17 มี.ค. 2022 เวลา 02:38 • การศึกษา
Design Thinking คืออะไร? แล้วทำไมเราต้องรู้จัก??
What is Design Thinking?
Design Thinking หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า กระบวนการคิดเชิงออกแบบ
แล้วกระบวนการคิดเชิงออกแบบคืออะไรกัน?
จริงๆเราอาจจะทำความเข้าใจง่ายๆได้ว่า Design Thinking เป็นการคิดหา Solution เพื่อสร้างสินค้า/ นวัตกรรม ที่ตอบโจทย์ Pain Point ของกลุ่มลูกค้าเรา โดยนำ User เป็นศูนย์กลาง
แล้ววิธีการคิดแบบ Design Thinking จะต้องคิดอย่างไร ทำอย่างไร??
เราลองมาดูที่รูปถัดไปเลยค่ะ
Design Thinking Process
Design Thinking ประกอบด้วยขั้นตอน
  • 1.
    Empathize
  • 2.
    Define
  • 3.
    Ideate
  • 4.
    Prototype
  • 5.
    Test
แต่ในรูปภาพที่จะแชร์ครั้งนี้เมย์ขอแยกออกเป็น
4. Prototype & Test
5. Business Cases
6. Story Telling for Pitching
แต่ทุกท่านสงสัยไหมคะว่าทำไมรูปสามเหลี่ยมด้านบนทำไมถึงแคบลงและเปิดกว้างและแคบลง
การ Flare คือการเปิดรับไอเดีย หรือความคิดเห็นจำนวนมาก โดยที่เราไม่ตัดสิน หรือมีข้อจำกัดกับข้อมูลนั้นๆ พอเราได้ข้อมูลที่มีจำนวนมากแล้วเราถึงมานั่งหา Solution โดยการFocus ที่จุดใดจุดนึงเพื่อให้ภาพสินค้า/ นวัตกรรมเราชัดขึ้น
อย่าเพิ่ง งง ไปค่ะ ตอนนี้อาจจะยังไม่เห็นภาพว่าทำไมบางขั้นตอนเป็น Flare บางขั้นตอนเป็น Focus
เราลองมาดู Details แต่ละขั้นตอนกันเลยค่ะ
DT 1: Empathize
Empathize
เรียกง่ายๆก็คือ การเข้าอกเข้าใจลูกค้าอย่างเป็นกลาง เอ๊ะ! แล้วเราจะเข้าอกเข้าใจเขาไปทำไม และทำเพื่ออะไร เสียเวลาเปล่าหรือป่าว
การเข้าอกเข้าใจในที่นี้คือ การเข้าไปคุยหรือสัมผัสกับ User ของเราจริงๆว่าเขามีปัญหาอะไร หรือวิธีการใช้ชีวิตของเราเป็นอย่างไร โดยไม่ตัดสินเขาก่อน
แล้วสิ่งที่เราจะได้คืออะไร?
สิ่งที่เราจะได้คือ เราจะทราบว่าสิ่งที่เราคิดจริงๆแล้วมันแก้ไข Pain Point เขาได้ตรงจุดหรือปล่าว
เพราะหากเราไม่ได้แก้ไขได้อย่างตรงจุดจริงๆ เมื่อเราสร้างสรรค์ชิ้นงานมาแล้ว สิ่งนั้นอาจจะเป็น want ไม่ใช่ need ก็เป็นได้!!
ใครกันนะที่เราควร Empathize?
User Empathize จะแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ
1. Extreme users > กลุ่มคนที่มีความต้องการเรื่องนั้นแบบสุดขั้ว
2. Mainstream users > กลุ่มคนทั่วไป
3. Expert users > กลุ่มคนที่เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น
1
โดยจริงๆแล้วเราควรจะคุยกับ Extreme & Expert users เพื่อที่จะทราบ Pain Point ได้ชัดเจน เมื่อเราทราบ Pain Point ที่ชัดเจนแล้วเราก็จะนำมา Apply ใช้กับกลุ่ม Mainstream users ได้เช่นกัน
DT 2: Define
Define
คือการกำหนดมุมมองของปัญหาที่ได้จากการ Empathy หรือที่เราเรียกว่า Point of View (POV)
แล้ว POV คืออะไรกัน?
