2 มี.ค. 2022 เวลา 02:32 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

การค้นพบเเบคทีเรีย

วันนี้เบนซ์มีงานวิจัยล่าสุดของการค้นพบเเบคทีเรียมาเล่าให้อ่านกันค่ะ
เมื่อเร็วๆนี้นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบเเบคทีเรียชนิดหนึ่งที่มีขนาดใหญ่มากเเละสามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าซึ่งมีความยาวถึง 2 เซนติเมตร ถือได้ว่ายาวที่สุดเท่าที่เคยค้นพบมาเลยค่ะ
เเหล่งอาศัยของเเบคทีเรียชนิดนี้อยู่บริเวณต้นโกงกาง ป่าชายเลนฝั่ง Grande-Terre บนเกาะ Guadeloupe ในทะเลแคริบเบียน ความพิเศษหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ อย่างที่ทราบกันดีค่ะว่าเเบคทีเรียจะมีสารพันธุกรรมที่ล่องลอยอยู่ในเซลล์ เเต่ในเเบคทีเรียนี้กลับมีถุงห่อหุ้มสารพันธุกรรมของมันอยู่ซึ่งประกอบไปด้วยน้ำถึง 73% ด้วยน้ำที่มากขนาดนี้ทำให้ถุงมีขนาดใหญ่มาก ใหญ่จนผลักให้โครงสร้างต่างๆ ภายในเซลล์ให้อยู้ติดขอบซึ่งมีส่วนช่วยให้เซลล์นำสารพิษออกได้ง่ายหรือนำเข้าโมเลกุลที่เป็นประโยชน์ต่อเซลล์ได้ง่ายขึ้น
Thiomargarita magnifica
เมื่อทำการวิเคราะห์สารพันธุกรรมพบว่าเจ้าเเบคทีเรียพี่เบิ้มนี้มีสารพันธุกรรมที่คล้ายคลึงกับแบคทีเรียขนาดใหญ่ในสกุล Thiomargarita ที่มีการใช้กำมะถันเป็นแหล่งพลังงาน จึงเสนอชื่อเป็น Thiomargarita magnifica นอกจากนี้มันยังมี DNA หลายชุดมากโดยมีการคาดการณ์ว่าในเซลล์ที่ยาวถึง 2 เซนติเมตร มี DNA ราวๆ 7 แสนชุด!!!
1
ความยาวของมันที่ถือว่ายาวที่สุดเท่าที่เคยค้นพบมาเป็นผลมาจากมียีนกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับความยาวของเซลล์มีจำนวนเพิ่มขึ้น ในขณะที่ยีนบางกลุ่มหายไปซึ่งเป็นกลุ่มยีนที่เกี่ยวข้องกับการเเบ่งเซลล์
เเบคทีเรียพี่เบิ้มนี้ (Thiomargarita magnifica) ได้ถูกเพิ่มเข้าในรายชื่อเเบคทีเรียที่มีความซับซ้อนในการวิวัฒนาการขั้นสูง เนื่องจากมันเป็นเเบคทีเรียชนิดเเรกเเละชนิดเดียวที่มีถุงห่อหุ้มสารพันธุกรรม
ความสามารถในการวิวัฒนาการของเซลล์เเบคทีเรียเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจเเละมีความท้าทายเพื่อให้นักวิจัยค้นหาคำตอบ ถ้าทุกท่านสนใจงานวิจัยนี้สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ใต้โพสนี้เลยนะคะ :)
โฆษณา