22 มี.ค. 2022 เวลา 13:30 • ธุรกิจ
จากเจ้าของฉายา “นักรบมือปราบไวรัส” สู่ผู้ก่อตั้ง SECURE ผู้นำด้าน Cybersecurity ในไทย
ในวันที่ทุกอย่างรอบตัวเรา สามารถถูกแปลงให้เป็นดิจิทัล ทุกองค์กรต่างเร่งทำ Digital Transformation นำดิจิทัลเข้ามาปรับใช้กับทุกภาคส่วน
บวกกับเรากำลังอยู่ในยุคที่ “ข้อมูล” มีค่าดั่งน้ำมัน เพราะเป็นเชื้อเพลิงในการขับเคลื่อนองค์กร และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
เมื่อข้อมูลกลายเป็นสิ่งที่มีค่ามหาศาล ความปลอดภัยของข้อมูลในโลกไซเบอร์​ จึงยิ่งมีความสำคัญมากขึ้นตามไปด้วย
2
อย่างไรก็ตาม การเลือกผลิตภัณฑ์ เพื่อป้องกันข้อมูลอันมีค่า ไม่ใช่จะตัดสินใจ หรือ เลือกของใครก็ได้ แต่จำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญคอยแนะนำ เพื่อให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ที่ได้ มีคุณภาพ ปลอดภัย และตอบโจทย์การใช้งานของแต่ละองค์กรจริง ๆ
ซึ่งหนึ่งบริษัทที่คร่ำหวอด และได้รับความไว้วางใจในเรื่องนี้ในบ้านเรา ก็คือ “SECURE” หรือบริษัท เอ็นฟอร์ซ ซีเคียว จำกัด (มหาชน) บริษัทจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์
ที่น่าสนใจก็คือ SECURE เป็นบริษัทไทย บริษัทเดียวที่ดำเนินธุรกิจในด้านนี้และอยู่ในกลุ่ม value-added distributor ในขณะที่คู่แข่งต่างเป็นบริษัทจากต่างประเทศที่เข้ามาดำเนินการขายในประเทศไทย
SECURE ก่อตั้งโดยกลุ่มล้วนจำเริญ และกลุ่มเนียมนามธรรม
มีจุดเริ่มต้นมาจาก คุณนักรบ เนียมนามธรรม ซึ่งเป็นทั้งผู้ก่อตั้งและ CEO ของบริษัท
1
โดยนักข่าวได้ตั้งฉายาให้คุณนักรบว่า “นักรบมือปราบไวรัส” ในช่วงที่ยังทำงานเป็น Technical Consultant อยู่ใน Anti-Virus Lab ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ในบริษัทยักษ์ใหญ่ที่เป็นผู้นำทางด้านระบบรักษาความปลอดภัยข้อมูล (Cybersecurity) ระดับโลก
หลังจากคุณนักรบ ได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์การทำงาน จากทั้งในประเทศและต่างประเทศ จึงเห็นโอกาสในการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ด้านนี้ในประเทศไทย จึงก่อตั้ง SECURE ขึ้นมา
เพราะในปัจจุบัน เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการดำเนินธุรกิจมากขึ้น
โดยข้อมูลต่าง ๆ ทั้งของบริษัทและลูกค้า ต่างถูกส่งผ่านระบบเครือข่ายเป็นจำนวนมาก
ในขณะเดียวกัน การคุกคามทางไซเบอร์ ไม่ว่าจะเป็นการแฮกข้อมูล หรือมาในรูปแบบของไวรัส ก็เริ่มมีมากขึ้น ทำให้บริษัทต่าง ๆ ต้องหาวิธีป้องกันไม่ให้ข้อมูลรั่วไหล และเกิดความเสียหายร้ายแรง ต่อทั้งลูกค้าและองค์กรได้
ซึ่งหนึ่งในวิธีที่บริษัทต่าง ๆ จะสามารถป้องกันความปลอดภัยได้ ก็คือ ผลิตภัณฑ์ของ SECURE นั่นเอง
ปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์ที่ SECURE จัดจำหน่ายมีความหลากหลายและเป็นที่รู้จัก เช่น Palo Alto, Trend Micro, SolarWinds, Synopsys, Cloudflare, BigID, Gigamon, Radware, Terranova
ซึ่งครอบคลุมผลิตภัณฑ์ทางด้าน Cybersecurity แบบครบวงจร อันประกอบไปด้วย
  • ระบบรักษาความปลอดภัยบนเครือข่าย (Network security)
  • ระบบรักษาความปลอดภัยของอุปกรณ์ผู้ใช้งานโดยตรง (Endpoint security)
  • บริหารจัดการประสิทธิภาพ (Network performance & monitoring)
  • โปรแกรมอื่น ๆ (Other)
ที่สำคัญ SECURE ยังมีผลิตภัณฑ์ระดับเวิลด์คลาสและเป็นผู้นำในตลาด Cybersecurity ที่ขยายตัวในยุคปัจจุบันและอนาคต
นอกจากนี้ บริษัทยังมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนเอง อีกด้วย
