15 มี.ค. 2022 เวลา 05:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ไทยได้รางวัล “ข้าวหอมมะลิดีที่สุดในโลก”
แต่คุณภาพชีวิตชาวนากลับถดถอย
เผชิญปัญหาหนี้สินท่วม
1
เพื่อนๆ เคยได้ยินประโยคที่กล่าวว่าข้าวหอมมะลิไทยดีที่สุดในโลกกันบ้างไหมครับ? แม้จะเป็นประโยคที่ฟังดูแล้วน่าภาคภูมิใจ แต่สิ่งที่น่าตกใจ ก็คือ มีข้อมูลเปิดเผยว่า
✅ 1.อุตสาหกรรมข้าวไทย ณ ตอนนี้ อาจไม่ได้เติบโตเหมือนในอดีตอีกแล้ว
✅ 2.ชาวนามีหนี้สินเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เป็นเวลายาวนานกว่า 13 ปี นับตั้งแต่ปี 2552
(ข้อมูล จากบทวิเคราะห์ จากทาง SCB EIC 2564)
ที่น่าใจหาย คือ หนี้ครัวเรือนต่อรายได้ของเกษตรกรในภาคอีสานในปี 2563 สูงถึง 77.6% เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ที่อยู่ราว 33.8%
สิ่งหนึ่งที่สะท้อนปัญหานี้ได้ดี คือ ข่าวม๊อบชาวนาที่ออกมาเรียกร้องเพื่อขอให้รัฐบาลแก้ปัญหาเรื่องหนี้สินให้ชาวนาไทย ณ ขณะนี้
ซึ่งบทสัมภาษณ์หนึ่งที่น่าสนใจ จาก Matichon TV ที่ได้สัมภาษณ์คุณป้าหนึ่งในผู้ชุมนุม https://youtu.be/RbteLMxbhjs ที่ aomMONEY ฟังแล้วก็ยังรู้สึกสะเทือนใจ นั่นก็คือ
"เกษตรกรทุกวันนี้อยู่ได้ เพราะลูกไปทำอาชีพอื่นและนำเงินมาจุนเจือครอบครัว ไม่อยากให้ลูกมาเป็นเกษตร เพราะทำไปก็เป็นหนี้ ไม่มีทางลืมตาอ้าปากได้”
1
ได้ยินแบบนี้แล้ว ทาง aomMONEY เองก็อยากเป็นกระบอกเสียงหนึ่งให้ชาวนาทุกคน ครั้งนี้จึงขอหยิบข้อมูลที่น่าใจที่ทาง SCB EIC ได้ทำบทวิเคราะห์ไว้มาสรุปและเล่าให้เพื่อนๆ อ่านกัน เพื่อให้เข้าใจและมองเห็นถึงปัญหาของวงการอุตสาหกรรมข้าวไทยครับ
📌 จุดถดถอยของอุตสาหกรรมข้าวไทย เริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ. 2543 (22 ปีก่อน)
ข้าวไทย แม้จะเป็นสินค้าส่งออกหลักของประเทศ และเป็นแหล่งรายได้หลักของคนไทยกว่า 4.7 ล้านครัวเรือน แต่ภาพรวมอุตสาหกรรมและชาวนากลับยังแย่ลงเรื่อยๆ
จากข้อมูล SCB EIC พบว่า จุดเปลี่ยนสำคัญที่สร้างวงจรแห่งความถดถอยของอุตสาหกรรมข้าวไทย คือ ตั้งแต่ปี 2543 ประเทศคู่แข่งอย่าง อินเดีย และ เวียดนาม “หันมาทำข้าวคุณภาพสูงในต้นทุนต่ำลง”
ถ้าเทียบกันง่ายๆ ต้นทุนผลิตข้าวเปลือกของไทย
✅ สูงกว่าอินเดีย 21.4%
✅ สูงกว่าเวียดนาม 73.2%
(ข้อมูลคณะกรรมาธิการการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐฯ ในปี 2558)
นอกจากต้นทุนผลิตข้าวจะแพงกว่า ไทยยังเสียเปรียบคู่แข่งจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าในช่วงนั้น ก็ทำให้ประเทศคู่ค้าที่ดูเรื่องราคาเป็นหลัก หันไปซื้อข้าวจากอินเดียและเวียดนามเพิ่มขึ้น นี่แหละครับ จุดเริ่มต้นการถดถอยของวงการข้าวไทยบ้านเรา ☹️
📌 3 สัญญาณชี้ย้ำว่า อุตสาหกรรมข้าวไทยกำลังถดถอยอยู่
✅ 1.ตลาดข้าวทั่วโลกโต แต่ “ไทย” ส่งออกข้าวน้อยลง
เรื่องนี้เห็นชัดตั้งแต่ปี 2547 ว่าข้าวไทยมีส่วนแบ่งการตลาดในตลาดข้าวโลกน้อยลงเรื่อยๆ อย่างปี 2563 ที่ผ่านมา ข้าวไทยมีส่วนแบ่งการตลาดที่ 12.6% เท่านั้น “ต่ำที่สุดในรอบ 47 ปี” ไหนจะปริมาณข้าวไทยยังส่งออกน้อยลง โดยปี 2563 เหลือเพียง 5.7 ล้านตัน จากปี 2547 อยู่ที่ 10.1 ล้านตัน
