Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ชัช หุตะนาวิน
•
ติดตาม
24 ก.พ. 2022 เวลา 16:48 • ประวัติศาสตร์
5.1เรื่องเล่าจากคลองบางกอกน้อย โดย ชัช หุตะนาวิน ... ขอเล่าต่อในเรื่องการจี้จับเป็นตัวประกัน ในครั้งนั้น ของจอมพล .ป พิบูลสงคราม จะได้ทราบว่าเรื่องท่านไปมาอย่างไร ในเหตุกาณ์รับมอบเรือขุดแมนฮัตตัน กับชีวประวัติของนายกท่านนี้ .
..และจะไม่เล่ายาวมาก ครับ จะได้มีเวลาไปอ่านเรื่องท่านอื่นบ้าง อย่าเพิ่งเบื่อเรื่องเล่ากับบุคคลนะครับ เพราะตอนที่ผมยังเด็ก ตอนที่ประชากรยังไม่มาก ท่านนายกออกเยี่ยมตามที่ต่างๆบ่อยมาก ได้เห็นท่านหลายครั้ง เพราะตอนนั้นยังมีพระนครและธนบุรี ที่มีประชากรมากกว่าที่อื่น พ้นเกียกกาย บางซื่อ มาหมอชิต ที่มีรถไปต่างจังหวัด ออกพหลโยธิน ลาดพร้าวนี่เป็นทุ่งโล่งแล้วครับ
นายก.จอมพล.ป พิบูลสงคราม ไปเปิดงานสมัยนั้น
สะพานพุทธที่ตอนนั้นรถมีบนถนนไม่มาก
เรือขุดแมนฮัตตัน
ทุ่งดอนเมืองในครั้งนั้น
มีสายสุขุมวิท ที่มีผู้คนมากหน่อย แต่เลยพระโขนง ก็โล่งแล้วครับ บางนานี่ เป็นที่โล่งสุดหูสุดตาเลย มีสะพานพุทธ และ พวกสะพานหัน พาหุรัด บางลำพู ที่มีผุ้คน เลยวงเวียนใหญ่ไปก็เป็นสวนแน่นไปหมด...มาถนนเพชรเกษม ทุ่งนาทั้งนั้น .
ทุ่งดอนเมืองในครั้งนั้น
ดังนั้นท่านมาแถวสนามหลวง ตามพิธีการต่างๆ ส่วนกลางเท่านั้น จึงเจอท่านมางานต่างๆ เห็นได้ใกล้ชิดประชาชน จึงนำเรื่องของท่านมาให้อ่าน ก็จากการรวบรวมข้อมูลท่าน มาถ่ายทอดให้ท่านทราบเรื่องในครั้งนั้นของท่าน จะได้รู้เรื่องที่เล่ามาในครั้งนั้น กับการถูกจับกุมตัวไปคุมไว้ที่เรือรบศรีอยุทธยา...จากการรับมอบเรือขุดแมนฮัตตัน..ที่ผมได้เห็นการตัดชิ้นส่วนเรือรบศรีอยุทธยา ที่จมลงในครั้งนั้น ....
เรือขุดแมนฮัตตัน
จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ระหว่างเป็นประธานในพิธีรับมอบเรือขุดสันดอนสัญชาติอเมริกัน ชื่อ "แมนฮัตตัน" ที่ท่าราชวรดิฐ โดยนำไปกักขังไว้ในเรือรบหลวงชื่อ "ศรีอยุธยา" ที่จอดรออยู่กลางแม่น้ำเจ้าพระยา
ซึ่งก่อนหน้านี้ คณะผู้ก่อการคิดจะก่อการในลักษณะเช่นนี้มาหลายครั้งแล้ว แต่ยังไม่สบจังหวะที่เหมาะสม จึงได้แต่เลื่อนออกไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงเวลาลงมือจริง หลายฝ่ายที่ถูกชักชวนให้ลงมือก็คาดว่าจะต้องมีการเลื่อนอีกแน่นอน จึงมิได้ปฏิบัติการตามแผนที่วางไว้
เหตุที่เลือกเอาวันนี้เป็นวันลงมือ เพราะก่อนหน้านั้นเพียงหนึ่งวัน มีการปล่อยกำลังทหารกองหนุนกลับสู่ภูมิภาค ทำให้จำนวนทหารในพระนครเหลือน้อย เรียกกลับมาประจำการไม่ทัน อีกทั้งพื้นที่บริเวณนี้ก็เป็นเขตของทหารเรือด้วย จึงลงมือได้ง่ายกว่า...
