3 มี.ค. 2022 เวลา 01:08 • หุ้น & เศรษฐกิจ
“Payment System” สะท้อนพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของคนไทย และ “SWIFT” ที่มีบทบาทในการคว่ำบาตรรัสเชีย
7
ระบบการชำระเงิน (Payment System) หนึ่งในเครื่องมือสะท้อนพฤติกรรมคนที่เปลี่ยนไปตามสภาวการณ์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เริ่มต้นจากเงินพดด้วงสู่เงินกระดาษ เช่น เช็ค สู่ระบบโอนแบบบาทเน็ต (BAHTNET)
4
จนมาสู่เงินพลาสติก เช่น บัตรเครดิต บัตรเดบิต และบัตรเอทีเอ็ม และตามด้วยเงินออนไลน์ (e-Money) ล้วนถูกพัฒนาขึ้น เพื่อตอบโจทย์การดำเนินชีวิตของคน วันนี้ Bnomics จะขอพาทุกท่านไปดูพฤติกรรมของคนไทยที่เปลี่ยนไปผ่านทางระบบการชำระเงินในช่องทางต่างๆ ช่วง 10 ปีที่ผ่านมากันค่ะ
3
📌 ช่องทางชำระเงินยอดฮิตตั้งแต่ช่วงก่อนโควิด-19 คือ e-Money และกลุ่มเงินพลาสติก
จำนวนธุรกรรมของธนาคารที่เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 10% ทุกปี ซึ่งส่วนใหญ่เติบโตจากอินเตอร์เน็ตและโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Internet & Mobile Banking)
6
โดยปี 2563 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 74.60 %YoY และโตต่อเนื่องจากข้อมูล 11 เดือนปี 2564 จะเห็นว่าปริมาณการใช้ก็เพิ่มขึ้นถึง 15.66 %YoY
5
นอกจากนี้ ปริมาณ e-Money มีการใช้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยปี 2562 เพิ่มขึ้นรวดเดียว 30.10 %YoY ปีต่อมาเพิ่ม 8.67 %YoY จากพฤติกรรมการสั่งของออนไลน์ที่มากขึ้น
4
และเนื่องด้วยช่วงที่ผ่านมา หลายคนจำเป็นต้องลดการใช้เงินสด เพื่อเลี่ยงการสัมผัสกันและกัน ทำให้ในปี 2563 การใช้จ่ายผ่านบัตรพลาสติกอย่างบัตรเดบิตโตขึ้นมา 8.05% ในขณะที่บัตรเครดิต อัตราการใช้ลดลงมาเพียง 1.94% ซึ่งลงมาเล็กน้อย
4
สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่า คนไทยเริ่มคุ้นชินกับการใช้จ่ายผ่านระบบดิจิทัล (Digital) มากขึ้น
2
📌 ความตั้งใจในการออกไปทำธุรกรรมผ่านตู้ ATM และผ่านสาขาน้อยลงทุกปี
จำนวนธุรกรรมบนตู้ ATM ทยอยลดลงเรื่อยๆ หากเทียบช่วงปี 2563 กับช่วงที่ยอดการใช้พุ่งสูงสุดอย่างในปี 2558 พบว่าลดลงถึง 73.44%
5
และผลต่อเนื่องจากการที่ผู้คนงดออกจากบ้าน
ทำให้ธุรกรรมที่ทำผ่านสาขาปี 2563 (ข้อมูล 11 เดือน)
ลดลงจากปีก่อนหน้า 1,706 พันล้านบาท คิดเป็น 32.22%
และลดลงต่อเนื่องในปี 2564 (ข้อมูล 11 เดือน)
มาอีก 1,524 พันล้านบาท คิดเป็น 42.45%
3
ทั้งนี้ แนวโน้มที่ลดลงจากทั้ง 2 ช่องทางดังกล่าวจากการปรับตัวของผู้คนในประเทศ เป็นผลให้หลายธนาคารเริ่มมีการปรับลดจำนวนตู้ ATM และจำนวนสาขาลง ส่วนหนึ่งเพื่อต้องการลดต้นทุนและเพิ่มศักยภาพการบริการให้ธนาคารตนเอง และสอดรับกับแผนแม่บท National e-Payment ของประเทศ เพื่อผลักดันเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัลไร้เงินสด (Digital Cashless Society) นั่นเอง
6
📌 ปริมาณธุรกรรมที่ไม่สอดคล้องกับมูลค่าการใช้จ่าย
เนื่องจากในอดีต ผู้คนโอนเงินเพื่อใช้จ่ายกับสิ่งที่สำคัญในชีวิตอย่างเช่น ค่าบ้าน ค่ารถ ค่าเรียน ด้วยปริมาณเงินจำนวนมากโดยมีวิธีการที่แตกต่างกัน ซึ่งการทำธุรกรรมด้วยเงินจำนวนมาก หากทำต่อหน้าเจ้าหน้าที่ตามสาขาธนาคารจะมีความน่าเชื่อถือมากกว่า ทำให้ปริมาณธุรกรรมที่เกิดขึ้นช่วงแรกๆ มีมาก หากใช้จ่ายยิบย่อยทั่วไป จะใช้จ่ายผ่านตู้ ATM
1
แต่เมื่อเวลาผ่านไป ผู้คนมีทางเลือกในการใช้ช่องทางใช้จ่ายที่หลากหลายขึ้น จำนวนธุรกรรมตามสาขาก็น้อยลง แต่หากจะทำธุรกรรมใหญ่ๆ ก็ยังคงเลือกไปที่สาขา
1
