26 ก.พ. 2022 เวลา 08:30 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
แต่ใครจะไปคิดว่าการเก็บรักษาผลไม้รวมเข้าไว้ด้วยกัน โดยเฉพาะ "กล้วย" จะกลายเป็นปัญหาที่ซื้อมาเป็นหวี แต่กินไม่เคยทัน..สุกงอมจนดำเสียก่อน
3
ใครที่ใช้วิธีเก็บผลไม้ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น หลังจากที่ได้อ่านบทความนี้แล้วควรเปลี่ยนวิธีเก็บรักษา..
อ่านมาถึงตรงนี้ผู้อ่านคงเอียงคอด้วยความสงสัยแล้วใช่ไหมว่า..มันเกี่ยวอะไรกับการเก็บรักษารวมกับผลไม้อื่นชนิดอื่น ๆ อย่างไร บทความนี้มีคำตอบค่ะ
1
หลังจากห่างหายไปนาน รุ้งกลับมาเขียนบทความให้หายคิดถึงแล้วนะคะ ถ้าให้นำคำสุภาษิตที่เกี่ยวกับผลไม้มาเปรียบเปรยเราคงจะนึกถึงผลไม้รอบ ๆ ตัวกันใช่ไหม
2
บทความนี้จะพาเพลินเกี่ยวกับผลไม้ชนิดหนึ่งที่มีประโยชน์และเป็นผลไม้เศรษฐกิจของไทย คือ “กล้วย” นั่นเอง
คงปฏิเสธไม่ได้ว่าคนไทยจะไม่รู้จักผลไม้ที่ชื่อว่ากล้วย เพราะมักจะเห็นขายตามท้องตลาดและสำหรับใครหลาย ๆ คนที่ชอบทานกล้วยหรือเราอาจจะโตมากับการที่พ่อแม่ปอกกล้วยเข้าปากก็เป็นได้
1
เพราะกล้วยมีสารประโยชน์มากมาย เราจึงพบเห็นได้ตามครัวเรือนในบ้าน แต่ปัญหาโลกแตกที่มักจะเจอกันอยู่ทุกครั้งคือ ซื้อกล้วยมาทานยังไม่ทันหมดหวีก็สุก งอม เปลือกเป็นสีดำซะแล้ว ซึ่งไม่ใช่เรื่องกล้วย ๆ เหมือนชื่อเลย
2
(SOURCE : http://www.thaigoodview.com/node/134665)
ก่อนจะพาเพลินไปหาคำตอบถึงเรื่องการเก็บกล้วยไว้กินได้นาน ๆ เราจะพาย้อนไปรู้จักกล้วยที่มีหลากหลายสายพันธ์ แต่ที่คนนำมาทานกันในปัจจุบันมักจะมีอยู่ไม่กี่สายพันธ์ เช่น กล้วยน้ำว้า กล้วยหอม กล้วยไข่ กล้วยหักมุก เป็นต้น
1
กล้วยแต่ละสายพันธ์จะมีกลุ่มผู้บริโภคอยู่ทั่ว ๆ เช่น กล้วยน้ำว้าจะนำมาให้เด็ก หรือ ผู้ป่วยทาน จะทำให้เพิ่มเนื้อเพิ่มสารอาหาร กล้วยหอมมักจะทานกันในกลุ่มของคนออกกำลังกายเพื่อให้ได้พลังงานในการเล่นกีฬามากขึ้น กล้วยไข่คนมักจะนำไปทำกล้วยบวชชี และกล้วยหักมุกมักจะนำไปทำกล้วยฉาบ
แต่นั่นคือการนำมาทานกันในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งกินผลหรือนำมาแปรรูป แล้วถ้าทานไม่หมดหล่ะ ควรมีวิธีเก็บอย่างไรให้อยู่ได้นาน เก็บในตู้เย็นก็แล้วยังไงเปลือกก็ดำอยู่ดี