POV แบ่งเป็น
1. Unpack > การนำข้อมูลที่ได้จากการออกไป Empathize ของทีมมาตกผลึกด้วยกัน โดยข้อมูลที่ได้จากการ Empathize จะประกอบด้วย
- User say?
- User think?
- User do?
- User feel?
2. Identify
2.1 User > User คือใคร
2.2 Need > User ต้องการอะไร แนะนำว่าให้บอกเป็นคำกริยาไม่ใช่คำนามนะคะ เพราะ V. อาจจะทำให้เราคิดต่อได้ว่า because of why? แล้วเราอาจจะได้ Solutions ที่เราต้องการก็เป็นได้
หรือ V.+ emotion = generative เราก็อาจจะทราบได้เลยว่าอะไรที่ user ได้แล้วเขาจะฟินเอามากๆ อิอิ
2.3 Insights > คือสิ่งที่เราไปเจอที่หน้างานกับ user จริงๆว่าเขาต้องการสิ่งนี้เพราะว่าอะไร
3. Reframe the problem > เป็นการตีกรอบของปัญหาใหม่
1
อย่างที่ว่าค่ะ เราจะไม่มีทางรู้จักuser เราได้แน่นอนถ้าเราไม่ลองลงไปสัมผัสเขาจริงๆ ซึ่งบางทีสถานการณ์จริงอาจจะไม่ได้เป็นอย่างที่เราคิด ทำให้เราพบมุมมองที่เราข้ามไป ซึ่งอาจจะได้มุมมองใหม่จากบริบทเดิม ก็เป็นได้!
DT 3: Ideate
Ideate
ขั้นตอนนี้สำคัญและสนุกมากๆค่ะ เป็นขั้นตอนขอการระดมความคิดกันในทีม เพื่อหาปริมาณ Idea ที่บางทีเราก็อาจจะเข็มขัดสั้น! (คาดไม่ถึง)
โดยขั้นตอนนี้ก็มีเครื่องมือของมันด้วยนะเอ้อ เกร๋ไกร๋ไปอีก
แล้วแต่ละเครื่องมือของ Ideate มีอะไรบ้างละ?
1. Yes ! And… Tool
ง่ายมากเลยค่ะ เมื่อไหร่ที่เราพูดว่า ไม่กับคนในทีม บางครั้งอาจจะทำให้ถูกปิดกั้น idea จนทำให้ไม่กล้า share idea ออกมา
แต่เชื่อเถอะ บางอย่างที่พูดออกมาอาจจะเป็นไปไม่ได้ แต่มันอาจจะเป็นidea ที่ดีในการต่อยอดก็เป็นได้!!!
โดยเครื่องมือนี้ให้ทุกคนที่เสนอ Idea พูดคำว่า
Yes… แล้วตามต่อด้วย Idea ที่ต่อยอดจาก Idea เดิม
ซึ่งการใช้เครื่องมือนี้ เป็นนิมิตหมายที่ดีในการสร้างทัศนคติในการ Brain Strom ที่ดีค่ะ
2. Constraint Tool
เป็นการคิดนอกกรอบแบบมีTheme เอ๊ะ งง ฟังเหมือนนอกกรอบ แต่ก็มีกำหนดหัวข้อ มันนอกกรอบยังไงกันนะ!!!
ง่ายๆเลยค่ะ การคิดไอเดียฟุ้งๆแบบไม่มีTheme บางครั้งมันจะถึงบางตัน คิดอะไรไม่ออก แต่เชื่อเถอะ ถ้าเรากำหนด Theme มาแล้ว เราก็อาจจะได้ Idea ที่ว้าวและสนุกพอๆกันเลยค่ะ
ตัวอย่าง Theme ที่ว่าได้แก่
- ถ้ามีเงินเยอะไม่จำกัด เราจะทำอะไร
- ถ้าสิ่งที่เราคิดมีปัญหากับหัวหน้างานหรือว่าผิดกฏหมาย สิ่งนั้นคืออะไร
- Idea อะไรที่มีจินตนาการและแฟนตาซี
3. Analogy Tool
เป็นการอุปมาอุปมัยว่า ใคร หรือสถานที่ใด ที่จะทำให้user เรามีอารมณ์หรือความรู้สึกและสามารถทำในสิ่งที่เขาต้องการได้
4. Selection Tool
เมื่อเราได้ไอเดียจำนวนมากจาก 3 Tools ข้างต้นแล้ว เราจะมาถึงขั้นตอนสุดท้ายคือการเลือกเพื่อนำไปสร้างเป็น Prototype ต่อ
โดยการประเมิณจะแบ่งเป็น
4.1 Idea ไหนคือสิ่งที่ทำได้ทันที ทำได้ไวสุด
4.2 Idea ไหนที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน หรือถ้าทำจะเกิดการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดด
4.3 Idea ไหนที่ทำแล้วมีผลต่ออารมณ์user มากที่สุด
เมื่อเราเลือกได้แล้ว ไปต่อไม่รอแล้วนะ ไปทำ Prototype กันเลยค่ะ !!!