กลุ่มคนวัยรุ่นก็เริ่มใช้จ่ายผ่านโทรศัพท์มือถือ (Mobile Banking) มากขึ้น ตัวอย่างเช่น หากต้องการซื้อน้ำราคา 5 บาท ถ่ายเอกสาร 2 บาท ก็ใช้วิธีโอนผ่านระบบอินเตอร์เน็ตและมือถือ และไม่เพียงแต่กลุ่มวัยรุ่นที่ใช้จ่ายผ่านช่องทางนี้ เพราะปัจจุบันพบว่าคนทุกเพศทุกวัย เริ่มมีส่วนร่วมในการใช้ช่องทางนี้เพิ่มขึ้นเช่นกัน
3
จึงทำให้ปริมาณการใช้งานปี 2564 ยิ่งเพิ่มมากขึ้น แต่มูลค่าต่อรายการที่เกิดขึ้นกลับลดลงไปเรื่อยๆ โดยลดลงถึง 95.29% เมื่อเทียบกับ 10 ปีที่แล้ว และเมื่อเทียบกับปี 2563 ก็ลดลงมา 17% สะท้อนให้เห็นว่ามีการใช้งานในชีวิตประจำวันถี่ขึ้นนั่นเอง
นอกจากนี้ ในปี 2559 ระบบการใช้งานพร้อมเพย์เข้ามา เกือบทุกธนาคารเปิดให้คนในประเทศใช้จ่ายผ่านระบบนี้ ยิ่งสร้างความสะดวกสบายและความรวดเร็วแก่คนใช้งาน
อีกทั้งช่วงวิกฤตการระบาดครั้งใหญ่ของไวรัส Covid-19 ยิ่งเป็นตัวกระตุ้นให้คนเปลี่ยนพฤติกรรมจากด้านกายภาพ (Physical) มาสู่ออนไลน์กันเพิ่มขึ้น ซึ่งประเทศไทยเองถูกประเมินว่าเป็นอันดับต้นๆ ของการหันมาใช้ระบบออนไลน์ ผ่านการซื้อของในแอปพลิเคชัน โอนจ่ายเงินทั้งในห้าง และร้านสะดวกซื้อทั่วไป
3
พวกเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นมาใหม่ แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการพัฒนาช่องทางการใช้จ่ายสู่ระบบดิจิทัลที่สามารถใช้จ่ายโอนเงินข้ามไปต่างประเทศหรือทั่วโลกได้ หนึ่งในระบบใช้จ่ายสากลดังกล่าวนี้ถูกเรียกว่า ระบบ SWIFT
📌 ระบบชำระเงิน SWIFT คือ พร้อมเพย์สำหรับโอนเงินระหว่างประเทศ
2
ปัจจุบันมีธนาคารต่างๆ 200 ประเทศที่ทำธุรกรรมบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ชื่อ SWIFT ซึ่งเป็นระบบสื่อสารด้านการเงินระหว่างธนาคารที่มีเครือข่ายอยู่ทั่วโลก เกิดขึ้นจากการพัฒนาเทคโนโลยีสำคัญ เพื่อให้สอดรับกับพฤติกรรมของผู้ใช้งานทุกคนบนโลก
อย่างในประเทศรัสเซีย มีสมาชิกในระบบนี้ 291 แห่ง มีเงินเข้าออกทำธุรกรรมอยู่ 1.5% หากประเทศถูกคว่ำบาตรจะส่งผลต่อเศรษฐกิจ หายไปถึง 5% ทันที และจะกระทบต่อประเทศคู่เศรษฐกิจที่รัสเซียส่งออกเชื้อเพลิงมาให้ด้วย
3
อีกตัวอย่างในปี 2555 ที่ตัดอิหร่านออกจากระบบ SWIFT เพราะอิหร่านจะพัฒนานิวเคลียร์ออกมา ทำให้ประเทศแทบจะส่งน้ำมันไม่ได้ ซึ่งรายได้หลักหายไปทำให้ GDP ลดลงอย่างรวดเร็ว สะท้อนให้เห็นว่า ระบบการชำระเงินก็เป็นกลยุทธ์สำคัญที่เข้ามามีบทบาททางการเมืองเช่นกัน
2
จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า พฤติกรรมคนส่งผลต่อระบบการชำระเงินที่เปลี่ยนไป โดยหลังจากแพร่ระบาด Covid-19 คนหันมาใช้เงินสดน้อยลง ระบบการชำระเงินแบบเดิมถูกมีปริมาณการใช้ลดลงเช่นกัน ส่วนของธนาคารเองก็ปรับกลยุทธ์การทำธุรกิจใหม่ เช่น การลดจำนวนสาขา รวมถึงระบบที่เกิดขึ้นมาใหม่ล้วนมีความสำคัญต่อการทำธุรกรรมทั้งในประเทศและนอกประเทศอย่างเห็นได้ชัด
1
อย่างไรก็ดี ในอนาคตรูปแบบการใช้จ่ายอาจเปลี่ยนไปอีกครั้งโดยอาจมีการนำ Cryptocurrency มาใช้จ่ายซื้อสินค้าในระบบ Metaverse เมื่อถึงตอนนั้นปริมาณธุรกรรมและมูลค่าต่อรายการที่เกิดขึ้นของช่องทางใช้จ่ายปัจจุบันอาจเปลี่ยนแปลงไปตามพฤติกรรมผู้บริโภคอีกครั้ง ในเมื่อโลกไม่หยุดนิ่ง ระบบการชำระเงินก็จะวิ่งไปข้างหน้าและสะท้อนพฤติกรรมการใช้จ่ายที่ปรับตัวตามไปด้วย
6
ผู้เขียน : ธนัชญา ปิยวรไพบูลย์ Economics Data Analytics, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
▶︎ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Line OA : @Bnomics https://bit.ly/3eYkTJC
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
Reference :
โฆษณา