6 มี.ค. 2022 เวลา 09:29 • การศึกษา
คุณรู้หรือไม่ว่าเด็กเตรียมอุดม ที่เก่งๆส่วนใหญ่ก็คือเด็กตจว.หัวกะทิ ที่ระดมมาจากทุกภาคส่วนของประเทศ มาสมัครสอบและจะสอบติด 100% ที่เก่งมากๆจะไปอยู่ในห้อง king, ห้อง queen , ห้อง gifted เด็กเตรียมอุดมห้องที่ว่า จะสอบติดหมอจุฬา ศิริราช รามากันยกห้อง เราดูว่ามันดูเหมือนจะเหลื่อมล้ำมากๆ เด็กตจว. จะไปสู้ได้อย่างไร เมื่อก่อนผมก็คิดเช่นนั้น ผมเคยเอาลูกไปสอบเตรียมเช่นกัน ปรากฎว่าก็ไม่ติด เพื่อนที่ตามไปสอบก็ไม่ติดเข่นกัน
แต่ตอนสอบเข้ามหาลัยจริงๆ หรือที่เรียกว่า tcas ผมคิดว่าเด็กๆเก่งๆ ไปอยู่ตอ. หรือรร. ดังๆหมดแล้ว แล้วลูกเราซึ่งอยู่รร เอกชน โนเนมไม่ดังจะรอดหรือ? ผมก็เดาว่าเด็ก รร. ลูกผม % ในการติดมหาลัยดังๆคงยากมาก แต่ผลสอบออกมา ปรากฎว่า ติดแพทย์จุฬา 1 คน, แพทย์รามา 1คน , แพทย์ธรรมศาสตร์ 2 คน, วิศวะจุฬาฯ 1 คน, นิติศาสตร์ธรรมศาสตร์, รัฐศาสตร์, SiiT, วิศวะเกษตร, วิศวะลาดกระบัง ทําให้ความคิดของผมเรื่องที่ว่า เหลื่อมล้ำ สู้เด็กตอ. ไม่ได้ เปลี่ยนไป
แล้วตอนที่เด็กเหล่านี้ไปเรียน รร แพทย์จุฬา ศิริราช รามา ปรากฎว่าสามารถเรียนแข่งขันกับเด็ก ตอ ซึ่งมีอยู่ประมาณ 95% ในจุฬา, ศิริราช, 80% ในรามา ได้อย่างสบาย ผมก็เลยรู้สึกขึ้นมาทันทีเลย ว่าแรงกระตุ้น แรงจูงใจต่างหากที่มีผลต่อตัวเด็ก ไม่ใช่ความเหลื่อมล้ำอะไรหรอก เด็กพวกนี้ไม่ได้เก่งอะไรเลยเมื่อเทียบกับเด็ก ตอ. ที่เป็นอัจฉริยะ แต่เขามีแรงจูงใจมาก ประกอบกับความมุมานะตั้งใจ อ่านหนังสือ จนประสบความสำเร็จในที่สุด แล้วลองคิดกลับกัน เด็กเก่งในตจว. ถ้าสมมติเขาไม่มาสอบติด ตอ. คุณว่าเขาจะสอบติดแพทย์ได้ไหม ผมว่าเด็กพวกนี้อยู่ไหนก็สอบอะไรๆก็ติดหมด เพียงแต่จะทําอย่างไร ที่จะให้เขารู้ว่า เอ็งน่ะสอบติดชัวร์แล้ว ไม่ต้องลําบากมา กทม. เพื่อสอบให้ติด ตอ.หรอก แต่เด็กพวกนี้ก็จะกลัวและไม่มั่นใจตนเอง โดยการสนับสนุนของพ่อแม่ส่งมาสอบที่กทม เพื่อให้มั่นใจ 1000% ซึ่งเป็นเรื่องไม่จําเป็นเลย
เรื่องที่มาสอบกันเยอะๆเป็นเรื่องค่านิยม และความไม่มั่นใจต่างหาก มิใช่ความเหลื่อมล้ำ เพราะผมพิสูจน์ด้วยลูกของตัวเองมาแล้ว และเพื่อนลูกผมก็ไม่ได้ไปติวอะไรเป็นพิเศษกับพวกติวเตอร์ดังๆ แต่ก็ติดแพทย์จุฬาได้ ซึ่งตอนนี้เรียนอยู่ปี 5 แล้ว ทําไงจะบอกเด็กตจว. ว่ารร ของหนูๆน่ะดีอยู่แล้วไม่ต้องมาสอบ กทม.หรอก และในตจว 10 อันดับ รร. เก่ง ที่ใช้คะแนน onet เป็นตัววัด เป็นเด็กตจว. ซะครึ่ง มหาลัยในส่วนภูมิภาคเขารู้ดี เขาจึงสกัดเด็กพวกนี้ โดยเปิดรอบโควต้าในรอบ2 ของ tcas เพื่อชิงตัวมาก่อน ( ก่อนที่จะไปอยู่จุฬา ศิริราช รามา กันหมด )
ปัญหาความเหลื่อมล้ำจริงๆคือ เด็กๆทุกคนควรจะได้โอกาสในการเรียนหนังสือ ไม่ใช่ว่ายากจนแล้วไม่ต้องเรียน รัฐมีทุน อุดหนุนให้เรียนฟรี, มีสิทธิ์ในการจะศึกษาต่อในรร. ที่ต้องการได้ไม่จำกัด ( ไม่ใช่ว่าต้องมีเงินหรือฐานะดี ),รร ต้องเป็นสถานที่ที่ให้ความรู้ทางวิชาการ เทียบเท่ากันหรือมีมาตรฐานใกล้เคียงกันมากที่สุด มิใช่ห่างกันราวฟ้ากับเหว , มีบุคคลากรหรือคุณครูที่ถูกผลิตออกมาได้มาตรฐานเหมือนกันหมดทั้งประเทศ เหมือนผลิตรถยนต์ออกมา คนใช้งานไว้วางใจ ไม่ใช่ผลิตออกมามีทั้งดี มีทั้งไม่ดี แถมบังคับซะด้วย เลือกครูก็ไม่ได้ อะไรทํานองนี้มากกว่า
โฆษณา