17 มี.ค. 2022 เวลา 04:40 • หนังสือ
เจอหนังสือแปลออกใหม่มา เนื้อหาดีมาก
ประโยคจี้ใจดำเยอะ เช่น
.
"ประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำสูง ก็จะให้ค่ากับสถานะ ที่สูงมากกว่า "
เช่น ประเทศอะไรแถวนี้นะ5555
.
bookscape: เมื่อบันไดหัก:
มองสังคมเหลื่อมล้ำผ่านแว่นจิตวิทยา
The Broken Ladder
.
นี่คือหนังสือที่ว่าด้วยความเหลื่อมล้ำ
แบบมีข้อมูลสนับสนุน ประกอบด้วยหลักวิทย์ และ จิตวิทยาที่กระชับ
.
เล่มนี้ทำให้เข้าใจว่าธรรมชาติของวิธีคิด ทัศนคติ ของคนมีทรัพยากร และ ไม่มีมันต่างกันเพียงไหน หลายๆคำถามและเรื่องราวในเล่มก็น่าสนใจ เช่น
.
ทำไมผู้โดยสารที่นั่งเครื่องบิน first class ถึงขี้โวยวาย ขี้วีนมากกว่าชั้นอื่นๆ ที่ราคาถูกกว่า ทำไมอัตราการโวยวายของผู้โดยสาร first class ถึงสูงขึ้น เมื่อเขาขึ้นเครื่องบินลำเดียวกับ business class
(เรื่องนี้แสดงให้เห็นถึงธรรมชาติของมนุษย์ ที่ไม่ชอบอยู่กับคนต่างสถานะได้ชัดมากๆ)
.
ทำไมความไม่มั่นคงทางการเงินทำให้เราตัดสินใจทำพฤติกรรม บั่นทอนตนเองซึ่งยิ่งกระตุ้นความไม่มั่นคงเข้าไปอีก
.
เราทุกคนรู้ว่าตนเองมีรายได้เท่าไหร่ แต่มีไม่กี่คนที่รู้ว่าเรามีรายได้มากพอหรือไม่
.
วิธีเดียวที่เราใช้พิจารณาตนเองว่ามีรายได้"มากพอ"ไหม คือการเปรียบเทียบตนเองกับคนอื่น ซึ่งจริงสุดๆ
.
ธรรมชาติของมนุษย์ = ฉันโหยหาสถานะทางสังคม
และ มาตรฐานความ"พอ"ของคนนั้นเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
แน่นอนยิ่งประสบความสำเร็จสูงขึ้น มาตรฐานที่ใช้เปรียบเทียบก็ยิ่งสูง
.
คนเราส่วนมากเชื่อว่าตน ฉลาด อดทน มุ่งมั่น และตั้งใจกว่า คนอื่น
.
ทุกวันนี้คนจน 90% มีโทรศัพท์และ ไมโครเวฟ ใช้ แต่ก็รู้สึกจนอยู่ดี
.
โอกาสพิสูจน์ตนสเองว่าเก่งกว่าคนอื่น เป็นเรื่องยั่วยวนเกินห้ามใจ
.
แตงกวาเคยเป็นสิ่งที่ยอมรับได้สำหรับลิงที่หิวตัวหนึ่ง แต่แตงกวานั้นกลับไม่มีค่าเลยเมื่อลิงตัวข้างๆ ได้องุ่น
.
ขอทานไม่ได้อิจฉาเศรษฐี พวกเขาแค่อิจฉาขอทานคนอื่นที่ประสบความสำเร็จมากกว่า
.
จากการวิจัยในสหรัฐพบว่า เด็กสาวที่เติบโตขึ้นมาในครอบครัวที่ลำบากจะเป็นสาวเร็วกว่า ครอบครัวที่มั่นคง เพราะยิ่งอันตราย สัญชาติญาณจะบอกให้มีลูกเร็วเพื่อรีบส่งต่อยีน
.
เมื่อคนเรายากจนก็จะมองแค่สิ่งที่ออยู่ตรงหน้า และ คว้าอะไรก็ตามที่ได้มาทันทีโดยไม่สนใจอนาคต แต่เมื่ออคนเรารู้สึกร่ำรวยก็จะมองการณ์ไกล
.
คนจนอยากได้การกระจายรายได้ที่เท่าเทียม แต่คนรวยต้องการรายได้ตามความสามารถ คนรวยไม่สนสวัสดิการรัฐ คนรวยจึงไม่อยอากจ่ายภาษีเยอะ
.
ยิ่งประเทศร่ำรวยขึ้น ความสำคัญของศาสนาก็ลดลง
.
คนยิ่งเป็นทุกข์ยิ่งเข้าถึงศาสนา แต่ถ้าคนรู้สึกมั่นคงทางวัตถุ เขาก็จะเข้าถึงศาสนาน้อยลง และคนรวยกับคนจนก็เคร่งศาสนาต่างกันคนละแบบ
.
อ่านแล้วจะมองเห็นสังคมในภาพกว้างมากขึ้นแน่นอน และถ้าคุรรวยคุณอาจจะเข้าใจคนจนขึ้นมาหน่อย
ถ้าคุณจน คุณอาจจะมองเห็นด้านความคิดของคนรวยขึ้นมาบ้าง
โฆษณา