13 มี.ค. 2022 เวลา 06:00 • ปรัชญา
ระปรมาจารย์ใหญ่หลวง​ปู่​เสาร์ กนฺตสีโล
พระ​บูรพาจารย์ใหญ่หลวงปู่มั่น​ ภูริ​ทต​ฺ​โต​
สองบุพพาจารย์ผู้ทรงคุณแห่งวงศ์พระ​กัมมัฏฐาน
ธุดงค์ร่วมกัน
หลวงปู่เสาร์​ กันตสีโล เป็นพระสงฆ์ที่มีความสุขุมและมีจริยาวัตรงดงามมาตั้งแต่สมัยที่ท่านบวชใหม่​ ๆ ซึ่งเป็นนิสัยเดิมของท่าน ท่านเป็นคนพูดน้อย รักสันโดษ​ ท่านชอบที่จะไปอยู่ป่าดงฝึกจิตใจ เจริญศีล สมาธิ ปัญญา จำพรรษาในท่ามกลาง
#บรรณานุกรมอ้างอิง​ :​ นิตยสารญาณวิเศษ ปีที่ 6 ฉบับที่ 57 เดือนมกราคม 2538 ; หลวง​ปู่​เสาร์​ กัน​ต​สี​โล​ พระอรหันต์ และพระอาจารย์ใหญ่ของพระป่า​ ; โดย​ ดำรง ภู่ระย้า #คัดลอกมาจาก​ www. dharma-gateway.​ com ผู้​พิมพ์​โพสต์​เผยแผ่ #ภาพประกอบลายเส้นวาดโดย เอ​ ท่องถิ่นธรรม _/\_ _/\_ _/\_
สิงสาราสัตว์ในหุบเขา วิเวกในถ้ำลึกได้หลายพรรษา​ เมื่อออกพรรษา หลวงปู่เสาร์​ จะพาพระเณรในวัดเลียบ จังหวัดอุบลราชธานี ออกเดินธุดงค์เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติธรรม
ภายหลังท่านพระอาจารย์มั่นได้ฝากตัวเข้ามาเป็นศิษย์หลวงปู่เสาร์ ท่านทั้งสองได้ออกธุดงค์ร่วมกัน​ ซึ่งสมัยที่ท่านออกบำเพ็ญภาวนาในครั้งนั้น ส่วนมากไม่ค่อยจะมีใครกระทำหรือปฏิบัติกันเลย
เมื่อชาวบ้านเห็นพระธุดงค์ก็จะพากันหวาดกลัว เพราะไม่เคยเห็น จะพากันวิ่งหนีเข้าป่าเข้าบ้านกันหมด คล้ายกับว่าการที่มีพระธุดงค์ออกสู่ป่าเพื่อบำเพ็ญพระกรรมฐานนั้น เป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามา เกรงจะได้รับอันตรายจากพระธุดงค์เหล่านั้น
ความไม่เข้าใจของบรรดาชาวบ้านทั้งหลายนี้ ก็เป็นเพราะว่าในสมัยนั้นไม่เคยมี หรือปรากฏขึ้นในวงการของสงฆ์ และไม่เคยได้ศึกษาในพระวินัยที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาเลย
หลวงปู่เสาร์และหลวงปู่มั่นก็มิได้ตำหนิชาวบ้าน ท่านเข้าใจดี ท่านจะมีก็แต่ความเมตตาสงสารเท่านั้น
พระบุพพาจารย์ทั้งสองท่านออกเดินธุดงค์เพียงมุ่งปฏิบัติเพื่ออรรถธรรมจริงๆ และต่อมาท่านได้พยายามเข้าถึงจิตใจของประชาชนได้ดีเป็นอย่างยิ่งสามารถกระทำประโยชน์บังเกิดขึ้นได้มาก โดยอาศัยจริยาวัตรอันงดงาม และพระธรรมที่ท่านปฏิบัติมา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา
ธุดงค์ไปเรื่อยๆ
ต่อจากนั้น ท่านทั้งสองได้พากันร่วมทางเดินธุดงค์ โดยมุ่งไปทางทิศเหนือขึ้นไปเรื่อย​ ๆ จนถึงบ้านหนองลาด บ้านม่วงไข่พรรณา ซึ่งเป็นสถานที่ใกล้บ้านเดิมของ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร แต่ท่านไม่ได้พักอยู่นานนัก จากนั้นท่านได้ออกธุดงค์ไปยังบ้านหนองแวง บ้านโพนเชียงหลาง