✅2.ผู้ประกอบการธุรกิจข้าวขาดทุนมากขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุเพราะต้นทุนการขายที่เพิ่มขึ้น แต่กำไรกลับลดลง เช่น จำนวนผู้ประกอบการโรงสีข้าวในปี 2562 มีคนขาดทุนถึง 25.2% เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ที่อยู่ราว 12.7%
✅3. ชาวนามีหนี้สินเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ปี 2552 เป็นเวลายาวนานกว่า 13 ปี
ยิ่งเราดูข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ยิ่งเห็นชัดว่าหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ภาคอีสาน) เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง อย่างปี 2563 อยู่ที่ 77.6% และเพิ่มขึ้นจากปี 2552 ที่อยู่ราว 33.8%
จากตัวเลขนี้ยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่ายๆ คือ
จากรายได้ 100 บาท “ชาวนา” มีหนี้ในระบบสถาบันการเงินแล้ว 77.6 บาท (อย่างหนี้บ้าน ลีสซิ่งรถ สินเชื่อส่วนบุคคล ฯลฯ) ซึ่งยังไม่รวมหนี้นอกระบบ
2
ดังนั้นจะเห็นได้ชัดว่า นอกจากข้าวไทยจะขายได้น้อยลง แถมแข่งขันกับประเทศอื่นได้ยากขึ้น ชาวนาที่ผลิตข้าวก็อยู่ยากขึ้นไปด้วย เพราะปัญหาหนี้สิน
📌 ชาวนาไทยกับ 5 ข้อจำกัดที่ต้องเผชิญ
จากปัญหาทั้งหมดนี้หลายคนคงสงสัยว่า แล้วทำไมชาวนาไทยไม่ปรับตัว ไม่ช่วยตัวเองล่ะแต่ก่อนจะตั้งคำถามนี้ผมขอชวนเพื่อนๆ มาเข้าใจพื้นฐานของชาวนาไทย ว่าเขาต้องเจอข้อจำกัดอะไรบ้างถ้าเทียบกับชาวนาประเทศอื่นๆ
✅ ชาวนาไทยเข้าไม่ถึงแหล่งน้ำ
จากข้อมูลปี 2564 ไทยมีพื้นที่ปลูกข้าวในเขตชลประทานแค่ 24% ต่างจากเวียนามที่มีสัดส่วนนี้สูงถึง 89% ยิ่งชาวนาไทยต้องพึ่ง ‘น้ำฝน’ ดังนั้นยิ่งสร้างความไม่แน่นอนสูงและทำให้ผลผลิตต่อไร่อยู่ในระดับต่ำ
1
✅ งบประมาณรัฐเน้นแก้ปัญหาเรื่องข้าวเฉพาะหน้า แต่กลับลงทุนในการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวและนวัตกรรมในการผลิตข้าวน้อยมาก
1
✅ ชาวนาส่วนใหญ่มีพื้นที่เพาะปลูกขนาดเล็ก
เช่น ชาวนาไทยกว่า 19.3% มีที่ดินน้อยกว่า 5 ไร่
ดังนั้นเมื่อมีที่ดินไม่มาก การจะลงทุนเครื่องจักร หรือการเพิ่มผลผลิตก็มีต้นทุนสูงกว่า ทำให้ชาวนาไม่มีแรงจูงใจในการเปลี่ยนแปลง บางคนต้องทำอาชีพเสริมอื่นๆ มากกว่าใส่ใจพัฒนาการปลูกข้าวที่ดีขึ้น
2
✅ ชาวนาไทยส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ
หัวหน้าครัวเรือนเกษตรกรของไทยกว่า 52.5% อายุเฉลี่ยสูงกว่า 56 ปี ทำให้ต้องจ้างแรงงานในการทำนา (แล้วกำไรสุทธิจะอยู่ที่เท่าไรถ้าต้องจ้างทุกอย่าง)
✅ ชาวนาไทยได้เงินทุนเพื่อพัฒนาจากต่างประเทศน้อยกว่าชาวนาประเทศอื่นๆ ข้อมูลจาก FAO ระบุว่า ปี 2543-2562 ไทยได้เงินทุนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรปีละ 746 ล้านบาท ขณะที่อินเดียได้อยู่ที่ปีละ 16,785 ล้านบาท ส่วนเวียดนามได้อยู่ปีละ 5,983 ล้านบาท สาเหตุเพราะไทยมีรายได้ต่อหัวประชากรสูงกว่า 2 ประเทศนี้เลยได้เงินช่วยเหลือน้อยกว่า
(*องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO))
2
จากปัญหาทั้งหมดนี้ ยิ่งสะท้อนว่าต่อให้เราพยายามแค่ไหน แต่ถ้า ระบบส่วนกลาง รวมถึงเรื่องน้ำที่เป็นหัวใจสำคัญในการปลูกข้าว รัฐยังบริหารจัดการไม่ได้ ชาวนาไทยยิ่งต้องหาทางแก้ปัญหาเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่า
📌 รัฐบาลไทยต้องปรับอย่างไร?
