22 ก.พ. 2022 เวลา 11:29 • คริปโทเคอร์เรนซี
รีวิวหนังสือ The Bitcoin Standard
เข้าใจบิตคอยน์เลย ว่าทำไมถึงจะมาแทนที่หลายอย่าง
.
-หนังสือชวนคิดที่ไม่ได้ชี้ชวนให้ลงทุนในบิตคอยน์ หรือบอก How to การลงทุนในบิตคอยน์ แต่หนังสือได้ให้มากกว่านั้น นั่นคือการบอกถึงความน่าทึ่งของเทคโนโลยีบิตคอยน์ ก่อนถือกำเนิดขึ้น
.
-หนังสือได้ปูพื้นฐานความรู้มาตั้งแต่ต้น ในบทแรก ๆ โดยเล่าถึงประวัติศาสตร์ของเงิน ว่าก่อนที่จะเป็นเงินแลกเปลี่ยนกันทุกวันนี้ ต้องผ่านการล่มสลายทางการเงินมากี่ครั้ง เช่น ลูกปัด วัว หิน
-ที่ใช้เป็นเงินในยุคสมัยก่อน ซึ่งการล่มสลายของเงินแต่ละสกุลในอดีต เกิดจากอัตราเงินเฟ้อ เช่น ในแอฟริกาได้ ได้ตั้งลูกปัดให้เป็นเงินในการซื้อขายสินค้า แต่แล้วเมื่อยุโรปเข้ามาก็กลับไปผลิตลูกปัดจำนวนมหาศาล เนื่องจากมีกำลังผลิตที่พัฒนามาก
.
-พอมีลูกปัดหรือเงินเยอะ ทำให้ค่าเงินในแอฟริกาเฟ้ออย่างหนักเพราะผู้คนต่างไม่ต้องทำงาน เพราะลูกปัดเป็นของหาง่าย จนระบบการเงินแบบลูกปัดก็ล่มสลายไปในที่สุด
-สิ่งที่ได้จากการอ่านคือ จริง ๆ แล้วมนุษย์เองก็เป็นสิ่งมีชีวิตสปีชีส์เดียวที่ใช้ ‘เงิน’ ซึ่งเป็นระบบที่ซับซ้อน เพื่อเป้าหมายคือการสร้างอารยธรรม
.
- ความน่าสนใจคือ ในแต่ละช่วงของการล่มสลาย ของเงินแลกเปลี่ยนแต่ละชนิด ผู้เขียนชี้ให้เราเห็นปัญหาทางเศรษฐศาสตร์มากมาย ว่าเงินถูกกำหนดเพราะใคร และเงินแบบไหนที่ ดีที่สุดสำหรับมวลมนุษยชาติ
.
-การที่มนุษย์หัดใช้เงินเป็นระบบแลกเปลี่ยนก็ฟังดูธรรมดา เพราะเราคุ้นชินกับการใช้เงินอยู่วัน แต่ถ้าถามลึกไปอีกว่า
แล้วระบบการเงินที่เป็นตอนนี้ มันดีพอสำหรับมนุษย์แล้วหรือยัง?
.
ก็อาจทำให้หลายคนต่างตั้งข้อสงสัยอยู่ไม่น้อย
.
-เพราะเรายังเจอกับปัญหา การผูกขาดเงินจากรัฐบาล ที่ถูกผลิตตามวิกฤติเศรษฐกิจ และเมื่อผลิตออกมามันกลับไปไม่ถึงชนชั้นคนรากหญ้า แล้วอะไร ที่จะแก้ปัญหานี้ได้
.
-ผู้เขียนเล่าจนมาถึงยุคมาตรฐานทองคำ (Gold Standard) ที่ดีกว่ายุคก่อน ๆ เพราะทองคำในสมัยนั้นคือของหายากและมีการปลอมแปลงได้ยาก จึงใช้เพื่อหนุนการพิมพ์เงินตามระบบมาตรฐานทองคำ การค้าระหว่างประเทศของทองคำต้องค้ำประกันด้วยตั๋วเงิน และใช้ทองคำเป็นทุนสำรองเงินตรา เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ แต่ระบบนี้ก็ค่อย ๆ เสื่อมถอยลง เพราะรัฐสามารถพิมเงินได้อย่างอิสระ แม้ทองคำจะลดบทบาทลง แต่ก็ยังมีตลาดทองคำมาจนถึงทุกวันนี้
-ผู้เขียนได้ชี้ให้เห็นถึงปัญหาใหญ่ของระบบการเงินที่รัฐบาลกุมอำนาจไว้อย่างน่าสนใจ เพราะเงินที่ถูกควบคุมจากรัฐบาล อาจใช้ไม่ได้อีกต่อไป เพราะยิ่งในยุคปัจจุบันผู้คนให้ความสำคัญกับความเป็นเสรีนิยมมากขึ้น และต้องการลดการผูกขาดต่าง ๆ เพื่อเป็นอิสระในการใช้ชีวิต รวมถึงการใช้จ่ายด้วย ‘เงิน’
.
