21 มี.ค. 2022 เวลา 12:20 • ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์ “การตรึงกางเขน (Crucifixion)”
เมื่อพูดถึงการลงโทษในสมัยโบราณด้วย “การตรึงกางเขน (Crucifixion)” หลายคนน่าจะนึกถึง “พระเยซู (Jesus)”
แต่อันที่จริง การลงโทษด้วยการตรึงกางเขนนั้นมีที่มาที่ไปที่ยาวนาน และไม่ใช่เพียงแค่พระเยซูผู้เดียวที่ถูกประหารด้วยวิธีนี้
1
การลงโทษด้วยการตรึงกางเขน เป็นวิธีการลงโทษที่แพร่หลายในยุคโบราณ เนื่องจากเป็นวิธีการลงโทษที่ง่าย โหดร้าย และสร้างความหวาดกลัวให้ผู้คนได้เป็นอย่างดี
วิธีการประหารวิธีนี้แพร่หลายในหมู่ชาวเปอร์เซีย ชาวโรมัน ชาวคาร์เธจ และชาวมาซีโดเนีย โดยการตรึงกางเขน ได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อราว 600 ปีก่อนคริสตกาล และดำเนินเรื่อยมาจนถึงศตวรรษที่ 4
พระเยซู (Jesus)
การตรึงกางเขนนั้นเกิดขึ้นมายาวนาน หากแต่ผู้ที่ถูกตรึงกางเขนที่มีชื่อเสียงที่สุด ก็เห็นจะไม่พ้น “พระเยซู (Jesus)” ซึ่งคนทั้งโลกรู้จัก
1
แต่การประหารด้วยวิธีนี้ก็ได้ถูกสั่งห้ามในสมัยของ “จักรพรรดิคอนสแตนตินมหาราช (Constantine the Great)” ซึ่งได้สั่งห้ามไม่ให้มีการตรึงกางเขนในดินแดนของพระองค์ ทำให้การตรึงกางเขนเริ่มเสื่อมความนิยม
จักรพรรดิคอนสแตนตินมหาราชเป็นจักรพรรดิโรมันพระองค์แรกที่เป็นชาวคริสต์ พระองค์จึงมีรับสั่งห้ามไม่ให้มีการตรึงกางเขน เนื่องจากต้องการจะแสดงความเคารพต่อพระเยซู
1
จักรพรรดิคอนสแตนตินมหาราช (Constantine the Great)
แต่ถึงการตรึงกางเขนจะเริ่มเสื่อมลง แต่ถึงอย่างนั้น ก็ยังไม่ได้หายไปซะทีเดียว
ชาวคริสต์ยังคงถูกตรึงกางเขนอยู่เรื่อยมา โดยสาเหตุหลักก็มาจากเรื่องราวความเชื่อทางศาสนา
หนึ่งในเหตุการณ์การตรึงกางเขนหมู่ ได้เกิดขึ้นในสมัยของ “พระเจ้าดาเรียสที่ 1 (Darius I)” กษัตริย์เปอร์เซียแห่งจักรวรรดิอเคเมนิด
พระเจ้าดาเรียสที่ 1 (Darius I)
ในช่วงต้นรัชสมัยของพระองค์ ได้มีชายผู้หนึ่ง มีนามว่า “อราคา (Arakha)” ได้ตั้งตัวเป็นกษัตริย์ มีพระนามว่า “พระเจ้าเนบูคัดเนสซาร์ที่ 4 (Nebuchadnezzar IV)” และได้เข้ายึดครองเมืองบาบิโลน
เมื่อทรงทราบ พระเจ้าดาเรียสที่ 1 จึงทรงส่งแม่ทัพที่พระองค์ทรงไว้วางพระทัย นั่นคือ “อินทัฟเรเนส (Intaphrenes)” ให้ไปยึดเมืองกลับคืนมา ซึ่งก็สามารถทำได้อย่างไม่ยากลำบากนัก
ภายหลังจากยึดเมืองกลับคืน อราคาและเหล่าผู้ติดตาม ก็ถูกตัดสินให้ประหารด้วยการตรึงกางเขน
อราคา (Arakha)
มีบันทึกว่ามีผู้ถูกตรึงกางเขนในวันนั้นมากถึง 3,000 คน
