5 มี.ค. 2022 เวลา 03:15 • ความคิดเห็น
ผมว่าความคิดนี้มันตกยุคและล้าสมัยไปแล้ว ถึงแม้ผมจะแก่แล้วและหัวโบราณก็ตาม เป็นอะไรที่สังคมให้คุณค่า ด้วยความมีหน้ามีตา สินสอดเยอะๆ งานแต่งแบบอลังการ เขิญคนใหญ่คนโตที่คนแต่งเองก็ไม่เคยรู้จัก สมัยผมแต่งงานผมค่อนรําคาญ ที่จะต้องไปเดินไหว้คนตามโต๊ะ โดยที่เราไม่รู้จัก ผมค่อนข้างแอนตี้เรื่องนี้แต่เกรงใจภรรยา ที่ต้องจะจัดงานให้มันดูดี ให้เป็นหน้าเป็นตาของพ่อแม่ ส่วนเรื่องสินสอดในงานหมั้น นัยว่าเป็นค่าเลี้ยงดูลูกสาวเขาก่อนจะส่งต่อให้เราดูแล และทําพิธีเปิดสินสอดให้คนทั้งงานเห็นมูลค่าในงานหมั้น เสร็จพิธีก็แยกย้ายกันกลับบ้าน
สังเกตุดูว่าในงานแต่งส่วนใหญ่ ร้อยละ 80 คนในงานจะสนใจเรื่องอาหาร ร้อยละ 10 จะเม้าม้อย อีก 10% จะดูวิดีทัศน์และฟังผู้ใหญ่ที่เจ้าบ่าวเจ้าสาวไม่รู้จัก ให้พร และแยกย้ายกันกลับบ้าน แล้วผมไม่รู้สึกสนุกหรือมีความสุขเลยในขณะที่อยู่ในงาน คิดแต่ว่าเมื่อไรจะเสร็จซักที แต่ผมกลับมีความสุขมาก เมื่อเลิกงานแต่งในวันนั้น และมากินข้าวฉลองกับเพื่อนสนิท ญาติๆ พูดคุยสังสรรค์ เฮฮาปาร์ตี้
ถ้าค่านิยมของคนส่วนใหญ่เป็นอย่างนี้อยู่ คนจนเขาจะแต่งงานกันอย่างไร เขาจะหาสินสอดมากๆมาจากไหน พ่อตาแม่ยายนี่แหละตัวดีเลย เขากําหนดมูลค่าของลูกสาว ด้วยจํานวนเงินในสินสอด เงินสด ทองคํา และร้อยละ 80% พอทําพิธีเสร็จมักจะไม่คืนให้ เหมือนเป็นเงินประกัน deposit ที่ไม่คืนให้ จะว่าผมมองโลกในแง่ร้ายก็ได้ แต่จากสถิติและการวิเคราะห์มันเป็นเช่นนั้น
ถ้าเราเป็นห่วงว่า ผู้ชายจะไม่มีปัญญาเลี้ยงดูลูกสาวเราได้ เราไม่แน่ใจฐานะหน้าที่การงาน เลยยึดเอาสินสอดเป็นตัวตั้งเป็นตัวกําหนด แล้วคุณไม่สนใจเหรอว่าเขาจะยังรักกันดีตลอดไป ทําไมเราไม่สามารถหาวิธีวัดแบบอื่นๆ ซึ่งผมว่ามันง่ายมากจะตายที่จะรู้ว่าผู้ชายเป็นอย่างไร ฐานะมั่นคง จริงใจต่อลูกสาวเราไหม ชวนมากินข้าววันเดียวก็รู้แล้ว ถ้าใครที่จะแต่งงานแล้ว เจอพ่อตาแม่ยายที่ไม่คิดเรื่องนี้ แต่ให้ลูกๆตัดสินใจกันเอง พ่อแม่รับรู้และยินดีกับลูกที่เห็นลูกเป็นฝั่งเป็นฝามีครอบครัว จัดงานฉลองเล็กๆน้อยให้ ทําพิธีแบบไม่ต้องอลังการ เชิญญาติสนิทมิตรสหายจริงๆมาในงาน จะมีสินสอดหรือไม่มีก็ได้เป็น option ผมว่าคู่นั้นคงจะโชคดีที่สุดในโลก
โฆษณา