-การกำเนิดของบิตคอยน์นับว่าเป็นเรื่องน่าทึ่งเพราะตอบโจทย์เหล่าเสรีนิยม ด้วยหลักฐานที่เป็นประจักษ์ของมันได้บอกไว้ว่า มันคือเงินที่แข็งแกร่งกว่าทองคำ แม้จะมีไอเดียมาจากทองคำก็ตาม
.
-เมื่อปัญหาของการเงินโลกคือ ’ตัวกลาง’ อย่างรัฐบาลที่ให้ความเชื่อใจไม่ได้ บิตคอยน์จึงสร้างระบบการเงินโลกแบบใหม่ ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และตอบโจทย์ปัญหาการเงินได้หลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การไม่ต้องพึ่งรัฐบาลหรือใครก็ตาม
-โดยบิตคอยน์สร้างจากสมการทางคณิตศาสตร์ หรือที่เรียกว่า Cryptocurrency (ท่ีแปลว่าการเข้ารหัสโดยใช้สมการนั่นเอง) บนระบบซอฟแวร์ และมีการ Proof of work กระจายอำนาจและตรวจสอบได้โดยไม่มีใครมีอำนาจเหนือกว่า ดังนั้นมันจึงปลอดภัยและซื่อตรงต่อผู้ใช้งานมาก ๆ
.
-มันจึงถูกขนานนามว่าเป็นทองคำดิจิทัล เพราะมีพื้นฐานที่คล้ายกันนั่นคือ มันปลอมแปลงได้ยาก และมีความมั่นคง แข็งแกร่ง และมีการขุดที่จำกัด แต่บิตคอยน์จะทำงานได้รวดเร็วทั่วโลกและถูกพัฒนามาให้เป็นระบบที่แข็งแกร่งมากกว่าทองคำ
.
-โดยบิตคอยน์จะถูกสร้างเพียง 21 ล้านเหรียญบิตคอยน์เท่านั้นและจะไม่ผลิตเพิ่มความวิกฤติเศรษฐกิจ หรือตามใจใคร และการขุดจะยากขึ้น ทุก ๆ 4 ปี และสร้างบล็อกเพียง 210,000 บล็อก เรียกว่า Halving (ฮาล์ฟวิง) และลดรางวัลให้แก่ผู้ขุดลง
-แต่ข้อเสียของบิตคอยน์คือยังล่าช้าเนื่องการทำธุรกรรมต้องรอนานถึง 10 นาที จึงเป็นเหตุผลที่มันยังไม่เสถียรพอที่จะใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน แต่ก็มีโซลูชันอย่าง Lighting Network ที่ทำให้รวดเร็วทันที ซึ่งประเทสเอล ซัลวาดอร์ ได้ใช้ระบบนี้ทั่วประเทศ
.
-อย่างไรก็ตาม บทสุดท้าย ก็ชวนเราตั้งคำถามถึงข้อเสียของบิตคอยน์ เช่น มีใครอยู่เบื้องหลังจริง ๆ หรือเปล่า หรือเกิดอาชญากรรมไหม และบิตคอยน์คือสิ่งที่สิ้นเปลืองพลังงานจริงหรือไม่
.
เรียกได้ว่า อ่านแล้ว ได้รับความรู้ที่ครอบคลุมแทบทุกด้านของระบบการเงินสมัยเก่าและสมัยใหม่
.
เหมาะสำหรับคนที่ต้องการขยายองค์ความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์การเงินมาก ๆ
.
.
.
ขอบคุณข้อมูลเรียบเรียงโดย 100WEALTH
ผู้เขียน Pattarasuda B.
.
#Cryptocurrency
#100WEALTH
#ไปให้ถึง100ล้าน
#SERVgroup
.
อ้างอิง
-หนังสือ The Bitcoin Standard

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา