20 มี.ค. 2022 เวลา 14:14 • การศึกษา
สวัสดีค่ะ แอดมินกลับมาแล้ว 😅 หลังจากไม่ได้โพสมาระยะหนึ่ง ติดเรียนพิเศษ งานราษฎร์และงานหลวง คิดถึงผู้อ่านเสมอนะคะ จริงๆ ทำสไลด์ไว้เรียบร้อยแล้วค่า แต่ยังไม่ได้ลง 🤓โชคดีที่ได้ฟัง geriatric rheumatology ในงานประชุมวิชาการประจำปีของสมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย อ.ได้รีวิวเรื่องโรครูมาตอยด์ในผู้สูงอายุไว้เช่นกันค่ะ แอดเลยมีโอกาสนำความรู้มาถ่ายทอดให้อ่านกันนะคะ บวกเพิ่มจากที่ทำไว้ก่อนหน้าค่ะ 😍
โรครูมาตอยด์ในผู้สูงอายุ ต่างจาก โรครูมาตอยด์ทั่วไป อย่างไร
📌อันดับแรก ระบบภูมิคุ้มกันของผู้สูงอายุมีความถดถอย
การแบ่งตัวของเซลล์ลดลง การสร้างแอนตี้บอดี้ลดลง มีการหลั่งสารก่อการอักเสบเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ IL-6 จึงทำให้อาการ และอาการแสดงของผู้สูงอายุ ต่างไป และยากต่อการวินิจฉัยโรค
📌 สิ่งที่จะพบคือ
1. ผู้สูงอายุจะมีอาการทางกายร่วมด้วย เช่น ไข้ ปวดเมื่อยตัว เพลีย อาจมีอาการปวดบริเวณบ่าไหล่ และสะโพก (PMR-like symptoms)
2. อาการจะเป็นเร็ว รุนแรง และมีอาการปวดข้อใหญ่ เช่น ข้อไหล่ ข้อเข่า มากกว่าจะเป็นที่ข้อมือ ข้อนิ้ว ที่พบในโรครูมาตอยด์ทั่วไป
3. ผลตรวจเลือด จะพบความอักเสบชัดเจน เช่นค่า ESR ที่สูง มีภาวะเลือดจางร่วมด้วย ในขณะที่ผลตรวจภูมิ (rheumatoid factor) ไม่ค่อยขึ้น
📚มีการแบ่งโรครูมาตอยด์ในผู้สูงอายุ เป็น สาม ลักษณะ
📌Classical rheumatoid arthritis พบ 70% ลักษณะไม่ต่างกับโรครูมาตอยด์ทั่วไป
📌PMR-like form พบ 25% ผลเลือดรูมาตอยด์ไม่ขึ้น อาการเป็นเร็ว ฟิล์มข้อไม่ค่อยโดนทำลาย พยากรณ์โรคดี
📌RS3PE-like form มีอาการเป็นเร็ว ปลอกหุ้มเอ็นที่ข้อมืออักเสบ มีบวมกดบุ๋มที่มือ หายได้เองในเวลา 3-18 เดือน
😭😭อย่างไรก็ตาม อาการปวดข้อที่เป็นเร็ว และรุนแรง ในผู้สูงอายุ จำเป็นต้องแยกโรคอื่นเสมอ โดยเฉพาะ โรคกลุ่มมะเร็งที่มีอาการแสดงออกที่ข้อ
🥰การรักษาในผู้ป่วยกลุ่มนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อป้องกันข้อถูกทำลาย จนเสียสภาพ เพิ่มคุณภาพชีวิต สามารถใช้งานข้อได้ใกล้เคียงปกติ
😫แต่การรักษาต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆเสมอ เช่นโรคประจำตัว โรคตับ โรคไต โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคปอด
เพราะ มีผลต่อการเลือกใช้ยาในผู้ป่วยสูงอายุ รวมถึงการเกิดปฏิกิริยาระหว่างยารักษาโรครูมาตอยด์กับยาโรคประจำตัวเดิมด้วย (drug-drug interaction)
🥰นอกจากนี้ต้องมีการติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่องโดยแพทย์เฉพาะทาง เพื่อประเมินผลการรักษา และลดผลข้างเคียงจากการใช้ยาค่ะ
หากสงสัย อาการปวดข้อในผู้สูงอายุ แนะนำพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อให้การวินิจฉัยที่ถูกต้อง และรวดเร็วนะคะ 🥰
ครั้งหน้าพบกันใหม่นะคะ กับสาระน่ารู้ ของโรคข้อและรูมาติสซั่มที่พบบ่อยในเวชปฏิบัติค่ะ ❤️
โฆษณา