21 ก.พ. 2022 เวลา 11:50 • ประวัติศาสตร์
ไครเมีย - รัสเซีย - ยูเครน สิ่งที่ทุกคนต้องรู้ ในวิกฤติครั้งนี้
3
เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2014 กลุ่มกองกำลังไม่ทราบฝ่ายแต่งกายคล้ายทหารรัสเซีย บุกเข้ายึดอาคารรัฐสภาไครเมียและเชิญธงชาติรัสเซียขึ้นสู่ยอดเสา
1
สหรัฐอเมริกาและชาติตะวันตกหลายชาติได้ออกมาประณามการกระทำดังกล่าว มีการคว่ำบาตรทางการเงินและการเมืองกับประเทศรัสเซีย เศรษฐกิจรัสเซียดิ่งลงเหว
2
ปีนี้ ความขัดแย้งของยูเครนและรัสเซียปะทุขึ้นมาอีกรอบ จนเกิดความกังวลอย่างหนักถึงสงครามที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งของความขัดแย้งในครั้งนี้เป็นเรื่องราวที่เหมือนกับ “วิกฤติการณ์ไครเมีย”
4
เรื่องราวในครั้งนั้นเป็นอย่างไร
ไครเมียสำคัญต่อรัสเซีย ขนาดไหน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
6
เรื่องราวทั้งหมดนี้ย้อนกลับไปในปี 1774 หรือราว 248 ปีก่อน..
 
จักรวรรดิออตโตมันหรือประเทศตุรกีที่เรารู้จักกันในปัจจุบัน ได้ทำสงครามครั้งใหญ่และได้พ่ายแพ้ให้กับจักรวรรดิรัสเซีย ทำให้ต้องปลดปล่อยดินแดนไครเมียเป็นอิสรภาพ
2
แต่อาณาจักรไครเมียตาตาร์ ในสถานะรัฐหุ่นเชิดของรัสเซียในตอนนั้น ได้เผชิญกับปัญหาภายในที่รุมเร้าจากการแก่งแย่งชิงอำนาจภายในทำให้อ่อนแอลง
2
จนในปี 1783 จักรวรรดิรัสเซียได้ผนวกดินแดนไครเมียเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิอย่างสมบูรณ์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา..
1
ตัดกลับมาที่ประมาณ 30 ปีที่แล้ว สหภาพโซเวียตได้ล่มสลายลง ทำให้สาธารณรัฐต่าง ๆ ที่เคยอยู่ภายใต้การปกครองของสหภาพโซเวียต ได้แยกตัวออกมาเป็นรัฐอิสระ หนึ่งในนั้นก็คือ “ประเทศยูเครน”
1
และในตอนนั้น “ดินแดนไครเมีย” ก็ออกจากสหภาพโซเวียตไปอยู่ในประเทศยูเครนด้วย..
ที่ผ่านมา ประเทศยูเครนมีขั้วการเมืองที่ถูกสนับสนุนจากฝ่ายตะวันตกและรัสเซียผลัดกันขึ้นครองอำนาจเป็นผู้นำสูงสุดของประเทศ ทำให้เสถียรภาพทางการเมืองของประเทศสั่นคลอนอยู่ตลอดเวลา
4
จนกระทั่งเดือนพฤศจิกายน ปี 2013 ประธานาธิบดีของยูเครนในขณะนั้น หรือคุณวิคเตอร์ ยานูโควิช ได้ตัดสินใจยกเลิกการทำข้อตกลงทางการค้ากับสหภาพยุโรป หรือ EU โดยอ้างว่าได้รับแรงกดดันจากรัสเซีย
4
ทำให้ประชาชนชาวยูเครนผู้มีความหวังในการค้าเสรีกับสหภาพยุโรปโกรธ และเกิดการเดินขบวนประท้วงขนาดใหญ่ในทุกหัวเมืองหลักทั่วประเทศ โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่จัตุรัสไมดาน กรุงเคียฟ เมืองหลวงของประเทศ
5
โดยกลุ่มผู้ชุมนุม “ยูโรไมดาน” นั้น ได้ออกมาเรียกร้องให้ประธานาธิบดียานูโควิชลาออกจากตำแหน่ง และแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อกลับไปสานสายสัมพันธ์กับสหภาพยุโรปอีกครั้ง
3
แต่ทว่ารัฐบาลยูเครนในขณะนั้น กลับเลือกใช้ความรุนแรงในการปราบปรามผู้ชุมนุมจนสถานการณ์บานปลาย จนมีผู้เสียชีวิตหลายร้อยราย และบาดเจ็บหลายพันคน
7
ซึ่งในระหว่างนี้เองก็มีคลิปเสียงหลุดจากเจ้าพนักงานระดับสูงของสหรัฐฯ ที่พยายามจะจัดตั้งรัฐบาลใหม่ของยูเครนออกมา และภายหลังจากการประท้วงผ่านไปได้เกือบ 3 เดือน ประธานาธิบดียานูโควิชจึงได้ยอมเซ็นข้อตกลงเพื่อระงับเหตุการณ์ร้ายแรงไม่ให้บานปลายไปมากกว่านี้
3
โดยใจความหลัก ๆ ของข้อตกลงก็คือ
- จัดให้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีขึ้นใหม่
- จัดสมดุลอำนาจของการปกครองใหม่
2
แต่หลังจากที่เซ็นข้อตกลงไปแล้วได้เพียง 1 วัน ประธานาธิบดียานูโควิชก็ได้บินหนีออกนอกประเทศไปที่รัสเซียทันที