ในสมัยนั้นตามหนทางในแถบถิ่นนี้ เป็นป่าดงพงพฤกษ์ที่หนาแน่นไปด้วยต้นไม้นานาพรรณต้นไม้ใหญ่ๆ ประเภทไม้เต็งไม้แดงมีมากเหลือเกิน
ท่านได้พาหมู่คณะที่เข้ามาสมทบในภายหลังมากมาย ซึ่งการพักพิงในป่าและเงื้อมผาต่าง​ ๆ ให้ลูกศิษย์ทำความเพียรเป็นระยะ​ ๆ ไป และยังได้ลูกศิษย์เพิ่มขึ้นตามระยะทางนั้นมากขึ้น ทั้งที่เป็นพระภิกษุ สามเณร และเด็กฆราวาส
ต่อมาท่านได้พาคณะเดินธุดงค์มาถึงบ้านหนองใส บ้านตาลโกน บ้านตาลเนิ้ง อันเป็นบ้านเดิมของพระอาจารย์วัน อุตฺตโม
บริเวณแถบถิ่นนี้ มีหมู่บ้านเป็นหย่อมๆ ชาวบ้านทั้งหมดเป็นชาวนา ถือการทำนาเป็นอาชีพหลัก
การไปตามแถบถิ่นนี้ ท่านจะแนะนำสั่งสอนหมู่ชน ให้ละจากการนับถือภูตผีปิศาจ โดยความหลงผิดเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งก็เป็นตัวอย่างให้แก่ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นศิษย์ของท่าน ได้เจริญตามรอยที่จะให้พุทธบริษัทละจากการนับถือผิดๆ ให้เป็นพุทธบริษัทที่แท้จริง พร้อมทั้งปลูกศรัทธาในการเจริญพระกรรมฐานไปด้วย
เมื่อท่านเห็นความหวังที่ท่านได้อบรมสั่งสอนเป็นไปอย่างพึงพอใจแล้ว ทั้งยังทำให้ชาวบ้านได้เลิกละเสียจากการนับถือผิด​ ๆ หันมาปฏิบัติรับพระไตรสรณคมน์เป็นที่พึ่ง
ท่านพระบุพพาจารย์ทั้งสองคือ หลวงปู่เสาร์และหลวงปู่มั่นบรรดาลูกศิษย์ทั้งหลาย ก็ออกเดินธุดงค์ท่อง​ถิ่น​ธรรม​ต่อไปเรื่อย​ ๆ จนถึงบ้านปลาโหล บ้านพังฮอ และคณะทั้งหมดได้มาพักบริเวณป่ารกแห่งหนึ่ง ในเขตอำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร
ธรรมะปาฏิหาริย์
ผลสำเร็จในการออกเดินธุดงค์ของพระบุพพาจารย์ทั้งสององค์ และคณะลูกศิษย์นี้ ได้มีพระภิกษุและอุบาสก อุบาสิกาจากในที่ไกล​ ๆ ได้ยินกิตติศัพท์ พากันสนใจเดินทางมาขอศึกษาเล่าเรียนพระกรรมฐานกันเป็นจำนวนมาก
พระภิกษุ สามเณร และฆราวาส ต่างก็ได้แจ้งประจักษ์เกิดธรรมะปาฏิหาริย์ภายในจิตใจด้วยกันทุกคนทีเดียว
ขอยกตัวอย่างดังนี้คือ ในคราวหนึ่ง พระอุปัชฌาย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก และ ท่านพระอาจารย์ดี(ท่านอาญาครู​ ดี)​ วัดม่วงไข่พรรณา ท่านทั้งสองรูปนี้เป็นพระฝ่ายผู้ใหญ่
ได้มาขอเรียนพระกรรมฐาน ซึ่งหลวงปู่ เสาร์ได้มอบหน้าที่นี้แก่หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
เมื่อศึกษาไป​ ๆ ในที่สุดอำนาจบุญวาสนาที่เคยสร้างสมมาแต่ก่อนเก่า จนปรากฏผลในทางธรรมอย่างเด่นชัด ยังผลให้พระคณาจารย์ทั้งสองท่าน เกิดความประหลาดมหัศจรรย์เหลือที่จะกล่าว
ท่านยอมรับในตัวของ หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล และ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต อย่างแรงกล้าเพราะสิ่งที่ท่านได้รู้ ได้เห็นอยู่นี้เป็นสิ่งที่เป็นจริงทุกประการ และเป็นจริงดังคำที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศไว้ว่า