DT 4: Prototype & Test
Prototype & Test
การทำ Prototype มีหลักการเดียวเลยค่ะ ก็คือ
Do First
Talk Second
คืออาหยังหว่า งงเด้ งงเด้
การทำ Prototype ที่ดีคือการลงมือทำทันทีไม่ต้องคิดเยอะ และไม่ต้องทำออกมาให้สวยงาม เพื่อที่เราจะได้นำออกไปทดสอบกันuser และรับFeedback กลับมาได้ทันที
โดยทริคง่ายๆ ให้หาสิ่งของรอบตัว ลงมือทำทันที และนำไปทดสอบกับลูกค้า ถ้าบางอย่างที่ทำแล้วไม่เป็นอย่างที่เราคิด
ไม่ใช่ก็อย่าฝืนเด้อ!!!
1
ส่วนการนำไปทดสอบ เมื่อเราออกไปทดสอบกับuser แล้วจะมีทั้งคนนำเสนอและคนสังเกตการณ์ โดย
1. คนนำเสนอ
ไม่ควรบรรยายสรรพคุณเยอะ บอกแค่เล็กน้อยว่าสิ่งนี้คืออะไร แล้วให้user ลองใช้งานเลย ถ้าuser งงก็แสดงว่า Prototype เราทำออกมาไม่ดี เก็บFeedback แล้วไปทำใหม่ยังไม่สาย และที่สำคัญถามว่าเขาคิดอย่างไรหรือรู้สึกยังไงก็พอ อย่าไปตำหนิหรือตัดสินเขาด้วยเด้อ
2. คนสังเกตการณ์
สามารถใช้ Feedback Grid ในการ Reflection ได้ว่า
- อะไรคือสิ่งที่user ชอบ
- อะไรคือสิ่งที่user อยากเปลี่ยน
- อะไรคือไอเดียของเราทีโผล่มาตอนนั้น
- คำถามที่เกิดจากเราและuser
จริงๆวิธีการคิดแบบDesign Thinking คือการทำซ้ำ (Iterate) ซึ่งPrototype ที่ดีไม่จำเป็นต้องเป็น Prototype แรกเสมอไป ไม่มีอะไรผิดถูกค่ะ ขอแค่ลองทำ รับFeedback กลับมาแก้ไข และนำไปทดสอบใหม่
1
นี้แหละที่มาของการทำซ้ำ (ซ้ำอกซ้ำใจ TT )
1
DT 5: Business Case
Business Case
จริงๆ Design Thinking จบที่ขั้นตอน Prototype & Test นะคะ แต่เรื่องนี้ก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะว่าเมื่อเรามีรูปร่างหน้าตาของสินค้าแล้ว
Business Cases นี้แหละที่จะช่วยในการนำเสนอภาพของมุมมองธุรกิจให้กับผู้ที่ร่วมลงทุน หรือผู้ที่สนใจ
เรียกง่ายๆว่า ทำเพื่อขอตังค์ในการพัฒนาต่อเด้อ
Building Business Cases จะประกอบด้วย Market Fit (PMF)
1. Product
1.1 Why > ทำไมลูกค้าต้องใช้ของเรา
- Burning Need:
เพราะไม่มีไม่ได้ ต้องใช้ตอนนั้น!!! เป็นสิ่งที่ตอบPain ลูกค้าจริงๆ
- Risk Management and Reduction:
เพราะสิ่งที่เราทำจะช่วยจัดการความเสี่ยงของลูกค้า เป็นสิ่งที่ลูกค้าทำแล้วสบายใจ เช่น ทำประกันเด้อ
- Growth
ถ้าเขาซื้อ เงินในกระเป๋าของเขาจะโตขึ้นเรื่อยๆ เช่น การลงทุน
- Social and Emotional Desires
ต้องซื้อเพราะเป็นภาพลักษณ์ของสังคม ส่วนมากจะทำให้เกิดความอารมณ์ หรือรู้สึกบางอย่างกับลูกค้าที่ใช้สินค้านั้น เช่น ของแบรนด์เนม
1.2 What > Solution อะไรที่ดึงดูดลูกค้า
- เราต้องตอบได้ว่า We help X do Y doing Z
หรือเรียกง่ายๆว่าเราช่วยลูกค้าเรายังไงให้ทำสิ่งนั้นให้ประสบความสำเร็จได้ เช่น Grab Taxi เราช่วยผู้โดยสารบริหารเวลาในการเดินทางไปยังจุดหมายด้วย Grab App
- MVP (Minimum Viable Product) ของเราคืออะไร > อะไรคือ Feature หลักที่ทำให้ลูกค้าของเราต้องว้าว!!!
