2 มี.ค. 2022 เวลา 11:18 • หุ้น & เศรษฐกิจ
สรุป “ผลกระทบของรัสเซีย” จากการคว่ำบาตรจากนานาชาติ
หลังจากการประธานาธิบดีปูติน ส่งกองกำลังทหารเข้าไปปฏิบัติการณ์พิเศษในยูเครน ก็ทำให้หลายๆ ชาติออกมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียออกมา ซึ่งก็ตามมาด้วยผลกระทบอย่างกว้างขวางและรุนแรงต่อรัสเซีย
3
ซึ่งในบทความนี้ ทาง Bnomics จะมาสรุปประเด็นกันว่าของการคว่ำบาตรครั้งนี้จากนานาชาติส่งผลกระทบต่อรัสเซียอย่างไรบ้าง?
จนถึงขณะนี้ มีนโยบายคว่ำบาตรออกมาหลายนโยบาย แต่นโยบายที่รุนแรงที่สุดอย่างหนึ่ง ก็คือ
1
- การคว่ำบาตรทางด้านการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตัดธนาคารรัสเซียบางแห่งออกจากระบบ SWIFT ซึ่งเป็นระบบที่ใช้อำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ
(วิธีการคว่ำบาตรนี้ก็เคยใช้กับอิหร่านมาก่อนด้วย ซึ่งส่งผลต่อการส่งออกน้ำมันของอิหร่านอย่างมากในตอนนั้น)
3
- ภาคการธนาคารถือว่า มีบทบาทสำคัญกับโครงสร้างเศรษฐกิจรัสเซียมาก เพราะ ธนาคารมีสินทรัพย์กว่าร้อยละ 90 ของสถาบันการเงินทั้งหมด ซึ่งการใช้นโยบายคว่ำบาตรนี้ก็ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้คนโดยตรง และทำให้ตลาดการเงินของรัสเซียผันผวนอย่างหนัก
3
- เริ่มต้นด้วยค่าเงินรูเบิลของรัสเซียอ่อนค่าลง 30% (เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ) แทบจะทันทีหลังจากมีการเปิดตลาดการเงินในต่างประเทศ
3
- ทางการรัสเซียก็พยายามต่อสู้กับการอ่อนค่าของสกุลเงินที่เกิดขึ้น ประกาศขึ้นดอกเบี้ยนโยบายจาก 9.5% เป็น 20% พร้อมกันนี้ยังมีการควบคุมตลาดหุ้น ห้ามนักลงทุนต่างชาตินำเงินออกจากรัสเซีย และก็ประกาศปิดตลาดไปชั่วคราวด้วย
(ธนาคารกลางรัสเซียมีความพยายามสะสมทองคำสำรองเพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ อาจจะมีเป้าหมาย เพื่อเตรียมรับมือเหตุการณ์ในครั้งนี้ก็ได้)
1
- อย่างไรก็ดี แม้ตลาดหุ้นรัสเซียจะปิด แต่เราก็พอจะเห็นถึงการคาดการณ์ของราคาหุ้นรัสเซียที่จะตกมาเพิ่มเติมได้ผ่านกอง iShares MSCI Russia ETF ที่ในช่วง 9 วันที่ผ่านมาลดลง 71.2%!