ในปี พ.ศ. 2553 มีรายงานจากประเทศจาเมกา ห้ามเรือขนส่งส้มรวมไปกับกล้วย เพราะจะทำให้กล้วยสุกเร็วขึ้น ซึ่งรุ้งซื้อกล้วยกับส้มรวมกันบ่อยมาก นึกไม่ถึงเลยว่าจะทำให้กล้วยสุกเร็ว
2
แต่ในขณะนั้นยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด เมื่อวิวัฒนาการของโลกเปลี่ยนไปเริ่มมีวิทยาศาสตร์เข้ามา จึงพบว่าฮอโมนพืชชื่อ เอทิลิน (ethylene) เป็นต้นเหตุทำให้ผลไม้สุก โดยทุกส่วนของพืชสังเคราะห์ก๊าซเอทิลีนขึ้นมามากน้อยแตกต่างกันไป แต่จะผลิตก๊าซมากสุดเมื่อใบดอกแก่
และเมื่อผลไม้สุกเนื่องจากเอทิลีนเป็นก๊าซ จึงแพร่ไปในอากาศ ผลไม้สุกจึงแพร่ก๊าซเอทิลีนให้ผลไม้ที่อยู่ใกล้ ๆ สุกเร็วขึ้นได้ ดังเช่นกรณีส้มกับกล้วย
สำหรับกล้วย มีการศึกษาพบว่ากล้วยไวต่อเอทิลีนสูงมาก ทำให้กล้วยสุกเร็วขึ้น การแช่ตู้เย็นแม้จะชะลอการสร้างก๊าซได้บ้าง แต่กล้วยจะได้ก๊าซเอทิลีนจากพืชผักอื่นในตู้เย็น วิธีเก็บกล้วยไว้นาน ๆ แบบง่าย ๆ
(SOURCE : https://www.fysium.com/it/node/4)
จึงมีหลักคือป้องกันไม่ให้กล้วยได้รับก๊าซเอทิลีนจากกล้วยด้วยกันเองหรือพืชผักผลไม้อื่น เช่น แยกกล้วยแต่ละลูกใส่ถุงกระดาษหรือถุงพลาสติก
 
ถ้าอยากชะลอความสุก : ใช้พลาสติกห่ออาหารแยกกล้วยออกจากหวี แล้วเอาพลาสติกห่ออาหารพันตรงขั้ว วิธีนี้จะช่วยลดการปล่อยแก๊สเอทิลีน (Ethylene จึงทำให้กล้วยสุกช้าลงนั่นเอง
เคล็ดลับ
- กล้วยเป็นหวีจะสุกง่ายและเร็วกว่ากล้วยที่เป็นผล ๆ
- การแขวนกล้วยไว้บนราวให้อยู่ในลักษณะที่เหมือนกล้วยห้อยลงมาจากต้น จะช่วยทำให้กล้วยสุกช้าลง 2-3 วัน ถ้าไม่ต้องการให้กล้วยสุกทันที
1
- นำกล้วยเข้าตู้เย็นเพื่อไม่ให้สุกเพิ่มอีก
สรุปแล้ว…
คำสุภาษิตที่ที่บอกว่าปอกกล้วยเข้าปาก ที่หมายถึง สะดวก ง่าย ๆ คงไม่ง่ายอย่างที่คิดกันไว้ใช่ไหม กล้วยเป็นผลไม้ที่ช้ำง่าย ทำให้วิธีการเก็บรักษาให้กล้วยอยู่ได้นาน ๆ ไม่ง่ายอย่างที่คิดไว้
1
หากซื้อมาทานควรซื้อมาแบบกึ่งสุกกึ่งดิบให้พอดีกับที่เราไว้ทานเล่นในบ้าน และหากใส่กล้วยเข้าช่องฟรีซแช่แข็งไปเลย ก็อาจจะช่วยได้ แต่จะเป็นกล้วยอีกรสชาติหนึ่ง อันนี้แล้วแต่คนชอบนะคะ 😊
1
ที่มา
ภารกิจของเรา : คือการเติมความอยากรู้ของคุณด้วยการแบ่งปันข้อเท็จจริง หากคุณมีหัวข้อที่ต้องการให้เราพูดถึงและพูดคุย คอมเม้นท์ส่งข้อความถึงเราได้ตลอดเวลา 💡
1
โฆษณา