28 ก.พ. 2022 เวลา 15:23 • หุ้น & เศรษฐกิจ
📌 #MoneyBrief ทุกคนเคยตั้งคำถามนี้กันไหมครับว่า “ถ้าเรามีเงิน 100,000 เราจะเอาเงินไปลงทุนอะไรดี” วันนี้ Money Brief - สรุปเรื่องการเงิน มีคำตอบมาให้ฟังกัน
ทุกวันนี้เรามีตัวเลือกการลงทุนเยอะมากจนไม่รู้ว่าจะลงทุนในไหนดี ทั้งเหรียญ หุ้น กองทุน ประกัน บัญชีออมทรัพย์ ฝากประจำ สลาก บ้าน รถ ทอง หรือแม้แต่หวย! ซึ่งถ้าถามแอดว่าลงทุนอะไรดีที่สุด แอดก็ขอบอกตรงนี้เลยว่า ไม่รู้!! เพราะถ้าแอดรู้ แอดก็รวยไปล่ะ 55+ ทุกอย่างมีขึ้นและมีลงตาม Cycle ของมัน ขึ้นอยู่กับจังหวะและโอกาส (ตอบแบบสวย ๆ)
แต่ถ้าเปลี่ยนคำถามใหม่ว่า ลงทุนแบบไหนจะปลอดภัยกับเงินในกระเป๋ามากที่สุด และมีโอกาสได้ผลตอบแทนสูง แอดขอนำเสนอหลักการการเงินหลักการหนึ่ง ที่ทุกคนอ่านแล้วจะต้องว้าวอย่างแน่นอน นั้นคือ พีระมิดสามเหลียมทางการเงิน (Financial Pyramid) ครับ
📗 พีระมิดสามเหลียมทางการเงิน (Financial Pyramid) คืออะไร?
ทุกคนลองนึกภาพพีระมิดนะ มันถูกสร้างมาจากหินทีละก้อน เริ่มจากก้อนล่างสุดไปบนสุด ถ้าก้อนล่างฐานไม่แน่น พีระมิดมันก็ถล่มมาได้ง่าย ๆ ถูกมะ? หลักการเดียวกันครับ Financial Pyramid ก็คือการออกแบบเงินในกระเป๋าของเราออกเป็นหลาย ๆ ก้อน โดยเริ่มตั้งแต่ส่วนฐานของพีระมิดที่ต้องวางแผนให้ดี หลังจากที่ฐานแน่นแล้ว เราจึงไปต่อยอดที่ด้านบนของพีระมิดนั้นเอง เริ่มสงสัยกันแล้วใช่ไหมล่ะ ว่าฐานกับยอดมันมีอะไรบ้าง
Financial Pyramid
หลักการคร่าว ๆ ของ Financial Pyramid ประกอบไปด้วย 3 ส่วน + 1 หลักการ คึอ
♦️ 1. ความจำเป็นพื้นฐานและการจัดการความเสี่ยง Basic needs and Risks management
♦️ 2. การเก็บสะสมความมั่งคั่งและการออม Accumulation
♦️ 3. การลงทุน Investment
.
ส่วนอีกหนึ่งหลักการ คือ การวางแผนภาษี Tax planning ที่เราใช้ดูประกอบเพื่อให้เกิดผลประโยชน์ทางภาษีสูงสุดนั้นเอง
.
เรามาลองดูในรายละเอียดกันครับ ว่าแต่ละตัวคืออะไร
1. Basic need and Risks management
📌 1. ความจำเป็นพื้นฐานและการจัดการความเสี่ยง - Basic needs and Risks management
จำที่แอดได้บอกไปได้ไหมว่า ถ้าฐานล่างของพีระมิดไม่แน่น โอกาสถล่มมันก็มีมาก Basic needs and Risks management นั้นก็เปรียบเสมือนรากฐานที่สำคัญในการลงทุนเลยก็ว่าได้ แล้วอะไรคือ Basic needs อะไรคือ Risks management กันล่ะ?
