7 มี.ค. 2022 เวลา 11:50 • หุ้น & เศรษฐกิจ
กรณีศึกษา ไทยส่งออก รถมอเตอร์ไซค์ สูงสุดเป็นประวัติการณ์
4
“115,000 ล้านบาท” คือมูลค่าการส่งออกรถมอเตอร์ไซค์และส่วนประกอบ ในปี 2564
ซึ่งทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ของไทย
เติบโตถึง 46% จากมูลค่าการส่งออกในปี 2563
4
ซึ่งจากข้อมูลการส่งออกของประเทศทั่วโลกในปี 2563
ไทยส่งออกรถมอเตอร์ไซค์ มูลค่ามากเป็นอันดับ 4 ของโลก รองจากจีน เยอรมนี และญี่ปุ่น
โดยมีสัดส่วน 6.5% ของมูลค่าการส่งออกโลก ใกล้เคียงกับญี่ปุ่นที่ 6.9% เลยทีเดียว
4
ซึ่งจากตัวเลขการเติบโตในปี 2564 ก็อาจเป็นไปได้ว่า
ไทยได้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้ส่งออกรถมอเตอร์ไซค์อันดับ 3 ของโลก แทนญี่ปุ่นไปแล้ว
เรื่องราวของอุตสาหกรรมรถมอเตอร์ไซค์ของไทย เป็นอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
1
รถมอเตอร์ไซค์นับว่าเป็นยานพาหนะยอดนิยมของผู้คนในภูมิภาคอาเซียน ทั้งในไทย เวียดนาม
อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ทั้งด้วยเหตุผลด้านราคาที่ไม่สูงเท่ารถยนต์ สภาพอากาศที่ขับขี่ได้ตลอดทั้งปี และความคล่องตัวสูง สำหรับฝ่าการจราจรที่ติดขัด
เฉพาะในประเทศไทย ก็มีรถมอเตอร์ไซค์อยู่ถึง 22 ล้านคัน
คิดเป็นอัตราส่วนรถมอเตอร์ไซค์ 1 คัน ต่อประชากร 3 คน หรือพูดง่าย ๆ ว่าโดยเฉลี่ยแล้ว คนไทยในทุกครัวเรือน จะมีรถมอเตอร์ไซค์ 1 คัน
1
การที่มีผู้บริโภคในประเทศอยู่เป็นจำนวนมาก มีทำเลที่ตั้งอยู่ใจกลางภูมิภาคอาเซียน และมีห่วงโซ่อุปทานของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่ครบครัน
ทำให้ประเทศไทย กลายเป็นฐานการผลิตรถมอเตอร์ไซค์และส่วนประกอบที่สำคัญของอาเซียน
ดึงดูดนักลงทุนจากต่างประเทศ โดยเฉพาะญี่ปุ่น ผู้ผลิตแบรนด์รถมอเตอร์ไซค์ชั้นนำของโลก ทั้ง Honda, Yamaha, Suzuki และ Kawasaki
1
ทั้ง 4 แบรนด์ ล้วนเป็นผู้นำการผลิตรถมอเตอร์ไซค์ขนาดเล็กแบบครอบครัว ความจุของกระบอกสูบ 100-125 cc. และมีสัดส่วนการผลิตราว 80% ของกำลังการผลิตในไทย
ซึ่งการผลิตรถมอเตอร์ไซค์ในประเทศไทย จะเป็นการผลิตเพื่อขายในประเทศ สัดส่วนราว 80% และผลิตเพื่อการส่งออก เป็นสัดส่วน 20%
1
ถึงแม้จะส่งออกเป็นสัดส่วนน้อย แต่ด้วยความที่เป็นศูนย์กลางการผลิตที่สำคัญ ทำให้ยอดการส่งออกรถมอเตอร์ไซค์ มากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของอาเซียน และก้าวขึ้นมาเป็นผู้ส่งออกระดับ Top 5 ของโลก
3
อย่างไรก็ตาม ความท้าทายแรกของอุตสาหกรรมรถมอเตอร์ไซค์ของไทยตอนนี้
คือการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคอาเซียน
2
โดยเฉพาะอินโดนีเซียและเวียดนาม ที่ทำให้ผู้คนในประเทศเหล่านี้มีกำลังซื้อมากขึ้น และมีความต้องการรถมอเตอร์ไซค์ขนาดเล็กมากขึ้น
1
เมื่อรวมกับเหตุผลที่ประเทศเหล่านี้มีค่าแรงต่ำกว่า และมีประชากรมากกว่าไทย
