4 มี.ค. 2022 เวลา 11:51 • ธุรกิจ
กรณีศึกษา Grab บริษัทที่มีรายได้หมื่นล้าน แต่ค่าใช้จ่ายแสนล้าน
ถ้าเพื่อนมาบอกเราว่า เขาขายสินค้าราคาหมื่นบาท แต่ค่าใช้จ่ายแสนบาท
เราคงตอบเพื่อนว่า บ้าหรือเปล่า ? จะทำไปทำไม
แต่ถ้าเพื่อนเราคนนี้คือ Grab
และตัวเลขที่เขาบอกเราต้องเติมหน่วยล้านเข้าไป
นั่นก็คือรายได้หมื่นล้านบาท แต่ค่าใช้จ่ายแสนล้านบาท
4
เพื่อนคนนี้กำลังทำอะไรอยู่ แล้ว Grab ที่เรากดเรียกกัน มันขาดทุนเท่านี้จริงหรือ ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
เมื่อไม่กี่ชั่วโมงที่ผ่านมา Grab Holdings เจ้าของแพลตฟอร์มเรียกรถ และส่งอาหารยักษ์ใหญ่ ในภูมิภาคอาเซียน ได้รายงานผลประกอบการปีที่แล้ว
โดยทั้งปี 2021 Grab มีการซื้อสินค้าและบริการในระบบมากขึ้น
1
อย่างไรก็ตามภายหลังจากรายงานผลประกอบการ หุ้นของบริษัท Grab ก็ได้ถูกเทขายอย่างหนัก
จนปรับตัวลดลงมากถึง -37% ในวันเดียว..
1
แล้วมันเพราะอะไร ?
3
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจ การรับรู้รายได้ของ Grab
1
ด้วยความที่ Grab เป็นแพลตฟอร์มเรียกรถ และส่งอาหาร ที่มีโมเดลธุรกิจเป็นตัวกลาง โดยไม่ได้เป็นเจ้าของรถแท็กซี่ หรือมีไรเดอร์เป็นของตัวเอง
1
บริษัทจึงมีวิธีรายงานตัวเลขการซื้อสินค้าและบริการบนแพลตฟอร์ม กับรายได้แยกกัน
โดยตัวเลขการซื้อสินค้าและบริการจะเรียกว่า GMV ย่อมาจาก Gross Merchandise Volume
4
โดยทุก ๆ ครั้งที่คนกดซื้อสินค้าและบริการ Grab ก็จะคิดค่าธรรมเนียมจากทุกครั้งที่ซื้อ
2
แล้วสงสัยกันไหมว่า ทุกครั้งที่เราซื้อสินค้า 100 บาท จะโดน Grab คิดค่าธรรมเนียมเท่าไร
1
จากตัวเลขในงบการเงินปี 2021
- ธุรกิจขนส่งอาหาร Grab คิดค่าธรรมเนียมเฉลี่ย 18.2%
- ธุรกิจเรียกรถยนต์ Grab คิดค่าธรรมเนียมเฉลี่ย 23.4%
4
ในขณะที่ การรับรู้รายได้ของบริษัท จะเป็นค่าธรรมเนียมที่ Grab ได้ แล้วนำไปหักเงิน Incentives ที่ให้ร้านค้า ไรเดอร์ และผู้ซื้อ
1
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ เช่น
เราสั่งชานมไข่มุกใน Grab 100 บาท
มูลค่าตรงนี้ จะนับเป็นยอดซื้อสินค้าและบริการ หรือ GMV
8
Grab ได้ค่าธรรมเนียมเฉลี่ย 18.2%
แปลว่ารายได้ค่าคอมมิชชันของ Grab จะเป็น 18.2 บาท
11
ทีนี้ หากเรามีการใช้โคดส่วนลด เช่น GRAB10 เป็นส่วนลด 10 บาท
และ Grab มีการจ่าย Incentives หรือเงินจูงใจให้กับร้านค้าและไรเดอร์ อีก 2.2 บาท
ทั้งสองส่วนนี้ จะนำมาหักออกจากรายได้
7
สรุปก็คือ ออร์เดอร์นี้ Grab บันทึกรายได้ลงบริษัท 18.2 - 10 - 2.2 เท่ากับ 6 บาท
3
พอเห็นภาพแบบนี้แล้ว เรามาดูผลประกอบการของ Grab ปีที่แล้วกัน
ปี 2021 Grab มี GMV หรือยอดซื้อสินค้าและบริการรวม 520,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 29%
4
โดยทั้งปี 2021 Grab มีรายได้หลังหัก Incentives ที่ 22,000 ล้านบาท
และ Grab ขาดทุน 116,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นการขาดทุน ที่มากขึ้นกว่า 30% เมื่อเทียบกับปีก่อน (มีค่าใช้จ่ายครั้งเดียวจากการ IPO รวมอยู่ด้วย)
4
ทีนี้ มาดูกันว่าแล้วทำไม
นักลงทุนเทขายหุ้น Grab ?