7
ถึงตรงนี้ ภาคตะวันออกและดินแดนของยูเครนที่ติดกับรัสเซีย และภาคใต้ในดินแดนไครเมีย ก็มีการจัดตั้งม็อบของผู้ที่สนับสนุนรัสเซียเกิดขึ้นมา ส่วนรัสเซียนั้นก็เคลื่อนทหารกว่า 150,000 นายประชิดชายแดนทันที
5
ช่วงเช้ามืดวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2014 กลุ่มกองกำลังไม่ทราบฝ่ายแต่งกายคล้ายทหารรัสเซีย ก็ได้ทำการบุกเข้ายึดอาคารรัฐสภาไครเมียและเชิญธงชาติรัสเซียขึ้นสู่ยอดเสา ค่าเงินฮริฟเนียของยูเครนในตลาดโลกร่วงลงอย่างหนัก
2
กลุ่มม็อบผู้สนับสนุนรัสเซียในยูเครนเริ่มขยายวงกว้างไปทั่วประเทศ
ส่วนสหรัฐอเมริกาและชาติตะวันตกก็เริ่มมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียทันที
ส่งผลให้ตลาดหุ้นและค่าเงินของรัสเซียร่วงลงอย่างหนัก เช่นกัน
1
คุณบารัก โอบามา ประธานาธิบดีของสหรัฐฯ ได้ต่อสายตรงถึงคุณวลาดีมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีของรัสเซีย เป็นการพูดคุยที่ยาวนานหลายชั่วโมง แต่การเจรจานั้นไร้ผล
4
ในช่วงกลางเดือนมีนาคม หลังจากการทำประชามติ ดินแดนไครเมียได้ประกาศตัวเป็นอิสรภาพจากประเทศยูเครน และเข้าร่วมผนวกเป็นดินแดนของรัสเซียอีกครั้งหนึ่ง
5
ซึ่งเรื่องราวหลังจากนั้น สำหรับยูเครนเองก็ได้มีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ขึ้น โดยหันไปจับมือกับชาติตะวันตกมากขึ้น และพยายามลดการพึ่งพาทางการเงินและพลังงานจากรัสเซียลง
4
ส่วนรัสเซียนั้นต้องเผชิญกับพิษเศรษฐกิจอย่างหนักจากการคว่ำบาตรและกีดกันทางการเงินจากชาติตะวันตก
2
ก่อนหน้านั้น 1 บาทไทย เท่ากับประมาณ 1 รูเบิลของรัสเซีย
แต่หลังจากมาตรการคว่ำบาตรนั้น 1 บาทไทย สามารถแลกได้ถึง 2 รูเบิลเลยทีเดียว
และยังคงอยู่ในระดับนี้ มาจนถึงทุกวันนี้
3
ทีนี้เรามาดูกันว่า ไครเมีย สำคัญกับรัสเซียขนาดไหน ?
จริง ๆ แล้ว ก็ต้องบอกว่าไครเมีย เป็นจุดยุทธศาสตร์ในทะเลดำซึ่งเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือรัสเซีย
ทั้งยังอุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันและแหล่งอาหารทะเล
4
อีกเหตุผลหนึ่ง ก็คือพื้นที่แห่งนี้ยังเรียกได้ว่าเป็นอนุสรณ์ประวัติศาสตร์ของรัสเซีย ซึ่งทหารรัสเซียได้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ราว 4 แสนชีวิตเพื่อปกป้องดินแดนนี้ในช่วงสงครามกับชาติตะวันตกในปี 1853 หรือราว 169 ปีก่อน
1
นอกจากนั้น ดินแดนแห่งนี้ยังเป็นคะแนนนิยมของคุณวลาดีมีร์ ปูติน ใช้เป็นสัญลักษณ์ของการไม่ยอมอยู่ใต้อาณัติของชาวตะวันตก
1
ปัจจุบัน สถานะของไครเมียจึงเป็นการโดนผนวกเข้ากับรัสเซียเต็มตัว โดยตลอดระยะเวลา 8 ปีที่ผ่านมา
แม้จะมีความพยายามเจรจาหยุดยิงระหว่างยูเครนและรัสเซียหลายครั้ง แต่ก็แทบไม่เป็นผล
2
ส่วนเรื่องวิกฤติการณ์ยูเครนกับรัสเซีย รอบล่าสุดที่กำลังเกิดขึ้นนั้น ก็มาจากความพยายามของยูเครนที่จะจับมือกับกลุ่มพันธมิตร NATO ของตะวันตก ซึ่งก็ตรงกับนโยบายของ NATO ในการขยายอิทธิพลในยุโรปตะวันออก หน้าบ้านของรัสเซียพอดี
6
ซึ่งทางรัสเซียเอง ก็ไม่ต้องการให้สหรัฐอเมริกาและชาติตะวันตกมาป้วนเปี้ยนล้อมหน้าล้อมหลังเช่นกัน..
4
สำหรับในเวทีการเมืองโลกแล้ว แม้ว่ายูเครนอาจไม่ใช่คู่ขัดแย้งตัวจริงในสงครามครั้งนี้
แต่ก็มีสถานะไม่ต่างอะไรไปจากสนามประลองกำลังขนาดใหญ่
ของชาติมหาอำนาจตะวันตกกับมหาอำนาจอีกฝั่งอย่างรัสเซีย
7
ที่หากทวีความรุนแรงขึ้นกว่านี้ ความเสียหายอาจส่งผลกระทบต่อทั้งประเทศยูเครน ที่มีประชากรอาศัยอยู่กว่า 44 ล้านคน..
7
โฆษณา