ทำให้ผู้ผลิตรถมอเตอร์ไซค์หลายราย เลือกไปตั้งฐานการผลิตในอินโดนีเซีย และเวียดนาม
ซึ่งก็กระทบต่อยอดการส่งออกรถมอเตอร์ไซค์ขนาดเล็กของไทยพอสมควร
3
แต่ในความท้าทายก็ยังมีโอกาส
เพราะการที่ประเทศไทยมีห่วงโซ่อุปทาน ของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์อยู่ครบครัน ทำให้ยังมีศักยภาพดึงดูดบริษัทรถมอเตอร์ไซค์ต่างชาติ
4
โดยเฉพาะรถมอเตอร์ไซค์ขนาดใหญ่ ที่มีความจุของกระบอกสูบ มากกว่า 248 cc. หรือกลุ่ม Big Bike ให้เข้ามาตั้งฐานการผลิตในไทยตั้งแต่ช่วงปี 2555
2
โดยบริษัทรถมอเตอร์ไซค์ขนาดใหญ่ของต่างชาติ ที่เข้ามาตั้งโรงงานในประเทศไทย
เช่น BMW ของเยอรมนี, Harley-Davidson ของสหรัฐอเมริกา, Triumph ของอังกฤษ, Ducati และ Benelli ของอิตาลี
3
รถมอเตอร์ไซค์ขนาดใหญ่ หรือกลุ่ม Big Bike จึงกลายเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย
แทนรถมอเตอร์ไซค์ขนาดเล็กในเวลาต่อมา
5
ในปี 2564 ไทยผลิตรถมอเตอร์ไซค์ 1,780,000 คัน โดยผลิตเพื่อขายในประเทศราว 75%
และผลิตเพื่อส่งออก 25%
1
รถมอเตอร์ไซค์ที่ส่งออก คิดเป็นมูลค่า 84,000 ล้านบาท
โดยมีจุดหมายปลายทางการส่งออกที่สำคัญ ประกอบไปด้วย
1
1. จีน มูลค่า 15,407 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 18%
2. สหรัฐอเมริกา มูลค่า 12,725 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 15%
3. เบลเยียม มูลค่า 11,729 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 14%
4. สหราชอาณาจักร มูลค่า 11,233 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 13%
5. ญี่ปุ่น มูลค่า 8,626 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 10%
1
นอกจากรถมอเตอร์ไซค์ทั้งคันแล้ว ไทยยังส่งออกชิ้นส่วนรถมอเตอร์ไซค์ คิดเป็นมูลค่า 30,500 ล้านบาท โดยจุดหมายปลายทางที่สำคัญ ประกอบไปด้วย
1
1. กัมพูชา ส่งออกมูลค่า 5,129 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 17%
2. ญี่ปุ่น ส่งออกมูลค่า 4,695 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 15%
3. บราซิล ส่งออกมูลค่า 3,805 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 12%
4. อินโดนีเซีย ส่งออกมูลค่า 2,571 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 8%
5. เวียดนาม ส่งออกมูลค่า 1,586 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 5%
1
ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว ไทยจะส่งออกชิ้นส่วนรถมอเตอร์ไซค์ ไปยังประเทศที่เป็นฐานการผลิตรถมอเตอร์ไซค์ เช่น ญี่ปุ่น บราซิล เวียดนาม หรืออินโดนีเซีย
2
และเป็นการส่งออกชิ้นส่วน สำหรับซ่อมแซมไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น กัมพูชา
