26 ก.พ. 2022 เวลา 02:50 • หุ้น & เศรษฐกิจ
รู้จัก นอร์ดสตรีม 2 โครงการท่อส่งก๊าซรัสเซียยุโรป ที่สร้างเสร็จแต่ไม่ได้ใช้
3
เมื่อรัสเซียบุกยูเครน กลุ่มประเทศตะวันตก จึงตอบโต้ด้วยการคว่ำบาตร
หนึ่งในนั้นก็คือ “โครงการนอร์ดสตรีม 2”
ซึ่งเป็นโครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียไปสู่เยอรมนี
ที่แม้จะสร้างเสร็จเรียบร้อยตั้งแต่ปีที่แล้ว แต่กลับมีคำสั่งห้ามไม่ให้ใช้งาน
3
โครงการนอร์ดสตรีม 2 สำคัญขนาดไหน ถึงถูกใช้เป็นเครื่องมือในการคว่ำบาตรรัสเซีย ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
2
เรามาดูความสัมพันธ์ของรัสเซียกับประเทศในยุโรปกัน
ประเทศรัสเซีย เป็นประเทศที่ส่งออกก๊าซธรรมชาติมากที่สุดในโลก
มีลูกค้ารายใหญ่ก็คือ ประเทศส่วนใหญ่ในยุโรป
ซึ่งก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียคิดเป็น 40% ของการนำเข้าทั้งหมดของยุโรป
 
และหนึ่งในนั้นก็คือ ประเทศเยอรมนี ที่เป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในยุโรป
ซึ่ง 49% ของการนำเข้าก๊าซธรรมชาติ จะมาจากรัสเซีย
2
โดยประเทศรัสเซียมี Gazprom บริษัทรัฐวิสาหกิจยักษ์ใหญ่ด้านพลังงาน ทำธุรกิจท่อส่งก๊าซธรรมชาติไปให้เยอรมนีผ่านโครงการท่อส่งก๊าซ นอร์ดสตรีม 1
3
โดยโครงการนี้เปิดใช้งานมาตั้งแต่ปี 2011 ซึ่งนอร์ดสตรีม 1 นั้นนับเป็นแนวท่อที่ผ่านพื้นที่ของเพื่อนบ้านโดยเฉพาะยูเครน มีปลายทางสิ้นสุดที่ประเทศเยอรมนี สามารถส่งก๊าซได้ 55,000 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี
4
แล้วสำหรับคนที่สงสัยว่ายุโรปนำก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียไปทำอะไร
2
คำตอบก็คือ ก๊าซธรรมชาติเป็นวัตถุดิบสำคัญ ที่ประเทศในยุโรปจะเอาไปใช้เพื่อสร้างความอบอุ่นและผลิตกระแสไฟฟ้า นั่นเอง
4
ทีนี้ เรามาดูกันว่านอร์ดสตรีม 2 มีความสำคัญอย่างไร ?
 
สำหรับนอร์ดสตรีม 2 เป็นโครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติ จากเมืองเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก ประเทศรัสเซีย ไปยังรัฐเม็คเคลินบวร์ค-ฟอร์พ็อมเมิร์น ประเทศเยอรมนี ผ่านใต้ทะเลบอลติก
 
เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปี 2018 แล้วเสร็จเมื่อปี 2021 ใช้เวลาก่อสร้างราว 3 ปี
 
จริง ๆ แล้วนอร์ดสตรีม 2 มีแนวท่อขนานไปกับนอร์ดสตรีม 1 มีความยาวราว 1,200 กิโลเมตร
ซึ่งสามารถส่งก๊าซได้ 55,000 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี มีมูลค่าโครงการกว่า 3.66 แสนล้านบาท
 
โดยโครงการนี้เรียกได้ว่าเป็นเมกะโปรเจกต์ ร่วมทุนระหว่าง Gazprom และบริษัทพลังงานในชาติตะวันตก ไม่ว่าจะเป็น Shell, ENGIE, OMV, Royal, Uniper และ Wintershall
14
ซึ่งก่อนจะเกิดวิกฤติสงครามยูเครนนั้น ประเทศสหรัฐอเมริกาก็เคยเข้ามาแทรกแซงโครงการนอร์ดสตรีม 2 อยู่เรื่อยมา โดยอ้างถึงเรื่องความมั่นคงทางพลังงานของยุโรป
 