📗 Basic needs หรือความจำเป็นพื้นฐานด้านการเงิน หมายถึง สภาพคล่องทางการเงินของเรานั้นเอง (Liquidity) หลักการคร่าว ๆ คือ ต้องมีเงินเก็บ เงินเย็นอย่างน้อย 3 - 6 เดือนของรายจ่ายรายเดือน เพื่อเป็นเงินสำรองฉุกเฉินในยามที่เราขาดรายได้ (เผื่อโดนไล่ออก ตกงาน ลูกค้าไม่มี ออเดอร์ไม่มา บาๆๆ) โดยเงิน 3 - 6 เดือนนี้จะต้องมีสภาพคล่องที่สูง ฝากเข้า ถอนออกง่าย ๆ
ตัวอย่างสินทรัพย์การลงทุน : เงินสด บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ทั่วไป บัญชีเงินฝากที่มีสภาพคล่องสูง เบิกถอนได้ทันตามความต้องการใช้ ฯลฯ
📗 Risks management หรือการจัดการความเสี่ยง ชีวิตเราไม่แน่นอน เราไม่รู้ว่าเราจะป่วยวันไหน เกิดอุบัติเหตุวันไหนถูกมะ? โลกนี้มันถึงเกิดสิ่งที่เรียกว่าประกันขึ้นมา แต่หลาย ๆ คนชอบมองว่า ประกันเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น เบี้ยจ่ายทิ้ง ทำแล้วมีโอกาสน้อยที่จะได้อะไรกลับมา ระยะสั้นก็อาจจะใช้ แต่ระยะยาวยังไงประกันก็เป็นสิ่งสำคัญมาก
ประกันเป็นสินทรัพย์ที่จะเข้ามาช่วยปกป้องเงินเก็บทั้งชีวิตของเรา ไม่ให้กระเด็นออกไปง่าย ๆ ลองคิดดูนะครับ ถ้าเรามีเงินเก็บ 1,000,000 บาท แล้วโชคร้าย เป็นโรค แล้วมีค่ารักษาพยาบาล 1,000,000 เช่นกัน เราคงไม่ได้ทำงานเก็บมาเพื่อจ่ายค่าหมอใช่ไหมครับ ใครยังไม่มีประกันแล้วสนใจจะทำ ติดต่อผมได้โดยตรงเลยนะครับ 🙂
2
ตัวอย่างสินทรัพย์การลงทุน : ประกันสุขภาพ ประกันชีวิต ประกันยูนิตลิงค์ ประกันอุบัติเหตุ ประกันโรคร้ายแรง ฯลฯ
2. Accumulation
📌 2. Accumulation - การเก็บสะสมความมั่งคั่งและการออม
หลังจากที่เรามีเงินเก็บ 3 - 6 เท่าของรายจ่ายรายเดือนแล้ว เรามีประกันป้องกันความเสี่ยงแล้ว ก็มาถึงส่วนที่สองของพีระมิด คือ Accumulation - การเก็บสะสมความมั่งคั่งและการออม พูดง่าย ๆ คือ การลงทุนเพื่อเป้าหมายบางอย่างที่สำคัญในชีวิตของเรานั้นเอง (การลงทุนระยะยาว)
📗 บางคนบอกอยากให้ลูกเรียนโรงเรียนดี ๆ นานาชาติ บางคนบอกอยากเกษียญตอนอายุ 50 บางคนอยากมีบ้าน อยากมีรถ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นเป้าหมายที่ต้องใช้เงินทุนจำนวนมาก เราก็ควรที่จะต้องวางแผนการเก็บเงินตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อให้เราสามารถบรรลุเป้าหมายนั้นได้ พูดง่าย ๆ คือ กันเงินส่วนนี้ไว้เพื่อเป้าหมายนี้โดยเฉพาะนั้นเอง
ตัวอย่างสินทรัพย์การลงทุน: ตรงส่วนนี้การลงทุนพวก LTF RMF กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ประกันสะสมทรัพย์ ประกันยูนิตลิงค์ ประกันบำนาญ
3. Investment
📌 3. Investment - การลงทุน
หลังจากที่ผ่านทั้งส่วนที่หนึ่งและสองมาแล้ว ส่วนสุดท้ายก็คือการลงทุน (Investment) เป็นการทำให้เงินที่เรามีอยู่งอกเงยเพิ่มขึ้น ตามความถนัดของแต่ละคน เช่น ลงทุนในหุ้น คริปโตเคอเรนซี่ กองทุน ทอง อสังหาริมทรัพย์ อัตราแลกเปลี่ยน ฯลฯ อีกมากมาย โดยการลงทุนนี้มีหลายทฤษฎี หลายหลักการมากมาย เช่น การแบ่งการลงทุนเป็นระยะสั้น กลาง ยาว การลงทุนแบบวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน การลงทุนแบบเทคนิค เน้นดูกราฟ ฯลฯ
📗 ตัวอย่างสินทรัพย์การลงทุน : การลงทุนในหุ้น คริปโตเคอเรนซี่ กองทุน ทอง อสังหาริมทรัพย์ อัตราแลกเปลี่ยน ฯลฯ
สุดท้ายจากที่แอดเล่ามาทั้งหมดนั้น Financial Pyramid มันก็คือการจัดสรรเงิน (Money Allocation) ดี ๆ นี้เอง
ถ้าเรามีเงิน 100,000 มันก็ไม่ใช่ว่า เราจะเอาเงิน 100,000 ไปลงในหุ้นหมด เพราะถ้าวันไหนตกงาน หุ้นตก คงไม่สนุกแน่ ๆ
ถ้ามีเงิน 100,000 เอาไปฝากไว้ในบัญชีออมทรัพย์ ดอกเบี้ย 0.25% ต่อปี ครบไปได้ดอกกลับมา 250 บาท (กรณีสำหรับคนที่มีรายจ่ายต่อเดือนน้อย ๆ) คงจะไม่ใช่เรื่องอีก
ถ้ามีเงิน 100,000 แล้วนำไปทำประกันสุขภาพทั้งแสนเลย มันก็ไม่ถูกต้องนัก
1
แต่ถ้าเราแบ่งเงิน 100,000 ของเราเป็นก้อน ๆ
หนึ่งก้อนถือไว้เป็นเงินสดยามฉุกเฉิน (Basic needs)
อีกก้อนเก็บไว้ทำประกันเพื่อจัดการความเสี่ยง (Risks management)
อีกนึงไว้ลงทุนเพื่อเป้าหมายบางอย่างของเรา เช่น เกษียญอายุ (Accumulation)
และอีกก้อนเอาไว้ลงทุนเพื่อเก็งกำไรให้มากขึ้น (Investment)
ถ้าวันนึงเกิดหุ้นตก เราก็ยังมีเงินเก็บ ถ้าวันนึงเกิดเจ็บป่วย เราก็ยังมีประกัน ถ้าวันนึงเกิดตกงานเราก็ยังมีเงินที่เหลือจากการลงทุน แบบนี้แหละที่แอดว่ามันดีที่สุดเลยเว้ยแกร
1
โฆษณา