12
โดยแค่ใน 2 วันที่ผ่านมา มูลค่าลดลงไปถึงประมาณ 50%!! ซึ่งถ้าตลาดหุ้นรัสเซียเปิดอยู่มูลค่าของมันก็คงลดลงไปเท่าๆ กัน
4
- ปัญหาที่เกิดขึ้นในตอนนี้ยังส่งผลต่อไปที่ประชาชนตาดำๆ ในรัสเซียเองด้วย โดยเฉพาะเรื่อง “เงินเฟ้อ” ที่ก่อนหน้าการคว่ำบาตรก็สูงถึง 8.73% แล้ว พอมาเจอปัญหาครั้งนี้รวมกับเงินที่อ่อนค่าลง บางคนถึงขั้นจินตนาการเปรียบเทียบไปถึง “Hyperinflation เงินเฟ้อขั้นรุนแรง” ที่เกิดขึ้นที่เยอรมันหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 แล้ว
6
- ตอนนี้ ประชาชนชาวรัสเซียก็เริ่มไม่มั่นใจในระบบธนาคารเช่นกัน แห่ไปถอนเงินกันเป็นจำนวนมาก มีภาพการต่อคิวตามตู้ ATM ต่างๆ ซึ่งถ้ารัสเซียไม่สามารถจัดการกับความตื่นตระหนกนี้ได้ ก็อาจจะนำมา ซึ่งการล้มละลายของธนาคารในประเทศ ที่ก็จะยิ่งซ้ำเติมให้เศรษฐกิจแย่ลงไปอีก
3
- อีกการคว่ำบาตรจากพันธมิตรตะวันตก ที่ไม่ยอมส่งออกสินค้าด้านเทคโนโลยี โดยเฉพาะเซมิคอนดักเตอร์ (semiconductor) ก็ส่งผลต่อรัสเซียอย่างมากเช่นกัน โดยตอนแรก หลายคนมองเห็นแค่ปัญหาการผลิตใหญ่ๆ อย่างอาวุธทางการทหาร หรือ รถยนต์
1
แต่ล่าสุด บริษัทอย่าง Apple ก็ประกาศไม่วางขายสินค้าของตัวเองในรัสเซียแล้ว และก็มีการตัดช่องทางการใช้จ่ายผ่าน Apple Pay (และ Google Pay ที่ทาง Google ก็ตัดรัสเซียออกด้วย) เลยมีภาพประชาชนชาวรัสเซียไม่สามารถเข้าใช้งานรถไฟฟ้าใต้ดินได้ ต้องต่อแถวเป็นคิวยาว
4
- อีกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ที่เป็นการทำลายช่องทางทำมาหากินของรัสเซีย และจะยิ่งโดดเดี่ยวรัสเซียมากกว่าเดิม คือ การประกาศแบนสินค้าของรัสเซีย เช่น เหล้าวอดก้าจากรัสเซียที่เริ่มมีการแบนในหลายประเทศ หรือกรณีอย่างประเทศฟินแลนด์ ที่มีข่าวเก็บสินค้าของรัสเซียจากชั้นวางทั้งหมดเลยในบางห้าง
- ไม่ใช่แค่ประชาชนธรรมดาที่ได้รับผลกระทบจากคว่ำบาตร เหล่ามหาเศรษฐีของรัสเซียก็ถูกกดดันอย่างหนักจากนานาชาติ อย่างเมื่อเช้าที่ผ่านมานี่เอง (ตามเวลาประเทศไทย) ที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ออกมาประกาศว่า
1
“สหรัฐฯ จะร่วมมือกับพันธมิตรยุโรปในการตามหาและเข้ายึดครองสินทรัพย์ของพวกเขา ไม่ว่าจะเป็นเรือยอร์ช อพาร์ทเมนท์หรู หรือ เครื่องบินเจ็ทส่วนตัว”
11
- ในวงการกีฬา ก็มีการออกมาเรียกร้องและกดดันรัสเซียอย่างมาก เช่น ในวงการฟุตบอลที่ทาง FIFA ประกาศแบนรัสเซียออกจากการแข่งขันคัดเลือกบอลโลก
หรืออย่างฟุตบอลในระดับสโมสร ที่มีข่าวหนาหูว่า “โรมัน อับราโมวิช” เจ้าของสโมสรฟุต
1
บอลเชลซีในประเทศอังกฤษ ที่เป็นหนึ่งในคนสนิทของคุณปูติน กำลังพิจารณาขายสโมสรออกไป หลังไม่สามารถทนแรงกดดันที่ถาโถมเข้าไปได้
1
- อีกหนึ่งประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณา ก็คือ ฐานะการเป็นผู้ผลิตปิโตรเลียมรายใหญ่ของรัสเซีย ที่ก่อนหน้านี้ ก็มีการประกาศคว่ำบาตรท่อส่งก๊าซธรรมชาติ “Nord Stream 2” ที่เป็นท่อส่งก๊าซที่เชื่อมจากรัสเซียมาที่เยอรมนี แต่หลายฝ่ายก็มองว่า เป็นการกระทำเชิงสัญญะ เพราะ ท่อนี้ยังไม่ได้ทำการใช้งานจริง
 