สันทิฏฐิโก = ผู้ศึกษาและผู้ปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง
ดังนั้นพระอาจารย์เกิ่งและพระอาจารย์ดี จึงได้พาหมู่คณะลูกศิษย์ของท่าน เข้ามาศึกษาธรรมปฏิบัติเป็นจำนวนมากอีกด้วย ปรากฏว่าบรรดาพระภิกษุทั้งหลาย พากันตื่นตัวเดินทางเข้ามาถวายเป็นศิษย์ ขอเรียนพระกรรมฐานมากมาย
กลัวอายฆราวาส
หลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญเล่าว่า...
“จะไม่ตื่นตัวกันอย่างไร ก็บรรดาฆราวาสที่เคยติดตามหลวงปู่เสาร์และหลวงปู่มั่นออกธุดงค์ในป่าดง จนเกิดรู้เห็นธรรมะในจิตใจ อีกทั้งยังมีอำนาจจิตที่ข้นเข้ม มีสติสมาธิดี ทั้งๆ ที่เป็นฆราวาสธรรมดานี่เอง
พระสงฆ์ผู้ใหญ่ผู้น้อยก็ต้องตื่นตัวซี จะอยู่ดูดายไม่ประพฤติปฏิบัติ ก็จะด้อยกว่าฆราวาสในทางด้านปฏิบัติธรรม เกรงจะเป็นการทำให้ฆราวาสดูถูกดูแคลนได้ ก็ต้องเร่งประพฤติเพิ่ม ศีล สมาธิปัญญา ใส่ตนเอง”
นับได้ว่าในพรรษานั้น มีผู้สนใจในการปฏิบัติอยู่กับหลวงปู่ทั้งสององค์อย่างมาก
และดูเหมือนจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นคณะใหญ่ขึ้นตามลำดับ
แม้แต่พระที่บวชแล้ว ก็ขอแปรญัติใหม่เป็นธรรมยุติกนิกาย และยังมีผู้ที่ประสงค์บวชพระบวชเณร บวชชี ตาผ้าขาว แม่ขาวมากมาย
แต่ในขณะนั้น หลวงปู่ทั้งสองรูปยังไม่ได้เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านจึงต้องไปนิมนต์ ท่านพระครูอดิสัยคุณาธาร (อากโร คำ) ที่วัดศรีสะอาด เจ้าคณะจังหวัดเลยมาเป็นพระอุปัชฌาย์ เข้ามาบวชหมู่ใหญ่ในสมัยนั้นเป็นต้นมา
ท่านได้วางระเบียบการอ่านที่จะบวช หรือทำการบรรพชาอุปสมบท นั่นคือต้องบวชเป็นตาผ้าขาวก่อน แล้วรักษาศีล ๘​ รับประทานอาหารเพียงมื้อเดียวและให้ฝึกหัดดัดแปลงนิสัยใจคอเก่าๆ ออกไป
ทั้งยังให้ฝึกกรรมฐานให้เป็นประดุจพระ หรือสามเณรตั้งแต่ยังเป็นฆราวาสนี่เสียก่อน ถ้าฝึกยังไม่พอ ก็ยังไม่บรรพชาหรืออุปสมบทให้ ซึ่งต้องใช้เวลาหลายเดือน
ผลปรากฏว่าเรียบร้อยดีมากระเบียบนี้จึงได้มีขึ้นในคณะพระกรรมฐานจนถึงปัจจุบันนี้
ดังที่พวกเราทั้งหลายได้เห็นปฏิปทาของพระกรรมฐานสายหลวงปู่เสาร์ และหลวงปู่มั่น จากลูกศิษย์ของที่ยังมีชีวิตอยู่ในยุคปัจจุบัน ซึ่งได้ปรากฏความเป็นผู้เข้มแข็งในการเจริญสมณธรรมเป็นอย่างยิ่ง
จึงจัดได้ว่า หลวงปู่เสาร์กันตสีโล และ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เป็นผู้ทรงคุณธรรม
ภายใน และมีปฏิภาณเฉลียวฉลาดปรีชายิ่งแห่งยุค เพราะท่านสำเร็จมาจากมหาวิทยาลัยในป่า!..ท่านค้นคว้าหาวิชชาภายในกายนคร !