เพื่อนๆ คงเข้าใจแล้วว่าเป็นชาวนาไทยไม่ง่ายเลย ทั้งจากการมีที่ดินน้อยอยู่แล้ว ไหนจะเข้าไม่ถึงแหล่งน้ำ ต่อให้ปลูกข้าวก็ยังต้องเสี่ยงข้าวตาย ดังนั้นทางออกในการแก้ปัญหานี้ คือ ภาครัฐต้องสร้างวาระเร่งด่วนขึ้นมา
ทาง SCB EIC มีข้อเสนอว่ารัฐต้องเร่งลงทุนและเปลี่ยนแปลงในวันนี้ เช่น
◾ เพิ่มการลงทุนวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านข้าวที่แก้ปัญหาให้ชาวนา และตอบสนองตลาด
◾ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ระบบในการจัดการน้ำ
◾สร้างเครือข่ายความร่วมมือทุกภาคส่วนทั้งรัฐ-เอกชน ที่สำคัญชาวนาต้องเข้าถึงได้
◾การลงทุนในเทคโนโลยีดิจิทัลและวิทยาศาสตร์ข้อมูล
◾การลงทุนเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของตลาดข้าวและตลาดปุ๋ยภายในประเทศ เช่นปัจจุบันชาวนาต้องจ่ายค่าปุ๋ยแพงขึ้น 38% จากราคานำเข้า
1
ที่สำคัญคือรัฐต้องสร้างพื้นที่ และทำให้ขาวนามีส่วนร่วมในการเพิ่มูลค่าสินค้าเกษตร รวมถึงแปรรูปขั่นสูงให้เกิดสินค้าจากข้าวรูปแบบใหม่ๆ ที่จะช่วยเพิ่มรายได้ให้ชาวนา ซึ่งรวมถึงการสร้าง Value Chain (ห่วงโซ่มูลค่า)
1
สุดท้ายนี้ชีวิตของชาวนาที่เป็นเหมือนกระดูกสันหลังของชาติจะเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นหรือไม่ เราคงต้องเริ่มดูกันว่า โครงสร้างพื้นฐานในปัจจุบันสร้างปัญหาให้ชาวนามากแค่ไหน และรัฐจะเปลี่ยนแปลงเพื่อลดการสร้างปัญหานี้ได้เมื่อไร
2
ขอบคุณข้อมูลบทวิเคราะห์จากทาง SCB EIC ครับ
◤ = = = = = = = = = = = = = = = = = = = =
aomMONEY กำลังเปิดรับเพื่อนร่วมทีมเพิ่ม!
= = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = ◢
🔥 Senior Content Manager
(บก. เพจ aomMONEY)
ดูรายละเอียดและสมัครเลย! https://bit.ly/3oHJyXt
🔥 Junior Content Manager
(รองบก. เพจ aomMONEY)
ดูรายละเอียดและสมัครเลย! https://bit.ly/3uTUTHX
◤ = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = =
aomMONEY ก้าวแรกสู่ความสำเร็จทาง "การเงิน"
= = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = ◢
👍 ชอบกด Like โดนใจ กด Share
และอย่าลืม ✅ See First
เพื่อที่จะได้ไม่พลาดข่าวสารใหม่ ๆ ก่อนใคร
ติดตามความรู้ทางการเงินในช่องทางอื่นๆ ได้ที่
📌 กลุ่มกองทุนไหนดี https://bit.ly/3aOjgMl
สนใจโฆษณาติดต่อ :
👉 Tel: 092-264-5499 (คุณแน้ม บ.ก.aomMONEY)
โฆษณา