และหากทั้งนอร์ดสตรีม 1 และ 2 เปิดใช้งานพร้อมกัน ก็จะทำให้รัสเซียสามารถส่งก๊าซธรรมชาติไปยังยุโรปเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่าจากเดิม ซึ่งจะทำให้ตลาดก๊าซธรรมชาติของยุโรปจะต้องพึ่งพารัสเซียอย่างมาก
4
ย้อนกลับไปปี 2006 รัสเซียได้เคยยกเลิกการส่งก๊าซธรรมชาติผ่านยูเครนจากประเด็นความขัดแย้งทางการเงินของทั้งสองประเทศมาแล้ว
 
โดยความเคลื่อนไหวครั้งนั้น ก่อให้เกิดการขาดแคลนพลังงานโดยทันที ระหว่างช่วงฤดูหนาวในทางตอนกลางและตะวันออกของยุโรป
 
ในขณะที่รัสเซียก็ตอบโต้ โดยอ้างว่าการเข้าแทรกแซงของประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นความพยายามที่จะสนับสนุนการขายก๊าซธรรมชาติเหลว หรือ LNG ของสหรัฐอเมริกาที่ขนส่งผ่านทางเรือ ซึ่งมีราคาแพงกว่าก๊าซที่ส่งผ่านทางท่อของรัสเซีย
 
นอกจากนั้นนอร์ดสตรีม 2 จะทำให้รัสเซียสามารถส่งก๊าซธรรมชาติเข้าสู่ยุโรปได้โดยตรง ไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าผ่านทางให้กับประเทศเพื่อนบ้านอย่างโปแลนด์และยูเครน เหมือนกับท่อส่งก๊าซนอร์ดสตรีม 1
13
เรื่องดังกล่าว ก็จะยิ่งส่งผลให้ยุโรปได้ใช้ก๊าซธรรมชาติในต้นทุนที่ต่ำลง
 
ความขัดแย้งทั้งหมดนี้ จึงทำให้โครงการนอร์ดสตรีม 2 กลายเป็นประเด็นสำคัญที่ประเทศตะวันตกและรัสเซียหยิบยกขึ้นมาเพื่อต่อรองอำนาจกันอยู่เสมอ
จนมาถึงจุดเปลี่ยนสำคัญ เมื่อกองทัพรัสเซียเคลื่อนพลประชิดชายแดนยูเครน และรัสเซียก็ไปรับรองความเป็นเอกราชของสองรัฐ ในภูมิภาคดอนบาสของยูเครน
1
ผลที่ตามมาคือ เยอรมนีได้ประกาศระงับโครงการนอร์ดสตรีม 2 เพื่อตอบโต้การกระทำดังกล่าวของรัสเซียในทันที ทั้ง ๆ ที่นอร์ดสตรีม 2 สร้างสำเร็จและพร้อมเปิดใช้งานแล้ว
1
จนเมื่อไม่นานมานี้ คุณ Dmitry Medvedev อดีตประธานาธิบดีรัสเซีย ถึงกับออกมาทวีตตอบโต้การคว่ำบาตรโครงการดังกล่าวแบบทันควันว่า ชาวยุโรปต้องเตรียมจ่ายเงินค่าไฟฟ้าที่จะสูงขึ้นแบบก้าวกระโดด เร็ว ๆ นี้
14
จะเห็นได้ว่าเมื่อมีเหตุการณ์ความขัดแย้งระดับประเทศ
ผลกระทบที่เกิดขึ้น จะกระจายออกเป็นลูกโซ่ ลามไปยังหลายประเทศทั่วโลก
เพราะธุรกิจสมัยนี้ มีการเชื่อมโยงกัน มีการพึ่งพากันอยู่ตลอดเวลา
2
ก็น่าติดตามกันต่อไปว่ารัสเซียกับยุโรป จะเจรจากันอย่างไรต่อไป
เพราะดูเหมือนไม่ว่าผลลัพธ์จะออกมาในรูปแบบไหน
ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งมากที่สุด ก็จะเป็นประชาชนทั่วไปในประเทศที่เกี่ยวข้อง นั่นเอง..
 
References
2
โฆษณา