2. Market
- MVS (Minimum Viable Segment) > ที่ไหนคือตลาดกลุ่มเล็กของเราที่เราจะสามารถครองตลาดนั้นได้ (อาจจะเป็นกลุ่มคนที่เรามองระยะ 8 เดือน,12 เดือน)
3. Fit = Potential Products + Team Passion + Market Needs
3.1 Potential Products: ไอเดียธุรกิจ
3.2 Team Passion: คนในทีมอินกับสินค้าที่ทำ
3.3 Market Needs: ตลาดต้องการอะไร
DT 6: Storytelling for Pitching
Storytelling for Pitching
การสร้างStory ของแบรนด์หรือของสินค้าเรา บางทีอาจจะเป็นเรื่องที่เรามองข้าม แต่จริงๆแล้วแบรนด์จะแข็งแกร่งได้ถ้ามี Story นะ
แล้วทำไมการเล่าเรื่องถึงสำคัญ?
เพราะการเล่าเรื่องนอกจากลูกค้าจะอินไปกับเราแล้ว ยังสามารถทำให้คนในทีมเชื่อมโยงถึงกัน และรู้ว่าเรากำลังทำอะไรและทำเพื่ออะไรอีกด้วย
การเล่าเรื่องที่ดีควรมีอะไรบ้างละ?
ก่อนอื่นเราต้องรู้จักก่อนว่า เราจะเล่าเรื่องนี้ให้ใครฟัง และเราเพื่อต้องการอะไร โดยการเล่าเรื่องจะประกอบไปด้วย
1. ตัวละคร (Character action)/ User:
เพื่อบอกว่าคนนั้นคือใคร เขาต้องการอะไร
2. ความขัดแย้ง (Conflict):
เป็นการเล่าว่าPain Point เขาคืออะไร
ทำไมน้าาา เขาถึงไม่ได้สิ่งนั้นสักที (เหมือนคนที่ไม่ใช่ให้ตายยังไงก็ไม่ใช่ TOT)
ไปต่อเถอะค่ะ
3. จุดเปลี่ยน (Climax):
Solutions อะไรที่เขาได้และทำให้เขาชีวิตเปลี่ยน!! ตู้วหูววววววว
4. ผลลัพธ์ (Resolution: Reaction):
หลังจากจุดเปลี่ยนแล้ว ชีวิตเขาเปลี่ยนไปอย่างไร
ขอแอบสปอยนิดค่ะ ว่าจุดที่ทำให้เรื่องราวเราเร้าใจ มันคือ ความขัดแย้ง
ฉะนั้น ขยี้ค่ะ !!
เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับ Design Thinking the Series ที่เมย์ได้มาแชร์ในวันนี้
หากมีข้อเสนอติชม หรืออยากแชร์อะไรเพิ่มเติมในมุมมองอื่นๆ สามารถพิมพ์มาได้เต็มที่นะคะ
นี้อาจจะเป็นครั้งแรกที่ทำ แต่แน่นอน เมย์จะไม่หยุดแชร์จนกว่านิ้วจะล็อคค่ะ! 5555
ขอบคุณทุกๆคนที่อ่านมาถึงบรรทัดนี้ ซาบซึ้งน้ำตาจะไหลเป็นเอามากๆ
และในส่วนของวันนี้นั้น แยกย้ายสวัสดีค่ะ
โฆษณา