ภาพขณะ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ถูกคุมตัวลงจากเรือแมนฮัตตันเพื่อนำตัวไปไว้ในเรือหลวงศรีอยุธยา
ในเหตุการณ์กบฏ หัวหน้าคณะก่อการ คือ น.อ.อานนท์ ปุณฑริกกาภา สั่งการให้ทหารเรือกลุ่มที่สนับสนุนการก่อการมุ่งหน้าและตรึงกำลังไว้ที่พระนคร และประกาศตั้ง พระยาสารสาสน์ประพันธ์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี โดย จอมพล ป. พิบูลสงคราม กระจายเสียงในฐานะนายกรัฐมนตรีจากในเรือ แต่ทางฝ่ายรัฐบาลไม่ยอม ได้กระจายเสียงตอบโต้ไปโดยใช้วิทยุของกรมการรักษาดินแดน (ร.ด.) โดยได้ให้นายวรการบัญชา ประธานสภาผู้แทนราษฎร รักษาการนายกรัฐมนตรีแทน และตั้งกองบัญชาการขึ้นที่ทำเนียบรัฐบาล (ในขณะนั้นคือ พระที่นั่งอนันตสมาคม) จึงเกิดการต่อสู้ยิงกันอย่างหนักระหว่างทหารฝ่ายรัฐบาลและทหารฝ่ายก่อการ ซึ่งตามแผนการของผู้ก่อการแล้ว ฝ่ายก่อการต้องยึดโรงไฟฟ้าและสถานีโทรศัพท์กลาง ที่หน้าวัดราชบุรณะ (วัดเลียบ) ให้ได้ โดยเรือรบหลวงศรีอยุธยาจะต้องแล่นผ่านสะพานพระพุทธยอดฟ้า
น.อ อานนท์ ปุณฑริกกาภา
.. ซึ่งเปิดรอ เพื่อไปตั้งกองบัญชาการที่ฝั่งพระนคร และมีกำลังทหารจากต่างจังหวัดยกเข้ามาสมทบทั้งทหารเรือและทหารบก แต่เมื่อลงมือจริง ๆ แล้วกลับไม่เป็นไปตามนั้น สะพานพระพุทธยอดฟ้าก็ไม่เปิด และในที่สุด..เครื่องยนต์เรือก็เสียจากการถูกโจมตีหนัก โดยในวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2494 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าให้ใช้กำลังทหารเพื่อปราบจลาจล และในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2494 เวลา 10.00 น. นายวรการบัญชา รักษาการนายกรัฐมนตรีได้รับสนองพระบรมราชโองการประกาศกฎอัยการศึกในจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี.
ในส่วนของกองบัญชาการฝ่ายรัฐบาลที่ตั้งขึ้น ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ฝ่ายกองทัพเรือ โดย พล.ร.อ.สินธุ์ กมลนาวิน ผู้บัญชาการทหารเรือ ได้ส่งผู้แทนหลายคนเข้าพบนายทหารบกชั้นผู้ใหญ่ และข้าราชการระดับสูงของทางรัฐบาล เพื่อยืนยันว่า กรณีนี้ทางฝ่ายทหารเรือส่วนใหญ่ไม่ได้เกี่ยวข้องด้วย เป็นเพียงการกระทำการของนายทหารชั้นผู้น้อยไม่กี่นายเท่านั้น เพื่อป้องกันความเข้าใจผิดระหว่างกองทัพ แต่กระนั้น ทาง พล.อ.ผิน ชุณหะวัณ ผู้บัญชาการทหารบก รวมถึง พล.ท.สฤษดิ์ ธนะรัชต์ แม่ทัพภาคที่ 1 ได้ยืนยันว่า การกระทำเช่นนี้นับว่าอุกอาจมาก เพราะเป็นการกระทำต่อหน้าทูตต่างชาติหลายประเทศ รวมทั้งจะให้ทางฝ่ายทหารเรือแอบขึ้นเรือรบหลวงศรีอยุธยาในยามวิกาลเพื่อบุกชิงตัวจอมพล ป. กลับคืนมาให้ได้ภายในเวลา 05.00 น. ของวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2494
จอมพลสฤษดิ์ธนะรัชต์
แยกตรีเพชรด้านหลังเรือรบศรีอยุธยาไฟไหม้จากการถูกโจมตีโดยเครื่องบิน
เครื่องยนต์เรือก็เสียจากการถูกโจมตีหนัก โดยในวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2494 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าให้ใช้กำลังทหารเพื่อปราบจลาจล และในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2494 เวลา 10.00 น. นายวรการบัญชา รักษาการนายกรัฐมนตรีได้รับสนองพระบรมราชโองการประกาศกฎอัยการศึกในจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี.
