Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
หมุนทันโลก@World Digest
•
ติดตาม
23 ก.พ. 2022 เวลา 07:39 • ธุรกิจ
กฏ6ข้อสำหรับ “ผู้นำ”
สิ่งที่อยากจะพูดถึงในขณะนี้คือ ภาวะผู้นำ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด โดยเฉพาะในช่วงเวลาวิกฤต การตัดสินใจของผู้นำ มีผลอย่างมากที่จะพลิกประเทศไปในทิศทางที่ดี หรือเลวร้ายลงได้
ในเรื่องของ “ผู้นำ” ทำให้นึกถึงหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ Managing in a Time of Great Change ของ “ปีเตอร์ เอ็ฟ ดรักเกอร์” ปรมาจารย์ด้านการจัดการที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก ซึ่งเขียนไว้เมื่อ 15 ปีที่ผ่านมา แม้วันนี้ท่านจะถึงแก่กรรมไปแล้ว แต่ความคิดในหนังสือเล่มนี้ก็ยังทรง “พลังทางความคิด” และ “ทันสมัย” อยู่เสมอ โดยพันตรีวีรจิต กลัมพะสุต เป็นผู้แปลหนังสือเล่มนี้
เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้ของ “ดรักเกอร์” ได้เขียนครอบคลุมกว้างไกลในหลายๆเรื่องถึง 27 บท ซึ่งได้เพ่งมองไปทั่วโลก นับตั้งแต่การเติบโตของจีนแผ่นดินใหญ่ การใช้ข้อมูลข่าวสาร ผู้ค้ารายย่อย ฯลฯรวมถึงกฏ6ข้อสำหรับประธานบริษัท หรือบาปขั้นสุดยอดทางธุรกิจ5ประการ ซึ่งเคยทำให้ยักษ์ใหญ่ธุรกิจของโลกอย่าง Sear Roebuck& Co. หรือ General Motors Corp. ล่มสลายมาแล้ว
มีบทหนึ่งที่อยากจะขอนำมาสรุปแบบย่อๆ และเห็นว่า น่าจะเป็นประโยชน์กับผู้นำในทุกๆระดับ ไม่ว่าจะท้องถิ่น หรือระดับโลกนำไปประยุกต์ใช้ได้ นั่นคือ กฏทั้ง6 ของประธานาธิบดี ซึ่งดรักเกอร์ระบุว่า
“หากได้ทำตามกฏทั้ง6 นี้ จะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิผลเต็มประสิทธิภาพ ส่วนคนที่มีฝีมือกล้าแข็งสักเพียงใดก็ตาม หากได้ฝ่าฝืนกฏเหล่านี้ ย่อมจะมีสูญเสียพลังฝีมือไปหมดสิ้น”
1.สิ่งแรกที่ประธานาธิบดีต้องทำคือ ถามว่า มีอะไรจำเป็นต้องทำบ้าง..? จะต้องไม่ดื้อแพ่ง ทำแต่ในสิ่งที่ตัวเองต้องการ อย่างกรณีของ “แฮรี่ ทรูแมน” ได้เป็นประธานาธิบดีเมื่อเดือนเมษายน 1945 และมีความเชื่อเหมือนกับชาวอเมริกันว่า สงครามกำลังจะสิ้นสุดลง และควรหันไปพัฒนาในประเทศ แต่ปรากฏว่า ท่านกลับให้ความสำคัญด้านกิจการต่างประเทศมากเป็นอันดับสำคัญสูงสุดอีกครั้ง จากการรุกรานของ “สตาลิน” ทั้งๆที่ท่านไม่ได้ชอบเท่าไรในเรื่องนี้ แต่เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำ
2.จงมีสมาธิคือ กฏข้อสอง โรนัลด์ เรแกน ได้ใช้แนวทางเหล่านี้ในการตัดสินใจของท่านในปี 1981คือ การหยุดสภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งท่านถือว่า เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด และเพื่อที่จะทำให้บรรลุผล ทำให้ต้องยกอัตราดอกเบี้ยสูงลิบลิ่ว ทำให้เศรษฐกิจถดถอยอย่างแรง และคนว่างงานเพิ่มขึ้น ทำให้เขาได้รับการต่อต้านอย่างหนัก แต่ก็ต่อสู้ด้วยสมาธิ อดทน และมุ่งมั่นในแนวทางแก้ไขของตัวเอง
