อๆ เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจแบ่ง 5 ข้อ
1. เตรียมข้อมูลเครื่องจักรแบบ Microsoft excelและรูปภาพไว้จะง่ายต่อใช้งาน ซึ่งประกอบด้วยคู่มือเครื่องจักรซึ่งต้องประกอบไปด้วยรายละเอียดของอุปกรณ์และชิ้นส่วน (Key components) ,การบำรุงรักษา (Maintenance Procedure) ,การบำรุงรักษาประจำวัน (Daily Maintenance) ,การบำรุงรักษาประจำสัปดาห์ (Weekly Maintenance) เพื่อเป็นวัตถุดิบพื้นฐานในการกรอข้อมูลในระบบ เพราะจุดเด่นที่ใช้โปรแกรม คือ การสร้างระบบเช็คชีทและแผนPM/AM ซึ่งเป็นไปตามการตั้งมาตรฐาน การทำความสะอาด ตรวจสอบ และหล่อลื่นแนวทางในการจัดเตรียมมาตรฐานเพื่อที่จะทำให้โอเปอเรเตอร์ทำงานได้ง่ายถูกต้องและครบถ้วน ซึ่งจะต้องประกอบไปด้วยสิ่งเหล่านี้
(1)หัวข้อตรวจสอบ (Inspection items) มีอะไรบ้างที่ต้องทำความสะอาด ตรวจเช็คและหล่อลื่นเพื่อดูแลรักษาเครื่องจักรให้อยู่ในสภาพปกติหัวหน้างานควรชี้แนะส่วนที่ขาดอยู่หรือส่วนที่ซ้ำกันอยู่
(2)จุดสำคัญ (Key Point) เป็นการชี้ให้เห็นว่าจะเกิดอะไรขึ้นหากชิ้นส่วนนี้เกิดสกปรก หลวมหรือหล่อลื่นไม่เพียงพอวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถจดจำถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นหากไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกต้องคำแนะนำ จากหัวหน้างานในสิ่งเหล่านี้จึงมีความจำเป็นมาก
(3)วิธีการ (Method) เลือกวิธีการตรวจเช็คที่ง่ายและเหมาะสมที่สุดคิดค้นสร้างวิธีการควบคุมโดยการมอง (Visual control) เพื่อให้ทุกคนสามารถตรวจเช็คได้ถูกต้องและเชื่อถือได้
(4) เครื่องมือ (Tools) เลือกเครื่องมือที่จะใช้ในการทำความสะอาดหล่อลื่น และตรวจสอบ พร้อมติดป้ายชื่อให้ชัดเจน
(5) เวลา (Times) กำหนดเวลาที่จะใช้ในแต่ละงาน และกำหนดเป้าหมายการลดเวลาโดยการปรับปรุงอยู่เรื่อย ๆ ให้ทำงานไดง่ายขึ้นและลดเวลาการทำงานให้น้อยที่สุด
(6) ช่วงเวลา (Interval) กำหนดความถี่ในการตรวจสอบและวัดความสำเร็จตามเป้าหมาย เพื่อยืดช่วงเวลาการตรวจให้ยาวขึ้นงานบางอย่างต้องขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญการบำรุงรักษา เช่น การเปลี่ยนถ่ายสารหล่อลื่นเป็นต้น
(7) ผู้รับผิดชอบ (Responsibility) กำหนดให้มีผู้ดูแลรับผิดชอบในแต่ละหน้าที่ เพื่อให้มั่นใจว่า จะไม่มีการหลงลืม และให้ทุกคนมีบทบาทในการสร้างความรู้สึกในการเป็นเจ้าของเครื่องจักรมากขึ้น
2. เมื่อเข้าโปรแกรม Factorium และกดไปที่ปุ่ม home เพื่อดู VDO ก่อนการใช้งานอย่างละเอียด อันนี้ต้องดอกจันเลย เพราะจะได้เข้าใจระบบขั้นต้นต้องดู video ทั้งหมด 12 ขั้นตอน จากนั้นให้ดูคือ สร้างแบบฟอร์มตรวจเช็ค , กำหนดแผนตรวจเช็ค ,กำหนดวันหยุดงาน ซึ่งเป็นงานที่ผมชอบที่สุด (video อาจไม่เหมือนกับversion ที่เราใช้นะครับ)
3.เลือกผู้ใช้งานและเครื่องจักร เพื่อแจกUsersและลงทะเทียบเครื่องจักร ขั้นตอนนี้จะเป็นการกำหนดระบบการแจ้งซ่อม,ปิดงานและติดตามสถานะต่าง ๆ เนื่องจากแพ็กเกจฟรี มี 15 users แบ่งเป็นผู้ใช้งานหลัก (Main) 3 Users ผู้แจ้งซ่อม (Reporter) 12 Users