ซึ่งหากรวมกลุ่มประเทศในอาเซียน ก็นับว่าเป็นจุดหมายปลายทาง ในการส่งออกชิ้นส่วนรถมอเตอร์ไซค์ที่สำคัญของไทย เพราะคิดเป็นสัดส่วนถึง 40%
4
สำหรับบริษัทที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมรถมอเตอร์ไซค์ นอกจากบริษัทของต่างชาติแล้ว
ก็ยังมีบริษัทสัญชาติไทย ที่พัฒนารถมอเตอร์ไซค์แบรนด์ของตัวเอง
เช่น บริษัท จีพี มอเตอร์ (ประเทศไทย) ผู้พัฒนาแบรนด์ GPX
2
นอกจากนี้ ยังมีบริษัทที่เกี่ยวข้องกับชิ้นส่วนรถมอเตอร์ไซค์ ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว มีความเชี่ยวชาญในการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์
1
โดยตัวอย่างบริษัทที่อยู่ในตลาดหุ้นไทย เช่น
- บริษัท ไทยสแตนเลย์การไฟฟ้า (STANLY) ผู้นำการผลิตหลอดไฟ ทั้งสำหรับรถยนต์และรถมอเตอร์ไซค์
- บริษัท อีซึ่น แอนด์ โค (EASON) ผู้นำการผลิตสีพ่นรถมอเตอร์ไซค์
- บริษัท พี.ซี.เอส.แมชีน กรุ๊ปโฮลดิ้ง (PCSGH) ผู้ผลิตชิ้นส่วนรถมอเตอร์ไซค์ Big Bike
- บริษัท เอ็น.ดี.รับเบอร์ (NDR) และ บริษัท ฮั้วฟง รับเบอร์ (ไทยแลนด์) (HFT) ผู้นำการผลิตยางรถมอเตอร์ไซค์
4
อีกประเด็นที่น่าสนใจคือ
การเข้ามาถึงของ “รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า” ก็สร้างความท้าทายต่อมาให้อุตสาหกรรมรถมอเตอร์ไซค์ไทย..
11
บริษัทสัญชาติญี่ปุ่น ที่ตั้งฐานการผลิตในไทย เตรียมเริ่มปรับสัดส่วนการผลิตรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้ามากขึ้น ซึ่งอาจทำให้ ลดการใช้ชิ้นส่วนยานยนต์บางอย่าง ที่เคยใช้ในรถมอเตอร์ไซค์แบบเดิม และส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทย
4
ในขณะเดียวกัน ก็มีบริษัทสัญชาติไทย ที่พัฒนาแบรนด์รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าของตัวเอง
เช่น แบรนด์ ETRAN ของบริษัท อีทราน (ไทยแลนด์)
ซึ่งร่วมทุนกับบริษัทในตลาดหุ้นไทยอย่าง เอ็น.ดี.รับเบอร์ (NDR)
2
แต่เส้นทางของรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าในไทย ก็ยังมีปัญหาอีกมาก ทั้งจำนวนสถานีชาร์จไฟฟ้าที่ยังมีไม่มาก และการอุดหนุนจากภาครัฐที่ยังน้อย เมื่อเทียบกับราคารถที่ยังค่อนข้างสูง
2
ก็เป็นที่น่าติดตามกันต่อไปว่า การส่งออกรถมอเตอร์ไซค์ของไทย จะเป็นอย่างไร
เมื่อมีความท้าทายอีกมากมายรออยู่ ทั้งการเติบโตของประเทศเพื่อนบ้าน ที่อาจเข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาดในอนาคต
และการเข้ามาของเทคโนโลยีใหม่ อย่างรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า ที่จะลดสัดส่วนการใช้ชิ้นส่วนบางชนิดลง
2
เส้นทางข้างหน้า ของอุตสาหกรรมรถมอเตอร์ไซค์ไทย อาจไม่ได้ราบเรียบนัก
แต่หากผู้ประกอบการปรับตัวและเตรียมตัว สำหรับการเปลี่ยนแปลงได้ดีพอ
ความท้าทายก็อาจกลายเป็นโอกาส ได้เช่นเดียวกัน
และถึงเวลานั้น ประเทศไทยอาจเป็นฐานการผลิตรถมอเตอร์ไซค์เพื่อส่งออก ที่ใหญ่สุดในโลก ก็เป็นได้..
โฆษณา