18 ก.พ. 2022 เวลา 14:54 • ยานยนต์
#สาระควรทราบ เพื่อคิดและปรับใช้#
รูปแบบ และ หลักการทำงานของ รถยนต์ไฮบริด
ไฮบริด hybrid
ตามความหมายdictionary หมายถึง ลูกผสม , พันธุ์ผสม
ยกตัวอย่าง เช่น ลูกผสมของสุนัข
Huskador = Labrador Retriever ผสม Husky
Pomsky =Pomeranian ผสม Husky
ถ้าแบบนี้ คนที่มีเชื้อสายผสม ก็เรียกเป็น ไฮบริด ได้
ทีนี้มาถึง คำว่า **รถไฮบริด** คือ รถ ที่มีการใช้เชื้อเพลิง ผสมผสาน
ก่อนหน้านั้น เรามีแต่รถยนต์ วิ่งด้วยน้ำมัน
ซึ่ง มนุษย์เราก็กริ่งเกรง ว่า น้ำมันปิโตรเลียม มันใช้แล้วมีวันหมดไป
จะทำยังไงกันล่ะ
ต่อมาก็มีคนคิด เอธานอล กับ ไบโอดีเซล ที่ผลิตจากพืช เพื่อ
นำมาผสมกับน้ำมันปิโตรเลียมชนิดต่างๆ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ให้ มีการใช้ ปิโตรเลียม น้อยลง
จวบจนมาถึงต้นยุค Digital disruptionมันจึงมี รถยนต์ ใช้เชื้อเพลิง หลากชนิดขึ้น เช่น แก๊ส ฯลฯ
ซึ่ง จะเป็นการใช้เชื้อเพลิง ชนิดนั้น
เมื่อเชื้อเพลิงหมด ก็จะใช้ น้ำมันเช่นเดิม
กระบวนการวิวัฒนาการ ของเชื้อเพลิง ของรถ ก็ดำเนินมาถึง การควบคู่ไปกับ **กระแสการอนุรักษ์โลก** ของคนทั่วโลก
ซึ่ง การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเป็นการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ออกมามาก
จึงต้องการ ลดจำนวนการปล่อยก๊าสคาร์บอนไดออกไซด์ ของรถ
ซึ่ง รถไฟฟ้า ตอบโจทย์ ลดคาร์บอนไดออกไซด์
ตาม**กระแสอนุรักษ์โลก*" ได้
แต่ ทั้งนี้ทั้งนั้น การใช้รถที่ใช้ไฟฟ้า ยังตอบโจทย์ งานหนัก ของการใช้รถไม่ได้ สำหรับการขนส่ง
ซึ่งคงมีหลายคนแย้งว่า รถที่คนไทยทำคนไทย สร้าง สามารถนำมาบรรทุกของได้
เราค่อยมาว่ากัน ภายหลัง นะครับ
1. รถที่ใช้ พลังงานศักย์ไฟฟ้า ประจุแบตเตอรี่
1.1 รถยนต์ที่เคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าอย่างเดียว
 
เด่นที่สุดก็ เทสล่า และยังมีอีกหลายยี่ห้อหลากหลายชาติผลิต
รถชนิดนี้ เมื่อกระแสไฟฟ้า ไม่พอทำให้เครื่องยนต์ทำงาน ก็ต้อง ประจุแบตใหม่
โดยการเสียบปลั๊กชาร์จไฟ
รถชนิดนี้ไม่สามารถตอบโจทย์เรื่องการประหยัดพลังงาน เพราะ
มันคือการเปลี่ยนพลังงานน้ำมันมาใช้ไฟฟ้าที่ต้องมีค่าใช้จ่ายในการผลิต
แต่ สามารถตอบโจทย์ **กระแสอนุรักษ์โลก** ได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย เพราะ
ไม่มีการสร้างคาร์บอนไดออกไซด์เลย
การจะใช้ รถ ชนิดนี้ ให้ได้ระยะทางไกลๆ ก็ต้องดู
สเปคอัตราการสิ้นเปลืองไฟฟ้า
ของรถคันนั้น
แต่ช่วงแรกนึ้ หาที่ประจุยาก ในกลางทาง และ ใช้เวลาค่อนข้างนาน
1.2 รถยนต์ ปลั๊กอินไฮบริด
แบบนี้ กำลังเป็นที่นิยมของโลก ด้วย **กระแส อนุรักษ์โลก**
แม้แต่ เบนซ์ กับ ฮอนด้า เลิกผลิต ไฮบริด **พลังงานจลน์** (จะกล่าวถึงภายหลัง)
1.3 รถยนต์ ประจุแบตเตอรีตลอดเวลาโดยใช้น้ำมัน
มีที่เห็นชัด คือ นิสสัน
เรียกพลังงาน ชนิดนี้ ว่า E-power
โดยใช้หลักการ พลังงานน้ำมัน
ไปหมุนเจนเนอเรเตอร์ สร้างไฟฟ้าไปประจุไว้ในแบตเตอรี่ และ คอยประจุเติมเข้าไปตลอด เวลาที่รถเคลื่อน
การใช้น้ำมัน สร้างไฟฟ้านี้ อัตราสิ้นเปลืองน้ำมันน้อยกว่า การใช้น้ำมันไปหมุนเครื่องยนต์
ถ้าน้ำมันหมด และ แบตเตอรี่หมด ก็วิ่งไม่ได้ แต่ ก็สร้างการประหยัดพลังงานน้ำมันไปได้บ้าง และสามารถตอบโจทย์ในเรื่อง ของ กระแสอนุรักษ์โลก ได้บ้าง
2. รถที่ใช้ พลังงานจลน์ไฟฟ้า ประจุแบตเตอรี่
 