เนื่องจากบริษัทเห็นความสำคัญของ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือ PDPA ซึ่งเป็นกฎหมายที่กำหนดหลักเกณฑ์ กลไกและการกำกับดูแลคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในความดูแลขององค์กรต่าง ๆ ที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มิถุนายน 2565
1
บวกกับโอกาสที่จะสร้างผลิตภัณฑ์ของตนเอง เพื่อต่อยอดกับผลิตภัณฑ์ที่บริษัทเป็นผู้จัดจำหน่าย
จึงได้ร่วมทุนกับบริษัท DataWow ซึ่งเป็นบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์ระดับประเทศ
จัดตั้งบริษัทชื่อ nDataThoth พัฒนาผลิตภัณฑ์ทางด้าน Cybersecurity เพื่อรองรับ PDPA ในส่วนของ Data Privacy Management อย่าง nForce UCP (Unified Consent Management Platform)
1
ที่มีจุดเด่น คือ ลูกค้าสามารถยื่นคําร้องตามสิทธิ์ที่ลูกค้าสามารถทําได้ โดยกรอกแบบฟอร์มออนไลน์ผ่านทางเว็บไซต์ หรือในรูปแบบต่าง ๆ
ส่วนผู้ที่ถือครองข้อมูลของลูกค้าอยู่ จะต้องปฏิบัติตามคําร้อง ภายใน 30 วัน หลังจากวันที่ยื่นคําร้อง
พูดง่าย ๆ ว่า nForce UCP จะเข้ามาช่วยตอบโจทย์และบริหารจัดการ ทั้งในส่วนของลูกค้า ในเรื่องการให้บริการ กรอกแบบฟอร์มคําร้องแบบสําเร็จรูปให้ผ่านทางเว็บไซต์
และทาง nForce UCP ยังให้บริการในการบริหารจัดการคําร้อง รวมถึงสามารถทํางานร่วมกับระบบ Data Discovery เช่น BigID เพื่อทําการค้นหาข้อมูลของลูกค้าที่ถูกจัดเก็บไว้ที่ไหนบ้าง ออกมาในรูปแบบของรายงาน (Report)
และทําการแจ้งเตือน (Alert) ไปยังผู้ดูแลระบบ ที่ได้มีการจัดเก็บข้อมูลของลูกค้าที่ส่งคําร้องมาได้
อีกทั้ง nForce UCP ยังมีฟีเชอร์ครบครันเทียบเท่ากับผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศ
เพื่อให้ตอบสนองกับความต้องการขององค์การต่าง ๆ โดยมีจุดเด่น คือมีการรองรับการใช้งานเป็นภาษาไทยและภาษาอื่น ๆ
และยังเป็นระบบเปิด (Open Platform) สามารถเชื่อมต่อกับผลิตภัณฑ์ระดับโลกได้อีกหลากหลายค่าย
อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์ทางด้าน Cybersecurity ส่วนใหญ่มีมูลค่าสูง และมีความ Sensitive
SECURE จึงได้มีการพัฒนาศูนย์ให้บริการด้านเทคนิค (Technical Support Center)
เพื่อให้บริการกับลูกค้าองค์กรต่าง ๆ ในการทำความเข้าใจกับความต้องการ และทดสอบกับผลิตภัณฑ์ก่อนการตัดสินใจเลือกใช้ เพื่อให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ที่ได้ ตรงกับที่ลูกค้าต้องการอย่างแท้จริง
มาถึงตรงจุดนี้ หลายคนน่าจะเห็นภาพรวมกันแล้วว่า SECURE ดำเนินธุรกิจอะไรบ้าง
ทีนี้ลองมาดูผลประกอบการของ SECURE ซึ่งเป็นบริษัทไทยบริษัทเดียวที่ดำเนินธุรดิจด้าน Cybersecurity กันบ้าง ว่าเป็นอย่างไร
จากผลประกอบการ 3 ปีย้อนหลัง
  • ปี 2562 มีรายได้รวม 644.8 ล้านบาท กำไร 59.5 ล้านบาท
  • ปี 2563 มีรายได้รวม 639.1 ล้านบาท กำไร 23.6 ล้านบาท
  • ปี 2564 มีรายได้รวม 826.3 ล้านบาท กำไร 61.1 ล้านบาท
โดยรายได้ แบ่งออกเป็น รายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ 97% และรายได้จากการให้บริการ 3%
จะเห็นได้ว่า SECURE มีการเติบโตที่ดี เนื่องจากบริษัทมีความเชี่ยวชาญในผลิตภัณฑ์ Cybersecurity และมีความโดดเด่น ด้านการให้บริการของพนักงาน ทำให้เป็นที่ไว้วางใจของลูกค้าอย่างต่อเนื่อง
และด้วยเมกะเทรนด์เทคโนโลยีต่าง ๆ ในปัจจุบัน ทั้ง AI, Big data, การตลาดออนไลน์, ระบบอัตโนมัติ ฯลฯ เรื่องของ Cybersecurity ก็ยิ่งทวีความสำคัญ
เป็นสิ่งที่ทุก ๆ องค์กรต้องใส่ใจ และลงทุนกันมากขึ้น
ประกอบกับ ถ้าพูดถึงบริษัทด้าน Cybersecurity ของคนไทยที่ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้า เป็นอันดับต้น ๆ อย่าง SECURE
ก็คงไม่แปลกใจ หาก SECURE จะมีแนวโน้มเติบโตต่อไปได้ สอดคล้องกับเทรนด์และโลกแห่งอนาคตที่กำลังหมุนไป..
โฆษณา