กายนคร
ในปี​ พ.ศ.๒๔๖๕ หลวงปู่เสาร์และหลวงปู่มั่น พระปรมาจารย์ใหญ่ และคณะลูกศิษย์ของท่านทั้งสอง รวมทั้งผู้เข้ามาฝึกใหม่​ ๆ ได้เดินธุดงค์มาพักจำพรรษาอยู่ที่เสนาสนะป่าบ้านหนองลาด อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร นับเป็นเวลา ๗ ปี
ท่านพระอาจารย์ทั้งสองได้เริ่มแนะนำการปฏิบัติธรรมที่ง่าย​ ๆ และได้ผลจริงจัง และในปีนี้ลูกศิษย์ของท่าน ผู้ที่ได้รับธรรมชั้นสูงจากท่าน จนสามารถสอนธรรมกรรมฐานแทนท่านได้ก็มีมาก
ครั้งนี้ หลวงปู่เสาร์และหลวงปู่มั่นใคร่จะปรับปรุงแผนการให้ได้ผลยิ่งขึ้น จึงได้มีการรวมประชุมบรรดาสานุศิษย์ทั้งหลายให้มาจำพรรษา ณ ที่นี้ ซึ่งหลวงปู่เสาร์ก็ได้มอบให้หลวงปู่มั่นเป็นผู้วางแผนงาน ตลอดถึงการแนะนำธรรมปฏิบัติ เพื่อให้ทุกรูปที่เป็นพระกรรมฐาน ได้ยึดเป็นแนวทางปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เพื่อเป็นแนวทางอันเดียวกัน โดยท่านได้ย้ำถามทางของพระอริยสัจธรรม
ท่านพระอาจารย์ใหญ่ทั้งสองท่าน ให้หมายเอาการพิจารณากาย ให้เป็นหลักประกันที่สำคัญยิ่ง ทั้งยังได้ยกตัวอย่างมากมาย นับตั้งแต่พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ตลอดถึงพระสาวกเจ้าทั้งหลาย
ท่านยืนยันอย่างแน่วแน่ว่า “ผู้ที่จะเข้าผ่านสู่อริยสัจนั้น จะไม่พิจารณากายไม่มีเลย”
ท่านพระอาจารย์เสาร์ และท่านพระอาจารย์มั่น ท่านทั้งสอง ผู้เป็นพ่อแม่ครูอาจารย์อบรมสั่งสอนศิษยานุศิษย์ ท่านเป็นผู้ปูแนวทางการปฏิบัติข้อวัตรของ
องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เคยเลือนหายให้พลิกฟื้นขึ้นมามีกำลังแผ่ขยายแนวการปฏิบัติไปทั่วภาคอีสาน จนก่อเกิดกองทัพธรรมพระกัมมัฏฐาน เข้ามาฝากตัวจากทั่วสารทิศ และน้อมนำข้อวัตรปฏิปทามายึดเป็นแบบอย่างจนถึงทุกวันนี้
หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม​
แม่ทัพใหญ่แห่งกองทัพธรรมพระกัมมัฏฐาน