เป็นรถที่สร้างพลังงานไฟฟ้า จากการ เสียดสี นำมาเก็บไว้ในแบตเตอรี่
ใช้พลังงานไฟฟ้า และพลังงานน้ำมัน ในการหมุนมอเตอร์แต่ละชนิด
และมอเตอร์ทั้งสอง จะช่วยกัน เมื่อความเร็วรอบของเครื่องยนต์สูงขึ้น
และมีการประจุไฟฟ้าให้กับ แบตเตอรี่ ตลอดเวลาที่รถแล่น ไม่ต้องเสียบปลั๊ก ไม่ต้องหาที่ชาร์จไฟฟ้า
 
เป็นรถ ที่ตอบโจทย์ การประหยัดน้ำมัน
ได้ดี เพราะมี
พลังงานเสียดสี ที่ไม่ต้องซื้อ
อีกทั้งตอบโจทย์ในเรื่อง ของ กระแสอนุรักษ์โลก ได้บ้าง
 
ยุคแรกของรถชนิดนี้ มี โตโยต้า ฮอนด้า เบนซ์
ยุคปัจจุบันหลงเหลือเพียงโตโยต้า
ซึ่งเหล่ารถญี่ปุ่นใช้ร่วมกับ น้ำมันเบนซิน ส่วนเบนซ์ นำไปใช้กับเทคโนโลยี Bluetec ซึ่ง เป็นระบบดีเซล อันประหยัด ของเบนซ์เอง
ในการ ใช้ไฟฟ้า จาก แบตเตอรี่ นั้น
รูปแบบการใช้พลังงานศักย์
เมื่อใช้ไป ถึงจุดที่ตั้งไว้เพื่อชาร์จ
จะทำให้กระแสแรงดันไฟฟ้าที่เก็บในแบตเตอรี่ ตก
ถ้า รอบเครื่องไม่เร็วมาก
ก็จะใช้ ไปได้ถึง จุดที่เขาตั้งไว้
รูปแบบการใช้พลังงานจลน์
แต่ถ้า คุณเป็นคนขับรถเร็ว เปลี่ยนจังหวะ กระชาก บ่อย
มันก็ย่อมเปลืองไฟฟ้าในแบตฯ เป็นธรรมดา
และอาจจะหยุดการจ่ายไฟฟ้าอีก
เพราะแรงดันไฟฟ้าไม่พอ
การประจุ พลังงานจลน์
ดังนั้น เมื่อเรารู้ ลักษณะการทำงานของรถยนต์ไฟฟ้า ตามแบบ นี้แล้ว
เราก็กลับมาดู วัตถุประสงค์หลัก ของการใช้รถ และ วัตถุประสงค์ รองๆ ลงไป
มันเป็น Utility Theory ทฤษฏี อรรถประโยชน์
มนุษย์เรา มี ความต้องการ การใช้งาน แตกต่างกัน
ต้องดีไซน์การใช้ให้เข้ากันกับศักยภาพ, ความถนัด และความชอบ
ดังนั้นแต่ละ วัย แต่ละอาชีพ ฐานะทางสังคม จะมีทัศนคติต่างกัน
เอาให้เหมาะสม เมื่อทราบ
คิด และปรับใช้กันเอาเอง
โฆษณา