24 มี.ค. 2022 เวลา 02:20 • ธุรกิจ
สายสีเขียวที่สะท้อนถึงชีวิตดีดีที่ลงตัวของคนกรุงเทพ กับปมปัญหาความความขัดแย้งที่ก่อตัวขึ้นเหมือนคลื่นใต้น้ำที่รอวันปะทุ ไม่รู้ทิศทางข้างหน้าว่าอย่างไร
รถไฟฟ้าสายสีเขียว(ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต)โครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดรองสายสีทองระยะที่1 ปมปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นมา ผ่านช่วงระยะเวลากว่า 3ปี ที่การแก้ไขปัญหาไม่มีสัญญานที่ดีในการหาทางออก
เหตุการณ์ที่ผ่านมาเป็นมาอย่างไร เรื่องที่น่ารู้เกี่ยวกับการขอต่ออายุสัมปทานส่วนต่อขยายออกไปอีก
1.ครม. ยังไม่มีการตัดสินใจในเรื่องนี้อย่างจริงจัง นับแต่การเสนอเรื่องขอต่ออายุสัมปทาน เรื่องนี้ก็ยังไม่มีข้อสรุปมีเพียงการยืดเรื่องออกไปก่อน เมื่อความพยายามครั้งที่1ไม่เป็นผล ได้มีการเสนอเรื่องครั้งที่2โดยเรื่องนี้ได้ถูกถอดถอนอีกครั้ง ซึ่งกระทรวงมหาดไทยเป็นคนถอดเรื่องออกไปไม่ระบุสาเหตุที่แน่ชัดในการถอดถอน อันนำมาถึงความพยายามครั้งที่3 ในการพิจารณาเรื่องขอต่ออายุสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวอีกครั้ง แต่ก็ต้องถูกถอดถอนนอกไปอีกจากกระทรวงคมนานคม และความพยายามครั้งที่4 ก็ยังคงไม่สำเร็จอีก
2.กทม. ยังเป็นหนี้บีทีเอสกว่า 3หมื่นล้านบาท นอกจากข้อขัดแย้งระหว่างหน่วยงานของรัฐแล้ว ยังมีข้อพิพาทเกิดขึ้นกับการดำเนินงานของ บมจ.บีทีเอสซี กับ กทม. เรื่องการชำระหนี้ค่าจ้างเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว ซึ่งในตัวรายละเอียดในการยื่นฟ้องแบ่งเป็น สัญญาจ้างเดินรถมูลค่าราว 1.2หมื่นล้านบาท หนี้ที่เกิดจากสัญญาติดตั้งระบบไฟฟ้าเครื่องกลอีกราว 2หมื่นล้านบาท เรื่องนี้ยังคงเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ยังคงไม่สามารถหาทางออกได้
เรื่องนี้ยังคงเป็นปัญหาที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกสำหรับรัฐบาลเพราะถ้าว่ากันตามความจริงแล้วเรื่องรถไฟฟ้าสายสีเขียว(ส่วนต่อขยาย)นี้ยังคงเป็นสิทธิของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ซึ่งอยู่ในสังกัดของกระทรวงคมนาคม แต่เหตุใดกันคนที่ส่งเรื่องนี้เข้ามากลับเป็นกระทรวงมหาดไทย ที่กลับนำเรื่องนี้เข้ามาใน ครม. เป็นการข้ามหน้าข้ามตา กระทรวงคมนาคมที่คุมเรื่องนี้ในฐานะกระทรวงแม่หรือไม่
หรือเรื่องนี้มีเงื่อนงำให้สืบต่อหรือไม่ เพราะหากมีการต่อสัมปทานจะเอื้อผลประโยชน์กันหรือเปล่า มีการผูกขาดหรือไม่ ให้เอกชนรายเดียวได้ไปโดยไม่มีการแข่งขันอย่างยุติธรรม เพราะเรื่องมีส่วนที่เกี่ยวข้องโดยตรงต่อปากท้องของประชาชนที่ใช้ชีวิตในกรุงเทพ รถไฟฟ้ากลายเป็นปัจจัยที่ขาดไม่ได้ในการเดินทางที่เกิดขึ้นยิ่งค่าโดยสารปรับตัวขึ้นอาจหายถึงเงินในกระเป๋าที่ลดลง ค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นอาจหมายถึงความไม่พอใจของประชาชนที่เพิ่มขึ้น ทางออกที่สุดท้ายต้องการย่อมต้องหมายถึงผลประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่ไม่ใช่เพียงแค่ผลประโยชน์ส่วนใหญ่ของคนบางกลุ่มเพียงเท่านั้น
ทางด้านกระทรวงคมนาคม นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ ตอบคำถามกลับนักข่าวว่าเรื่องที่เกิดขึ้นให้ทางกระทรวงมหาดไทยตอบความเห็นข้อโต้แย้ง ข้อสงสัยที่เกิดขึ้นให้กระจ่างเรื่องนี้ก็ไม่มีปัญหา
เรื่องนี้บทสรุปสุดท้ายที่เกิดขึ้นจะเป็นไปในทิศทางไหน เรื่องที่เกิดขึ้นนี้จะทำให้พรรคร่วมรัฐบาลเสียงแตกกันมากขนาดไหน การแตกแยกของพรรคร่วมรัฐบาลจะส่งผลต่อสเถียรภาพของตัวรัฐบาลและนายยกรัฐมนตรีในตอนนี้ได้หรือไม่ นับว่าเป็นเรื่องที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดเพราะมีผลระยะยาวอย่างมากที่เป็นภาระผูกพันธ์กันในระยะยาวหลายส่วน และผลสะท้อนสุดท้ายจะกลับไปสู่ประชาชนกลุ่มใหญ่ที่มีรายได้น้อย และกระทบกับรายได้ของพวกเขาเหล่านั้นอย่างแน่นอน
ขอบคุณที่ติดตาม
โฆษณา