พระบูรพาจารย์ของเรา เราถือว่าพระอาจารย์เสาร์ กตนฺสีโล เป็นพระอาจารย์องค์แรก และเป็นผู้นำหมู่คณะลูกศิษย์ลูกหา ออกเดินธุดงคกรรมฐาน ชอบพักพิงอยู่ตามป่าตามที่วิเวก อาศัยอยู่ตามถ้ำบ้างตามโคนต้นไม้บ้าง และท่านอาจารย์มั่นก็เป็นอีกท่านหนึ่งซึ่งเป็นลูกศิษย์พระอาจารย์เสาร์ หลวงพ่อสิงห์ ขนฺตยาคโม ก็เป็นลูกศิษย์ของท่านอาจารย์เสาร์ และท่านอาจารย์มั่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระอาจารย์สิงห์เปรียบเสมือนหนึ่งว่าเป็นเสนาธิการใหญ่ของกองทัพธรรม ได้นำหมู่
คณะออกเดินธุดงค์ไปตามราวป่าตามเขา อยู่อัพโภกาส อยู่ตามโคนต้นไม้ อาศัยอยู่ตามถ้ำ พักพิงอาศัยอยู่ในราวป่าห่างจากหมู่บ้านประมาณ ๕๐๐ เมตร การธุดงค์ของพระอาจารย์เสาร์ พระอาจารย์มั่น พระอาจารย์สิงห์จะไม่นิยมที่จะไปปักกลดอยู่ตามละแวกบ้าน ตามสนามหญ้า หรือตามบริเวณโรงเรียน หรือใกล้ๆ กับถนนหนทางในที่ซึ่งเป็นที่ชุมนุมชน ท่านจะออกแสวงหาวิเวกในราวป่าห่างไกลกันจริง​ ๆ
บางทีไปอยู่ในป่าเขาที่ไกล ตื่นเช้าเดินจากที่พักลงมาสู่หมู่บ้านเพื่อบิณฑบาต เมื่อบิณฑบาตเสร็จแล้ว กลับไปถึงที่พักเป็นเวลา ๑๑.๐๐ น. หรือ ๕ โมงก็มี อันนี้คือหลักการปฏิบัติของพระธุดงคกรรมฐานในสายพระอาจารย์มั่น พระอาจารย์เสาร์ ซึ่งบางทีอาจจะผิดแผกจากพระธุดงค์ในสมัยปัจจุบัน ซึ่งไปปักกลดอยู่ตามสนามหญ้า หรือตามสถานีรถไฟ ตามบริเวณโรงเรียนหรือศาลเจ้าต่างๆ พระ
อาจารย์เสาร์ พระอาจารย์มั่น พระอาจารย์สิงห์ ไม่นิยมทำเช่นนั้น ไปธุดงค์ก็ต้องไปป่ากันจริง​ ๆ ที่ใดซึ่งมีอันตรายท่านก็ยิ่งไปเพื่อเป็นการทดสอบความสามารถของตัวเอง และเป็นการฝึกฝนลูกศิษย์ลูกหาให้มีความกล้าหาญเผชิญต่อภัยของชีวิต ตะล่อมจิตให้ยึดมั่นในคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อย่างแน่วแน่
“.. ทำให้ดูมันยังไม่ดู ปฏิบัติให้ดูอยู่ทุกวัน มันยังไม่ปฏิบัติตาม เทศน์ให้ฟัง มันจะฟังหรือพวกเจ้า..ข้อยเฮ็ดให้เบิ่ง บ่ เบิ่ง เทศน์ให้พวกหมู่เจ้าฟัง หมู่เจ้าสิฟังฤา​ ..” โอวาทธรรมคำสอนท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล
“.. จงพากันมีสติคอยระวังตัว อย่าให้เป็นคนประเภทใบลานเหล่า​ ๆ เรียนเปล่าและตายทิ้งเปล่า ไม่มีธรรมอันเป็นสมบัติของตัวอย่างแท้จริงติดตัวบ้างเลย​ ..” โอวาทธรรมคำสอนท่านพระอาจารย์มั่น​ ภูริ​ทตฺ​โต​
โฆษณา