ซึ่งการตัดสินใจของเรแกนในครั้งนี้ ได้วางรากฐานสำคัญให้มีการขยายตัวด้านการจ้างงานอย่างมากมายในประวัติศาสตร์อเมริกา และยังส่งผลให้เขาได้รับความไว้วางใจจากประชาชน ตลอดระยะเวลาที่ครอบครองตำแหน่ง
3.อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจคน หมายความว่า ทุกสิ่งอาจไม่เป็นไปตามที่คาดคิดเสมอ ในสมัยประธานาธิบดี “รู้สเวลท์” ได้ครองตำแหน่งสมัยที่สอง ด้วยคะแนนเสียงท่วมท้น และยังสามารถควบคุมสภานิติบัญญัติของสหรัฐฯได้อย่างเต็มอำนาจ
แต่ “รู้สเวลท์” มีความเชื่ออย่างแรงกล้าว่า แผนที่จะจัดการกับศาลสูงสุด อันเป็นการกำจัดอุปสรรคสุดท้ายสำหรับโครงการปฏิรูปนิวดีลเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ และเขามั่นใจมากจนไม่ได้แม้แต่จะทำการทดสอบแผน ก่อนที่จะประกาศออกไป ทำให้กลายเป็น “แรงระเบิด”กลับมาจนไม่สามารถควบคุมสภาฯอย่างเต็มอำนาจได้อีกต่อไป
4.ประธานาธิบดี “จะต้องไม่เข้าไปยุ่งกับรายละเอียดจนเกินไป “ เพราะ งานที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ต้องทำด้วยตัวเองนั้นมีมากจนเกินกว่าคนที่จัดระเบียบตัวเองได้ดีที่สุด และมีพลังงานมากที่สุดจะทำได้สำเร็จอยู่แล้ว ดังนั้นสิ่งไหนที่ประธานาธิบดีไม่จำเป็นต้องทำเองแล้ว ก็ไม่ควรจะไปทำมัน
แต่ควรจะทำให้แน่ใจว่า มีผู้รับผิดชอบการปฏิบัตินั้นๆเรียบร้อยแล้ว ประธานาธิบดีจึงจำเป็นต้องมีทีมงานเล็กๆ ที่มีวินัยดีสักทีมหนึ่ง โดยแต่ละคนในทีมนั้นมีหน้าที่รับผิดชอบงานในแต่ละสาขา
5.ประธานาธิบดี “ไม่มีเพื่อนในฝ่ายบริหาร” ซึ่งเป็นหลักประจำใจของ “ลินคอล์น” และเป็นกฏข้อที่ 5 ด้วย ประธานาธิบดีคนใดไม่ปฏิบัติตาม ย่อมจะต้องชดใช้ความผิดพลาดด้วยความเสียใจไปตลอดชีวิต
เพราะ ไม่มีใครยอมให้ความไว้วางใจในเพื่อนของประธานาธิบดี แต่ความเป็นเพื่อนมีผลให้ประธานาธิบดีมีใจเอนเอียงได้ และอยากให้เข้ามาร่วมในฝ่ายบริหาร ขณะเดียวกันก็อึดอัดใจมาก หากต้องกำจัดเพื่อนผู้ขาดความสามารถ หรือทรยศออกไป
ดังนั้นหลักข้อหนึ่งของประธานาธิบดีที่น่าจะเป็นตัวอย่างเช่น รู้สเวลท์ แม้จะเป็นประธานาธิบดี เขาก็ยังใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างน่าตื่นเต้น แต่กระนั้นก็ตามหาได้มีหนึ่งในจำนวนเพื่อนผู้สนิทสนมของเขา ก้าวเข้ามาอยู่ในฝ่ายบริหารไม่
6. สำหรับกฏข้อที่ 6 เป็นคำแนะนำของ “แฮรี่ ทรูแมน” ได้เคยให้ไว้กับประธานาธิบดีจอห์น เอฟ เคนเนดี้ ทีเพิ่งได้รับเลือกเข้ามาใหม่ว่า
“เมื่อใดที่คุณได้รับการเลือกเข้ามาแล้ว จงหยุดหาเสียง”
หลักการของกฏ 6 ข้อของ “ดรักเกอร์” ข้างต้นเป็นข้อแนะนำที่แหลมคม ทันสมัยมาจนปัจจุบันและยังต่อไปจนถึงอนาตคตด้วย ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้กับผู้นำในทุกระดับไม่ว่าจะเป็นการเมือง ภาคธุรกิจ สังคม หรือท้องถิ่น
และแน่นอนว่า กฏทั้ง6 ข้อยังเหมาะสมกับผู้นำในสังคมไทยในทุกระดับด้วยเช่นกัน
หากบทความถูกใจ ฝากกด like และกด shareให้ด้วยนะครับ
#world digest#หมุนทันโลก#ธุรกิจ#บุคคล#ตลาดหุ้น#หนังสือเล่าเรื่อง#การตลาด
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย