22 มี.ค. 2022 เวลา 23:10 • นิยาย เรื่องสั้น
ตอนที่ 13 จิตใต้สำนึก
อนิรุจหลังจากเลิกงานอันเหน็ดเหนื่อย เพื่อปลดเปลื้องความเบื่อหน่ายกับภาระน้าที่ที่แบกรับเต็มสองบ่า วันนี้อนิรุจเลือกที่จะเดินกลับบ้าน ซึ่งเป็นระยะทางที่มนุษย์สามารถที่จะเดินได้ ซึ่งขณะเดินกลับบ้านอยู่นั้นหางตาของอนิรุจได้ไปพบกับหนังสือจิตวิเคราะห์ ของบิดาแห่งศาสตร์แห่งจิต ซิกมันต์ ฟรอยด์ ซึ่งทำให้อนิรุจหวนนึกถึงสมัยที่เรียนมหาวิทยาลัยปี 1 ในวิชาจิตวิทยาซึ่งเป็นวิชาพื้นฐานที่นักศึกษาทุกคณะต้องมาเรียน ซึ่งอนิรุจได้มองดูหน้าปกที่เป็นรูปขาวดำของชายชาวยุโรปที่ทำหน้าครุ่นคิด สายตาบอกถึงคามเฉียบแหลม เหมือนเชิญชวนให้ค้นหาต่อในหนังสือ ซึ่งทำให้อนิรุจต้องควักเงินซึ่อหนังสือเล่นนี้ หลังจากที่ไม่เคยเสียเงินมานานมากกับหนังสือ อนิรุจได้เปิดอ่านโดยเนื้อหาส่วนแรกกล่าวถึงสิ่งที่เรียกว่าจิตสำนึกและจิตใต้สำนึก
1.อิด (Id) หมายความถึง ความปรารถนาเป็นต้นกำลัง และแหล่งรวมพลังงาน ที่มีพลังต่อบุคลิกภาพ Id ประกอบด้วยทุกสิ่งที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากพันธุกรรมดั้งเดิม แรงกระตุ้นที่มีมาตั้งแต่แรกเกิด จัดเป็นสัญชาติญาณขั้นพื้นฐานของมนุษย์ สิ่งเหล่านี้รวมถึงความต้องการของร่างกาย ความปรารถนาทางเพศ และแรงกระตุ้นความก้าวร้าว ตามทรรศนะของฟรอยด์
Id เป็นระดับจิตใต้สำนึกและทำงานตามหลักการแห่งความสุข (Principle of Pleasure) คือ มีความปรารถนาที่เกิดขึ้นในทันทีทันใดเพื่อให้เกิดความพึงพอใจทั้งหมด Id แสวงหาแนวทางเพื่อให้มนุษย์ได้รับความสุข หลีกเลี่ยงความเจ็บป่วยและความเครียดและทำให้เกิดความยินดี ตามที่ร่างกายของแต่ละบุคคลที่มีความต้องการในทันที ทันใด Id ประกอบด้วยความต้องการทางชีววิทยา และสัญชาติญาณ Id ไม่มีความสามารถที่จะคิดหรือศึกษา ไม่ใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจ
2.อีโก้ (Ego) เป็นระดับจิตสำนึกบางส่วน ทำหน้าที่ตามหลักการแห่งความจริง (Reality Principle) และเชื่อแน่ว่า มีวัตถุอย่างหนึ่งที่มีความเหมาะสมหรือเป็นสภาพการณ์ที่มีความเป็นไปได้ เพื่อทำให้เกิดความพอใจต่อความต้องการของ Id ถ้าบุคคลหนึ่งมีความหิว Ego จะช่วยทำให้แต่ละบุคคลรู้จักแสวงหาอาหารมาได้อย่างเหมาะสม เพื่อช่วยลดความเครียดที่เกิดขึ้น จากความหิวมาจาก Id ถ้าปราศจาก Ego อิดจะต้องแสวงหาอาหาร หรือวัตถุอื่นเพื่อตอบสนองความพอใจต่อความต้องการนั้น
Ego เป็นส่วนที่มีความสำคัญของบุคลิกภาพ ทำหน้าที่ตัดสินให้สัญชาติญาณเกิดความรู้สึกพอใจเมื่อใด และอย่างไร ไม่เหมือนกับ Id คือ Ego มีขีดความสามารถใช้สำหรับพิจารณาตัดสินใจและอาศัยหลักการและความมีเหตุผล และสามารถระลึกนึกถึงประสบการณ์ที่ผ่านมาแล้ว เป็นส่วนช่วยชี้นำพฤติกรรมให้ได้รับความสุขสูงสุด และขจัดความเจ็บปวดให้มีน้อยที่สุด โดยรู้จักเลือกแนวทางที่เหมาะสมที่สุดเพื่อทำให้เกิดความพอใจต่อความต้องการของ Id เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในระยะยาว ตัวอย่างเช่น Ego อาจจะไม่ยอมให้คนงานคนหนึ่งแสดงความก้าวร้าวต่อนายจ้างโดยตรง
3.ซูเปอร์อีโก (Super ego) เป็นระดับจิตที่อยู่ในจิตสำนึกเป็นบางส่วน มีหน้าที่ควบคุมการ แสวงหาความสุขของ Id จากแรงกระตุ้น Super ego ยอมให้ Id แสวงหาความสุขภายใต้เงื่อนไขที่แน่นอน Super ego เป็นเรื่องเกี่ยวกับศีลธรรม มโนธรรม สามารถจะบอกได้ว่า การกระทำใดถูกหรือผิดและจะยอมให้แรงกระตุ้นของ Id ได้รับการตอบสนองเป็นความสุข ก็เฉพาะการกระทำที่ถูกต้องทางด้านศีลธรรม มโนธรรม ไม่เหมือนกับ Ego ที่ยินยอมให้ Id กระทำได้ เมื่อเป็นสิ่งที่ ปลอดภัยหรือมีความเป็นไปได้ Super ego เป็นสิ่งที่เกิดจากการมีประสบการณ์ โดยได้รับการถ่ายทอด ฝึกอบรม มาจากพ่อแม่ จากการสอนทางด้านศีลธรรมของสถานศึกษา (Norms) ของสังคมที่เป็นมาตรฐานสำรับยึดถือและปฏิบัติของบุคคลในสังคม
ระบบจิตมนุษย์ทั้ง 3 ระดับนี้ ในการทำงานตามหน้าที่ย่อมจะต้องมีการต่อสู้ มีการยอมรับ มีการปรับตัวกัน มีความขัดแย้งกัน เป็นสิ่งที่เป็นธรรมชาติ ถ้าส่วนของจิตที่เป็น Id Ego Super Ego ส่วนใดเป็นฝ่ายชนะ บุคลิกภาพของบุคคลก็จะแสดงพฤติกรรมออกไปตามแนวของจิตฝ่ายที่ชนะ
อนิรุจเมื่ออ่านงานค้นคว้าทั้งหมดแล้วก็หวนนึกคิดว่าคำว่า อีโก้ที่เราๆท่านๆใช้กันกันอยู่ที่หมายถึงความหยิ่งยโส ยึดเอาตัวเองเป็นที่ตั้งนั้น ผิดไปจากความหมายเดิมที่แท้จริงของมันไปมาก หรือนี่คือความหมายที่แท้จริงของคำว่า ‘ความรู้เกิดจากการอ่าน’
โฆษณา