ไม่เช่นนั้นจะยิงทุกจุดที่มีทหารเรืออยู่ เพราะถือว่าเป็นการถ่วงเวลาเพื่อรอกำลังฝ่ายกบฏมาสมทบ แต่ทางฝ่ายทหารเรือไม่กล้าที่จะทำเช่นนั้น โดยให้เหตุผลว่าหากทำเช่นนั้น เกรงว่าจอมพล ป. จะได้รับอันตรายได้
เรือรบศรีอยุธยาถูกโจมตีกำลังจะจมปากคลองบางหลวงข้างวัดอรุณราชวราราม
ในที่สุดมีการทิ้งระเบิดขนาก 50 กก. จากเครื่องบินแบบ Spitfire และ T6 ใส่เรือรบหลวงศรีอยุธยาที่อยู่กลางแม่น้ำเจ้าพระยา ลูกระเบิดดังกล่าวทะลุดาดฟ้าลงไประเบิดในคลังกระสุนใต้ท้องเรือ จึงจนกระทั่งเวลาประมาณ 15.00 น. ของวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2494 เรือก็จม จอมพล ป. พิบูลสงคราม ถูกทหารเรือที่อยู่บนเรือสวมเสื้อชูชีพนำว่ายน้ำหลบหนีออกมาได้ ที่สุดทั้งฝ่ายกบฏและรัฐบาลเปิดการเจรจากัน
ฝ่ายกบฏได้ปล่อยตัวจอมพล ป. ให้กับฝ่ายรัฐบาล โดยผ่านทางทหารเรือด้วยกัน ซึ่ง พล.ร.อ.สินธุ์ ก็ได้นำตัวคืนสู่วังปารุสกวัน กองบัญชาการตำรวจนครบาล ในเวลาประมาณ 23.00 น. ของวันนั้น เป็นอันสิ้นสุดเหตุการณ์ โดยการกบฏครั้งนี้นับว่าเสียหายมากที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย เพราะสถานที่ต่าง ๆ เสียหาย และมีผู้บาดเจ็บล้มตายนับร้อยทั้งทหารของทั้ง 2 ฝ่าย รวมถึงประชาชนที่ไม่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ ในส่วนของผู้ก่อการได้ถูกบีบบังคับให้ขึ้นรถไฟไปทางภาคเหนือ จากนั้นจึงแยกย้ายกันหลบหนีข้ามพรมแดนไปพม่าและสิงคโปร์.
พลเรือเอกสินธุ์ กมลนาวิน
ในส่วนของ น.ต.มนัส จารุภา ร.น. ผู้ทำการจี้จอมพล ป. ได้หลบหนีไปพม่าได้สำเร็จ แต่ถูกจับกุมได้หลังจากลักลอบกลับเข้าประเทศเมื่อปี พ.ศ. 2495
การดำเนินคดีมีการจับกุมผู้ต้องหาร่วม 1,000 คน ซึ่งควบคุมตัวไว้ที่สนามกีฬาแห่งชาติ เนื่องจากมีจำนวนมาก ในที่สุดก็ต้องปล่อยตัวเพราะหาหลักฐานไม่เพียงพอจนเหลือฟ้องศาลประมาณ 100 คน ภายหลังนักโทษคดีนี้ส่วนใหญ่ได้รับการนิรโทษกรรมเมื่อปี พ.ศ. 2500 เนื่องในโอกาสครบ 25 พุทธศตวรรษ..
น.ต.มนัส จารุภา.ร.น
บันทึก
8
3
8
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย