28 ก.พ. 2022 เวลา 08:30 • การเกษตร
การเลี้ยงโคนมมีวิธีการอย่างไรบ้าง
การเลี้ยงโคนมควรจะรู้เรื่องของโคนมซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่
1. พันธุ์โคนมที่มีถิ่นกำเนิดในแถบร้อน เช่น พันธุ์เรดซินดี้ ซาฮิวาล เป็นต้น จะสังเกตว่าโคนมพวกนี้จะมีโหนกหลังใหญ่และทนอากาศร้อนได้ดีแต่ให้นมไม่มากนัก
2. พันธุ์โคนมที่มีถิ่นกำเนิดในแถบหนาวหรือเรียกว่า โคนมยุโรปมีอยู่หลายพันธุ์ สังเกตได้ง่ายคือไม่มีโหนกที่หลัง คือจะเห็นแนวสันหลังตรง มักไม่ค่อยทนต่ออากาศร้อน พันธุ์ที่สำคัญได้แก่พันธุ์ขาวดำหรือโฮลสไตน์ฟรีเซียน
การเริ่มต้นเลี้ยงโคนมสิ่งที่ต้องคำนึงถึงก็คือ ทุน สถานที่ ตลาดและปัจจัยอื่น ๆ ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญคือทุน ซึ่งแบ่งแยกออกได้เป็น 5 รายการ คือ
1. ทุนสำหรับซื้อโค
2. ทุนสำหรับสร้างโรงเรือนหรือคอกสัตว์
3. ทุนสำหรับเตรียมแปลงหญ้า
4. ทุนสำหรับหาแหล่งน้ำหรือการชลประทาน
5. ทุนสำหรับค่าอาหาร ค่าแรงงานอื่น ๆ เป็นต้น
การเลี้ยงโคนมอาจเริ่มต้นได้หลายวิธี ซึ่งแล้วแต่ความเหมาะสมและความพร้อมแต่ละบุคคล ดังนี้
1. เริ่มต้นโดยการหาหรือเลือกซื้อ แม่โคพันธุ์พื้นเมือง หรือแม่โคที่มีสายเลือดโคเนื้อที่มีลักษณะดีไม่เป็นโรคติดต่อมาเลี้ยง แล้วใช้วิธีผสมเทียมกับสายเลือดโคพันธุ์นมของยุโรปพันธุ์ใดพันธุ์หนึ่ง เมื่อได้ลูกผสมตัวเมียก็จะมีเลือดโคนม ๕๐℅ เมื่อเลี้ยงดูต่อไปอีกประมาณ ๓๐-๓๖ เดือน ก็จะให้ลูกตัวแรก แม่โคตัวนี้ก็จะเริ่มรีดนมได้
2. เริ่มต้นโดยหาซื้อลูกโคนมพันธุ์ผสมเพศเมียมาเลี้ยงโดยอาศัยนมเทียมหรือหางนมผงละลายน้ำให้กินในปริมาณจำกัด พร้อมทั้งให้อาหารข้นลูกโคอ่อนและหญ้าจนกระทั่งอย่านมถึงอายุผสมพันธุ์ ตั้งท้อง คลอดลูก และเริ่มรีดนมได้
3. เริ่มต้นโดยการจัดซื้อโคนมอายุเมื่อหย่านม โครุ่น โคสาว หรือโคสาวที่เริ่มตั้งท้อง หรือแม่โคที่เคยให้นมแล้วจากฟาร์มใดฟาร์มหนึ่งมาเลี้ยง วิธีนี้ใช้ทุนค่อนข้างสูง แต่ให้ผลตอบแทนเร็ว
อาการเป็นสัด
หมายถึง สัตว์ตัวเมียยอมให้ผสมพันธุ์กับจะมีการตกไข่เกิดขึ้น อาจจะเป็นการผสมเทียมหรือผสมแบบธรรมชาติก็ได้แล้วแต่ความสะดวก การเป็นสัดของโคแต่ละรอบจะห่างกันประมาณ 21 วัน ในแต่ละครั้งของการเป็นสัดใช้เวลา 18-24 ชั่วโมง ไข่จะตกหลังจากหมดการเป็นสัดแล้วประมาณ 14 ชั่วโมง ดังนั้นช่วงระยะเวลาที่เหมาะที่สุดสำหรับการผสมพันธุ์คือระยะเวลาก่อนที่ไข่จะตกเล็กน้อย เช่น ถ้าพบโคเป็นสัดตอนเช้าก็ควรจะผสมอย่างช้าตอนบ่ายวันเดียวกัน หรือถ้าเห็นโคเป็นสัดตอนบ่ายหรือเย็นก็ควรจะผสมอย่างช้าเช้าวันรุ่งขึ้น
อาการของโคเป็นสัด เจ้าของอาจสังเกตอาการของโคอย่างใดอย่างหนึ่ง หรืออาจแสดงออกมาพร้อมกัน ดังนี้
1. ส่งเสียงร้องที่ผิดปกติ
2. เครื่องเพศบวมแดง
3. ปัสสาวะถี่
4. มีเมือกใสและเหนียวไหลออกมาจากช่องคลอดหรือเลอะบริเวณก้นทั้งสองข้าง
5. ไม่สนอาหารหรือกินอาหารน้อยทั้งอาหารข้นและหญ้า
6. ถ้าเป็นแม่โคที่กำลังให้นมจะพบว่าน้ำนมลดลง
7. ขึ้นขี่ตัวอื่นหรือยอมให้ตัวอื่นขี่
8. สังเกตที่ดวงตา จะเห็นม่านตาเบิกกว้างบ่อยครั้งกว่าปกติ ส่อให้เห็นการตื่นตัวและตื่นเต้นง่าย
เมื่อโคนางได้รับการผสมพันธุ์แล้วประมาณ 21 วัน หากโคไม่แสดงอาการเป็นสัดอีกก็อาจคาดได้ว่าโคตัวนั้นเริ่มตั้งท้องแล้ว
การรีดนม เพื่อที่จะเอานมออกจากเต้านมของแม่โค น้ำนมส่วนมากจะถูกขับออกมาโดยการกระตุ้นทางระบบประสาทและฮอร์โมนพร้อม ๆ กับการรีด นั่นคือการทำให้ภายในหัวนมเกิดมีแรงอัดดันจนทำให้รูหัวนมเปิดออก น้ำนมซึ่งอยู่ภายในจึงไหลออกได้ การรีดนมมีอยู่ 2 วิธีคือ การรีดนมด้วยมือ และการรีดนมด้วยเครื่อง ซึ่งควรรีดให้สะอาดเสร็จโดยเร็วและให้น้ำนมหมดเต้า
ขั้นตอนการรีดนมเพื่อให้ได้น้ำนมที่สะอาด
1. การเตรียมน้ำยาฆ่าเชื้อโดยน้ำยาคลอรีนอย่างเจือจาง
2. การเตรียมอุปกรณ์การรีด ซึ่งรวมถึงผู้ที่ทำการรีดและแม่โคให้เรียบร้อย การเตรียมการต่าง ๆ ควรจัดการให้สะอาดหรือฆ่าเชื้อก่อนด้วยน้ำยาคลอรีน
3. ทำความสะอาดตัวโคและบริเวณคอกรีดที่สกปรก
4. ล้างเต้านมด้วยน้ำอุ่นหรือน้ำยาคลอรีนพร้อมกับนวดเช็ดเบา ๆ
5. ก่อนลงมือรีดควรตรวจสอบความผิดปกติของน้ำนมหรือทำการรีดน้ำนมที่ค้างอยู่ในหัวนมทิ้งเสียก่อน
6. ขณะลงมือรีดนมควรรีบรีดให้เร็วที่สุดไม่หยุดพักโดยกะให้เสร็จภายใน ๕-๘ นาที และต้องรีดให้หมดทุกเต้า
การรีดนมด้วยมือโดยการใช้นิ้วหัวแม่มือนิ้วชี้บีบหรือรีดหัวนมตอนบนเพื่อเป็นการเปิดทางนม เป็นการกันไม่ให้น้ำนมในหัวนมหนีขึ้นไปอยู่ตอนบน ต่อมาก็ใช้นิ้วที่เหลือ(กลาง นาง ก้อย) ทำการบีบไล่น้ำนมตั้งแต่ตอนบนเรื่อยลงมาข้างล่าง จะทำให้ภายในหัวนมเกิดมีแรงอัดและน้ำนมจะถูกดันผ่านรูนมออกมา และเมื่อขณะที่ปล่อยช่วงนิ้ว(แม่มือ นิ้วชี้) ที่รีดหัวนมตอนบนออก น้ำนมซึ่งมีอยู่ในถุงพักนมข้างบนจะไหลลงมาส่วนล่างเป็นการเติมให้แกหัวนมอีก เป็นเช่นนี้ตลอดระยะเวลาที่รดจนกระทั่งน้ำนมหมด
พรีไบโอติกส์พ่อใหญ่สัมฤทธิ์
✅ ทั้งขุนน้ำหนัก
✅ ทั้งช่วยให้วัวแข็งแรง
✅ ช่วยดูแลระบบลำไส้
✅ ลำไส้สะอาด
✅ ขับถ่ายคล่อง
✅ ดูดซึมสารอาหารได้ดีขึ้น
✅ สัตว์เลี้ยงแข็งแรง
✅ เสริมและกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรงขึ้น ช่วงโรคระบาด จะช่วยชะลอให้ไม่ป่วยมาก มีเวลารักษาทัน
✅ เร่งการเติบโต
✅ ลดอัตราการป่วย
✅ แม่พันธุ์แข็งแรง ผสมติดง่าย
✅ เนื้อเยอะ เนื้อแน่น
✅ ได้น้ำหนัก
✅ พรีไบโอติกส์มีส่วนช่วยในการปรับสมดุลลำไส้ของสัตว์ ทำให้สัตว์ย่อยอาหารและดูดซึมสารอาหารได้ดีขึ้น
อ้างอิงข้อมูลจาก
โฆษณา