ทางด้านชาวคาร์เธจ ก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่นิยมการตรึงกางเขน และใช้วิธีการลงโทษนี้ต่อคนทุกระดับชั้น และทำให้การตรึงกางเขนนี้ถูกส่งต่อไปยังชาวโรมัน
มีบันทึกว่าชาวคาร์เธจมักจะตรึงกางเขนแม่ทัพและผู้นำของฝ่ายตน หากว่าแม่ทัพหรือผู้นำพ่ายแพ้ในสงคราม
การตรึงกางเขน เป็นการลงโทษสำหรับผู้ที่ทำผิดเฉพาะหรือที่ไม่เข้ากับสังคม ผู้ที่ถูกมองว่าเป็นภัยต่อความสงบสุข
ผู้ที่ถูกมองว่าเป็นภัยร้าย ก็เช่น ทาส โจรสลัด ผู้ที่สร้างความวุ่นวายทางการเมือง กบฏ หรือพวกนอกรีต ซึ่งคนกลุ่มนี้คือคนที่รัฐมองว่าจำเป็นต้องลงโทษเพื่อไม่ให้ใครเอาเป็นเยี่ยงอย่าง
หนึ่งในกลุ่มผู้ที่ถูกตรึงกางเขนก็คือ “ชาวยิว” โดยโรมันได้มีการสั่งให้ตรึงกางเขนชาวยิวทั้งหมด
หากแต่การนำวิธีการลงโทษนี้มาใช้กับประชาชนชาวโรมัน กลับถูกมองว่าเป็นการกระทำที่ผิด โดยการลงโทษนี้จะใช้เฉพาะกับผู้ที่สละสิทธิในการเป็นพลเมือง และก็ไม่ถูกนับเป็นส่วนหนึ่งของสังคม
ดังนั้น ถึงแม้ว่าการตรึงกางเขนจะเป็นวิธีการลงโทษที่แพร่หลาย หากแต่ก็ถูกมองว่าโหดร้าย ป่าเถื่อน แต่ได้ผลดีมาก
หลายคนได้เคยเห็นภาพพระเยซูถูกตรึงบนกางเขน หากแต่อันที่จริง การตรึงกางเขนก็ไม่ได้มีเพื่อลงโทษบุคคลเพียงคนเดียวหรือไม่กี่คน หากแต่เป็นวิธีในการประหารหมู่อีกชนิดหนึ่ง
หนึ่งในการประหารหมู่ด้วยการตรึงกางเขนที่โด่งดังที่สุด เกิดขึ้นเมื่อ 71 ปีก่อนคริสตกาล โดยจุดเริ่มต้นมาจากการก่อกบฏของเหล่าทาส
1
ในช่วงพีค กลุ่มกบฏสามารถรวบรวมกำลังได้กว่า 100,000 นาย หากแต่ก็ถูกปราบปรามลงได้ในที่สุด
และเพื่อที่จะป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก จึงได้มีการตรึงกางเขนกลุ่มกบฏจำนวน 6,000 นาย และปักกางเขนไว้ตลอดถนนแอปเปียน
2
ศพของกลุ่มกบฏถูกห้อยอยู่กับกางเขนตลอดระยะทางนับกิโล และศพต่างก็เน่าติดกับกางเขน แมลงวันบินตอม เป็นภาพที่น่าสยองและหดหู่ ซึ่งนี่คือสัญญาณเตือน หากใครคิดกบฏ จะต้องพบกับจุดจบเช่นนี้
ผู้คนที่ใช้ถนนแอปเปียนเป็นทางสัญจร ต่างก็พบเห็นศพตลอดระยะทางยาวไกล ทำให้ผู้คนต่างหวาดกลัว
2
ในทุกวันนี้ การตรึงกางเขนไม่ใช่สิ่งที่แพร่หลายดังเช่นในอดีต
และถึงแม้ว่าภาพของการตรึงกางเขนนั้น คนส่วนใหญ่จะนึกถึงพระเยซู หากแต่อันที่จริง การตรึงกางเขนก็เป็นวิธีการลงโทษที่มีมานานก่อนสมัยพระเยซู
1
และการลงโทษด้วยการตรึงกางเขน ก็เป็นประวัติศาสตร์ที่โหดร้ายและเป็นที่หวาดกลัวมาเป็นเวลานับพันปีจนถึงทุกวันนี้
โฆษณา