17 มี.ค. 2022 เวลา 11:10 • ความคิดเห็น
ถ้ามีวงกลมวงหนึ่ง วัดความยาวของเส้นรอบวงและเส้นผ่านศูนย์กลาง จากนั้นหาอัตราส่วนของเส้นรอบวงต่อเส้นผ่านศูนย์กลาง จะพบว่าไม่ว่าวงกลมเล็กหรือใหญ่จะได้ค่าอัตราส่วนนี้ค่าเดียวกันเสมอ นั่นคือค่า π (พาย)”
หรือถ้าพูดให้ง่ายขึ้นก็คือ ไม่ว่าวงกลมจะเล็กแค่ไหน หรือจะใหญ่เท่ากับโลกรวมกับดาว M78 ถ้าเอาความยาวเส้นรอบวงมาหารด้วยเส้นผ่านศูนย์กลางแล้ว จะได้เท่ากันเสมอ และนั่นคือค่า π (พาย)
“World Pi day”
ตรงกับวันที่ 14 มีนาคมของทุกปี เหตุผลง่ายๆ เพราะว่าวันนี้เขียนได้เป็น 3-14 หรือ 3.14 คือ สามตำแหน่งแรกของค่าพายนั่นเอง แล้วค่าพาย มันเท่าไหร่กันนะ
แสตมป์ พาย ของอิตาลี
ค่าพาย ทศนิยม 1,000 ตำแหน่งแรก 👇👇
3.1415926535897932384626433832795028841971693993751058209749445923078164062862089986280348253421706798214808651328230664709384460955058223172535940812848117450284102701938521105559644622948954930381964428810975665933446128475648233786783165271201909145648566923460348610454326648213393607260249141273724587006606315588174881520920962829254091715364367892590360011330530548820466521384146951941511609433057270… (มีต่อ👇)
36575959195309218611738193261179310511854807446237996274956735188575272489122793818301194912983367336244065664308602139494639522473719070217986094370277053921717629317675238467481846766940513200056812714526356082778577134275778960917363717872146844090122495343014654958537105079227968925892354201995611212902196086403441815981362977477130996051870721134999999837297804995105973173281609631859502445945534690830264252230825334468503526193118817101000313783875288658753320838142061717766914730359825349042875546873115956286388235378759375195778185778053217122680661300192787661119590921642019893
ความรู้ คือ ทรัพย์
ใครๆ ก็กล่าว
นี่ถ้ารู้ก่อน ผมจะมานั่งแกะเลข เศรษฐีใหม่งวดที่ผ่านมา คงเป็นผม😅😅😅
👇👇👇
มาสาระกันดีกว่าครับ
หากพูดถึงคณิตศาสตร์ และสัญลักษณ์แปลกๆ เห็นจะไม่พ้นกรีก โรมัน บาบิโลน อย่างค่า π นี้เริ่มต้นเมื่อไรไม่รู้แต่ถ้านับเอาที่พบหลักฐานต้องย้อนไปเกือบสี่พันปีที่แล้ว ก็จะราวๆ ยุคของชาวบาบิโลนและชาวอียิปต์โบราณ ชาวบาบิโลนประมาณค่า π ไว้ที่ 25/8 (3.125) ชาวอียิปต์โบราณประมาณค่า π ไว้ที่ 256/81 (ประมาณ 3.16)
ปัจจุบันเราใช้ค่าประมาณของ π ไว้ที่ 22/7 หรือถ้าใช้เป็นทศนิยมก็ 3.14 แต่อย่างไรก็ตาม π เป็น “จำนวนอตรรกยะ” หมายความว่าไม่สามารถเขียนในรูปเศษส่วนได้ ดังนั้นที่เราเรียนในโรงเรียนเป็นเพียงค่าประมาณเท่านั้นเอง
หลายคนคงทราบดีว่า ค่าพายมีทศนิยมอยู่อย่างไม่สิ้นสุด สมัยก่อนมีความพยายามคำนวณค่าพายมาตลอดตั้งแต่สมัยโบราณ อย่างในสมัยอียิปต์โบราณ คำนวณค่าพายได้เพียงทศนิยม 3 ตำแหน่ง
จูจงฉือ (Zu Chongzhi) ชาวจีนคำนวณค่าพายได้ถูกต้อง 6 ตำแหน่ง จนถึงประมาณปีค.ศ. 1800 นักคณิตศาสตร์คำนวณค่าพายได้ถูกต้องถึง 527 ตำแหน่ง (โดยไม่ใช้เครื่องคำนวณใดๆ) จนภายหลังเกิดเครื่องคำนวณหรือคอมพิวเตอร์มาช่วยคำนวณ ทำให้การคำนวณค่าพายได้รวดเร็วมากขึ้น
1
ตอนนี้เราคำนวณค่าพายได้นับล้านล้านตำแหน่ง😱 (และยังคงคำนวณต่อไป
และการที่ค่าพายมีทศนิยมไม่สิ้นสุดนี้ ทำให้มีภาพยนตร์นำค่าพายไปใส่ เรื่อง Startrek ที่ตัวร้ายเป็นคอมพิวเตอร์ที่พยายามยึดครองโลก ทำให้พระเอกสั่งให้คอมพิวเตอร์คำนวณค่าพายจนถึงทศนิยมตำแหน่งสุดท้าย (ซึ่งเป็นไปไม่ได้) ทำให้คอมพิวเตอร์ตัวร้ายทำงานหนักจนพังไปเอง (โอโห)
✨⏳⌛️✨
ในปี 1981 ชายชาวอินเดียท่องค่าพายได้ถึง 31,811 ตำแหน่ง หลังจากนั้นในปี 1989 ชาวญี่ปุ่นจำได้ถึง 40,000 ตำแหน่ง หลังจากนั้นก็มี Lu Chao จากประเทศจีน ท่องได้ถึง 67,890 ตำแหน่งในปี 2005 โดยใช้เวลาพูดออกมาทั้งหมด 24 ชั่วโมง 4 วินาที
Lu Chao ครองแชมป์จำค่าพายอยู่ 10 ปี จน Sharma, Suresh Kumar ชาวอินเดีย ทำสถิติท่องค่าพายได้มากกว่าถึง 70,030 ตำแหน่ง นับเป็นคนที่จำค่าพายมากที่สุดในขณะนี้
มานั่งจำค่าพาย จำไปทำไม ใครรู้ ขอแสงสว่างให้ผมที
พาย
โฆษณา