- ที่บอกว่าเรื่องนี้สำคัญ เพราะว่า รัสเซียส่งออกสินค้าพลังงานเป็นสัดส่วนมากกว่าครึ่งของการส่งออกทั้งหมด ในขณะเดียวกันประเทศในยุโรปก็พึ่งพาสินค้าเหล่านี้ จากรัสเซียอย่างมาก ทำให้การตัดท่อพลังงานจากรัสเซียเป็นอีกหนึ่ง “ไพ่ตาย” ที่ใช้ได้จากทั้งสองฝ่าย แต่ก็ยังไม่มีฝ่ายใดพร้อมจะนำออกมาใช้ เนื่องจากตัวเองก็จะเจ็บจากไพ่ตายนี้ด้วย
3
- ทำให้เราเห็นราคาน้ำมัน Brent Oil Crude ที่เป็นราคาอ้างอิงในยุโรป ผันผวนไปมา ช่วงที่ตลาดกังวลใจมากว่า สถานการณ์จะรุนแรงขึ้น จะมีการตัดพลังงานออก ราคาก็สูงขึ้น แต่พอเริ่มเห็นว่า จะใช้นโยบายแบบอื่น ก็มีช่วงที่ตลาดสบายใจลง ราคาปรับลงมา สลับไปสลับมา
3
(ล่าสุดทาง BP ที่เป็นบริษัทด้านพลังงานยักษ์ใหญ่สัญชาติอังกฤษ ประกาศถอนเงินลงทุนกว่า 25,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐออกจากบริษัทพลังงานรัสเซีย ก็เขย่าตลาดน้ำมันไปพอสมควร)
2
- คำถามสุดท้ายที่ทุกคนถามกันตอนนี้ คือ ความขัดแย้งตอนนี้ จะดำเนินต่อไปอย่างไรและท่านปูตินคิดอะไรอยู่
การจะตอบคำถามนี้อย่างชัดแจ้งทำได้ยากมาก เพราะ เหมือนเรากำลังจะคาดการณ์สิ่งที่ไม่อาจคาดการณ์ได้อยู่ แต่ก็มีการแสดงทัศนะที่น่าสนใจจากผู้เชี่ยวชาญ เช่น อาจารย์ Yuval Noah Harari ผู้เขียน “หนังสือเซเปียนส์: ประวัติย่อมนุษยชาติ”
1
- ที่อาจารย์บอกว่า รัสเซียแพ้สงครามครั้งนี้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ที่หมายถึง แม้ว่าชนะทางการทหารได้ ก็ไม่สามารถชนะใจคนยูเครนได้ สุดท้ายก็ไม่สามารถเข้าไปควบคุมและปกครองชาวยูเครนได้อยู่ดี
10
- แต่ก็มีบทความอีกด้านที่แสดงความกังวลเช่นกัน เช่น บทความของ Steve Rosenberg จาก BBC ที่บอกว่า ก่อนหน้านี้ หลายต่อหลายครั้ง ก็มีหลายต่อหลายคนคิดว่า คุณปูตินจะไม่กล้าทำในสิ่งที่เขาทำไปแล้วในตอนนี้ แต่เขาก็กล้าทำ ดังนั้น ถ้าเป้าหมายของคุณปูติน คือ “ถ้ารัสเซียไม่ยิ่งใหญ่ คนอื่นก็อย่าหวังจะได้ยิ่งใหญ่” ก็เป็นสิ่งที่น่ากังวลใจว่า เรื่องนี้อาจจะยืดเยื้อกว่าที่คิด และส่งผลไปในวงกว้างได้
8
- แต่ในตอนนี้ ด้วยท่าทีที่ออกมา โดยเฉพาะในเรื่องที่ไม่มีการใช้ไพ่ตายในเรื่องของพลังงานจากทั้งสองฝ่าย และก็มีการคุยกันระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ชายแดนเบลารุสแล้ว เราก็หวังว่า ความขัดแย้งครั้งนี้จะสามารถถูกคลี่คลายได้อย่างดีและรวดเร็ว
4
ผู้เขียน : ณัฐนันท์ รำเพย Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
1
▶︎ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Line OA : @Bnomics https://bit.ly/3eYkTJC
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
Reference :
เครดิตภาพ : Getty Image
โฆษณา