20 ก.พ. 2022 เวลา 15:18
Toxic Shock Syndrome กับ ประจำเดือน
Toxic Shock Syndrome(TSS)
เป็นกลุ่มโรคที่มีอาการรุนแรงอย่างเฉียบพลัน
มีโอกาสติดเชื้อน้อย แต่ถ้าหากติดเชื้ออาจมีอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้
สาเหตุของโรค
เกิดจากแบคทีเรียทั่วไปบางชนิด
โดยส่วนใหญ่จะเกิดจากสารพิษที่ผลิตโดยเชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus)
พบเชื้อดังกล่าวได้ตามโพรงจมูก ผิวหนัง เส้นผม รักแร้ อวัยวะเพศ รวมทั้งขนบริเวณอวัยวะเพศ เป็นต้น
ซึ่งจะไม่เป็นอันตราย หากแต่สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อได้ เมื่อแบคทีเรียเข้าสู่กระแสเลือด
และเจริญเติบโตจนสามารถสร้างสารพิษจำนวนมากขึ้นมาได้
TSS สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ผู้ชาย หรือแม้แต่เด็กก็ตาม
เนื่องจากการติดเชื้อสามารถเกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุ
เช่น เกิดจากการผ่าตัด มีบาดแผลหรือรอยไหม้บนผิวหนัง การติดเชื้อไวรัส เช่น อีสุกอีใส ไข้หวัดใหญ่
แต่ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ที่ติดเชื้อ
ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นกับผู้หญิงในวัยประจำเดือน
โดยมีปัจจัยเสี่ยงมาจากการใช้ผ้าอนามัยแบบสอด(Tampon) และผ้าอนามัยแบบถ้วย(Menstrual Cup)
(จะเกิดการติดเชื้อจากการใช้ผ้าอนามัยแบบสอดได้มากกว่าการใช้ผ้าอนามัยแบบถ้วย เนื่องจากลักษณะ และวัสดุของผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกัน)
โดยการใช้ผ้าอนามัยแบบสอด
จะสามารถเพิ่มความเสี่ยงของTSS ได้ 2 วิธี คือ
• ผ้าอนามัยแบบสอด โดยเฉพาะแบบที่สามารถซึมซับได้มาก(ใช้ในวันมามาก)
หากตกค้างอยู่ในช่องคลอดเป็นระยะเวลานาน
จะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดแบคทีเรียได้
• ผ้าอนามัยแบบสอด สามารถติดกับผนังช่องคลอด ในบางกรณีอาจทำให้เกิดรอยถลอกเล็กๆ เมื่อดึงผ้าอนามัยแบบสอดออกมา
อาการเกิดจาก TSS
- มีไข้สูงเฉียบพลัน
- ความดันโลหิตต่ำ
- ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและศีรษะ
- คลื่นไส้อาเจียน
- ท้องเสีย
- หนาวสั่น
- สับสน
- เกิดอาการชัก
- เป็นลมหมดสติ
เป็นต้น
หากมีอาการดังกล่าว หรือกังวล และมีความเป็นไปได้ว่าอาจจะเป็นอาการในกลุ่ม TSS
ให้หยุดใช้ผลิตภัณฑ์ทันทีและปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
วิธีการรักษา
ในเบื้องต้นแพทย์จะฉีดยาปฏิชีวนะเพื่อควบคุมการติดเชื้อไม่ให้ลุกลาม
หากใช้อุปกรณ์คุมกำเนิดในช่องคลอด แพทย์จะทำการถอดอุปกรณ์ดังกล่าวออก และทำความสะอาดแผลด้วยการผ่าตัดกำจัดหนอง
เพื่อลดการติดเชื้อ
นอกจากนี้ อาจใช้วิธีการรักษารูปแบบอื่นร่วมด้วย เช่น การให้ของเหลวผ่านหลอดเลือดดำเพื่อป้องกันร่างกายขาดน้ำ การให้ยารักษาระดับความดันเลือด
และในกรณีที่เกิดภาวะไตวาย ต้องทำการฟอกไตเพื่อขจัดของเสียภายในร่างกาย
ข้อแนะนำ
• ควรปฏิบัติตามคู่มือวิธีการใช้ผ้าอนามัยแบบสอดอย่างเคร่งครัด
• ไม่ควรใช้ผ้าอนามัยแบบสอด หากไม่มีประจำเดือน (เนื่องจากจะทำให้ช่องคลอดแห้ง และได้รับบาดเจ็บได้ง่าย)
• เปลี่ยนผ้าอนามัยทุกๆ 4-6 ชั่วโมง
• หากไม่จำเป็น ไม่ควรใส่เมื่อนอนหลับ
• ห้ามใส่ตอนมีเพศสัมพันธ์
• เมื่อถอดออกแล้ว ไม่ควรนำมาใส่ใหม่
อาการของ Toxic Shock Syndrome
Tampon , Menstrual Cup , Applicator
โฆษณา