4. ดาวน์โหลดแอพ สำหรับ ไอโฟน (iPhone) และแอนดรอย (Android) ลงมือถือเพื่อลงผู้ใช้ อันนี้เราสามารถบริหารจัดการกับระบบได้อย่างเต็มที่ เช่น ระยะช่วงทดลองแอดมินกำหนดผู้ดำเนินการอยู่ที่ 5 คน เพื่อทดสอบในกลุ่มเล็กๆ เพื่อความคล่องตัวในการดำเนินการที่ไม่ต้องผ่านลำดับชั้นการตัดสินใจ
5.กรอกข้อมูลลงระบบ งานนี้ใช้เวลาพอสมควรเพราะเรายังไม่คุ้นชินกับระบบนี้ แนะนำให้ทดลองประมาณ 5 เครื่องจักร เมื่อเริ่มคล่องค่อยเพิ่มจำนวนเครื่องจักร (Asset) สูงสุดได้ 50 เครื่อง ซึ่งในข้อนี้มีฟังก์ชันที่ผมชอบ คือ การสามารถสร้างรหัสอาการเสียและuser Tag เพราะที่โรงงานผมเองมีการทำ Autonomous maintenance หรือ การบำรุงรักษาด้วยตนเองซึ่งเป็นลักษณะพิเศษของกิจกรรม TPM ไม่เหมือนกิจกรรมปรับปรุงประเภทไหน การกำจัดความผิดปกติของเครื่องจักรและบริเวณโดยรอบ ถือเป็นเป็นพื้นฐานที่สำคัญเพราะความผิดปกติ 7 ประเภท ซึ่งจะต้องติด Abnormity Tag ซึ่งเป็นขั้นตอนดำเนินการของ AM Step 1 คือ การทำความสะอาดแบบ Deep Cleaning เพื่อตรวจสอบหาสิ่งผิดปกติและฟื้นฟูสภาพเครื่องจักรให้ได้ตาม Basis condition
โปรแกรมซ่อมบำรุง Factorium CMMS มีจุดเด่นด้านการออกแบบหน้าตาของเว็บไซต์ให้สามารถเข้าใจได้ง่าย สามารถ เข้าใช้งานได้ ไม่สับสน ไม่ซับซ้อน และมีการแย่งหมวดหมู่หัวข้อต่างๆ อย่างชัดเจน เพื่อลดโอกาสความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ส่วนด้านการใช้งาน Application มือถือด้านการตอบสนองต่อการใช้งานนั้น ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อเข้าเมนูนี้หรือคลิกที่ปุ่มนี้หรือปัดหน้าจอของ Apps การตอบสนองต่อการใช้งานดี หากมองในการเริ่มใช้งานแอดมินเองบอกได้เลยว่าโปรแกรมนี้สามารถสร้างความพึงพอใจต่อการใช้งานอย่างมาก เพราะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้เพิ่มขึ้น กำจัดความสูญเสีย สูญเปล่าของกระบวนการทำงานและถือเป็นสร้างระบบการทำงานด้วยข้อมูลสำหรับขับเคลื่อนงานซ่อมบำรุง
ส่วนข้อเป็นกังวลของแอดมิน มีเพียง 2 ข้อเท่านั้น
.
ข้อแรกเนื่องจากแพ็กเกจฟรีนั้นมีข้อกำจัดเรื่องไม่ระบบรายงานวิเคราะห์ ซึ่งแอตมินเองต้อง export ข้อมูลออกมาเพื่อสร้างเอง ส่วนข้อสองคือการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานใหม่มักมีแรงด้านจากผู้ใช้งานอื่น ๆ จงอดทนและทดลองใช้ให้ครบฟังก์ชั่น แอดมินเองพึ่งเริ่มใช้มาไม่นานมานี้ ภาคต่อเป็นอย่างไรเดียวมาบอกต่อนะครับ
.
โปรแกรมนี้แอดมินแนะนำว่าเหมาะสำหรับการองค์กรที่อยากเริ่มใช้ข้อมูลสำหรับงานซ่อมบำรุง เพื่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างสูงสุด ยิ่งไปกว่าโปรแกรมตัวนี้พร้อมให้ท่านสามารถเข้าทดลองใช้ได้ทันที แถมทดลองใช้ฟรีและไม่จำกัดระยะเวลา
หากท่านใดที่สนในสามารถเข้าไปติดต่อสอบถามได้ที่ www.factorium.tech
หากต้องการใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพสามารถซื้อเป็นแพ็คเกจ version เต็มได้เลย
#Factorium #งานซ่อมบํารุง #IoT #SmartFactory
โฆษณา