1
ก็ต้องบอกว่าแม้ภาพรวมทั้งปีของ Grab จะมี GMV เพิ่มขึ้น
แต่เมื่อเทียบกับ Incentives ที่ Grab อัดฉีดให้กับร้านค้า ไรเดอร์ และคูปองส่วนลด ยังคงเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด ซึ่งสะท้อนไปถึงสภาพการแข่งขันที่รุนแรง
7
นั่นจึงทำให้ Grab ในไตรมาสที่ผ่านมา มีรายได้หลังหัก Incentives ทั้งหมดแล้วจะเหลือเพียง 3,900 ล้านบาท ลดลง 44% เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งจุดนี้เอง ที่ได้ผิดจากการคาดการณ์ของตลาดไปมาก
ทำให้ไตรมาสที่ผ่านมา Grab ขาดทุนไปอีก 35,000 ล้านบาท หรือเป็น 9 เท่าของรายได้
1
รวมถึงการคาดการณ์ผลประกอบการของบริษัทในอนาคตก็ยังต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้
ทั้งหมดนี้ ก็ได้ทำให้นักลงทุนต่างเทขายหุ้น Grab จนติดลบไปมากถึง -37% ทันที
4
ปัจจุบัน Grab มีมูลค่าบริษัทเหลือ 400,000 ล้านบาท
โดยปรับตัวลดลงมาแล้วมากถึง 64% ตั้งแต่เข้าตลาดหลักทรัพย์เมื่อ 4 เดือนก่อน
หรือคิดเป็นมูลค่าบริษัทที่หายไปแล้วกว่า 700,000 ล้านบาท เลยทีเดียว
6
สรุปแล้วเมื่อดูผลประกอบการทั้งปี และไตรมาสที่ผ่านมาของ Grab ก็น่าจะเรียกได้ว่า
ทุกรายได้ 1 บาทที่ Grab ทำได้ Grab จะมีค่าใช้จ่าย 10 บาท..
2
และฟูดดิลิเวอรีรายอื่นก็น่าจะมีตัวเลขที่ไม่ต่างจาก Grab และอาจแย่กว่าด้วยซ้ำ เพราะผู้เล่นรายอื่นครองส่วนแบ่งตลาดที่น้อยกว่า
1
ก็ต้องติดตามกันต่อไปว่า อนาคตของ Grab จะเป็นอย่างไร
แต่ที่แน่ ๆ คือการสั่งอาหารผ่าน Grab หรือฟูดดิลิเวอรีเจ้าอื่นที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้
ผู้ประกอบการกำลังขาดทุนไปเรื่อย ๆ
และเมื่อถึงวันที่แบกไม่ไหว เราก็น่าจะได้เห็นอะไรเกิดขึ้นสักอย่าง
ไม่ว่าจะเป็นการควบรวม หรืออาจมีบริษัทที่ต้อง จมหายไป ในตลาดทะเลเลือดแห่งนี้..
2
โฆษณา