23 มี.ค. 2022 เวลา 10:57 • สุขภาพ
ชาเขียว ทําให้คนสูบบุหรี่ มีสุขภาพดี ?
แม้ว่าการสูบบุหรี่เป็นสาเหตุหลักของ โรคหัวใจและมะเร็งปอด แต่สถิติประชากร ชาวเอเชียที่ป่วยด้วยโรคดังกล่าวกลับมีจำนวนน้อยอย่างน่าฉงน ทั้งที่ผู้คนในหลายประเทศแถบนี้นิยมสูบบุหรี่กันมากล่าสุด นักวิจัยพบว่าเครื่องดื่มชาเขียวอาจเป็นคำตอบของข้อสงสัยข้างต้น
ดร. เบาเออร์ ซัมพิโอ และผู้ร่วมทีมจาก มหาวิทยาลัยเยล รายงานผลการวิจัยของพวกเขาในวารสารทางวิชาการของมหาวิทยาลัย โดยระบุว่าสารแอนติออกซิแดนต์ที่เรียกว่า catechin ซึ่งมีปริมาณเข้มข้นในน้ำชา มีคุณสมบัติช่วยยับยั้งการเกิดโมเลกุลสารอนุมูลอิสระของออกซิเจนในร่างกายคนเรา
สารอนุมูลอิสระมีบทบาททําลายเซลล์ ในร่างกายคนเรา จึงมีศักยภาพในการก่อโรค ต่างๆ อันที่จริงมันก็เป็นผลิตผลจากกระบวน การทำงานของร่างกายตามปรกติ แต่จะเพิ่มมากขึ้นจนส่งผลเสียต่อร่างกายจากปัจจัยภายนอก เช่น อาหาร การสูบบุหรี่
หลายประเทศในทวีปเอเชีย ผู้คนมีวัฒนธรรมดื่มชาเขียวเป็นปรกติในชีวิตประจำวัน เมื่อเปรียบเทียบกับชาดำ (black tea) ซึ่งชาวยุโรปนิยมดื่มแล้ว ชาเขียวผ่าน กระบวนการผลิตน้อยขั้นตอนกว่าและมีสาร Catechin มากกว่า
ข้อมูลทางสถิติระบุว่า ขณะที่ในแต่ละปี ผู้ชายอเมริกันจำนวน ๓๔๘ คน จากทุก ๑ แสนคนเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ แต่ผู้ชายชาวญี่ปุ่น ประเทศที่มีอัตราการสูบบุหรี่ของประชากรสูงกว่าอเมริกากลับเสียชีวิตเพียงปีละ ๑๔๖ คนจากทุก ๑ แสนคน
ส่วนสถิติผู้เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งปอด ในแต่ละปีผู้ชายอเมริกันเสียชีวิตด้วยโรคนี้จำนวน ๖๗ คน จากทุก ๑ แสนคน ขณะที่ผู้ชายเกาหลีเสียชีวิตจากโรคนี้เพียง ๔๐ คนจากทุก ๑ แสนคนอัตราการตายนี้ยิ่งแตกต่างกันในเพศหญิง ผู้หญิงชาวเกาหลีเสียชีวิตเพียง ๑๓ คนจากทุก ๑ แสนคน ขณะที่ผู้หญิงอเมริกันเสียชีวิต ๔๕ คนจากทุก ๑ แสนคน ทั้งที่อัตราการสูบบุหรี่ของชาวเกาหลีที่เป็นผู้ใหญ่อยู่ที่ ๓๗ เปอร์เซ็นต์ ส่วนอัตราการสูบบุหรี่ของชาวอเมริกันที่เป็นผู้ใหญ่อยู่ที่ ๒๗ เปอร์เซ็นต์
ถึงแม้เครื่องดื่มชาเขียวจะส่งผลดีต่อสุขภาพอย่างไรก็ตาม ดร. เบาเออร์ให้ ความเห็นอย่างชัดเจนว่า
“การเลิกสูบบุหรี่เป็นวิธีป้องกันโรคหัวใจ และโรคมะเร็งที่ดีที่สุด” อาจมีไม่กี่คนที่รู้ว่า เบื้องหลังอาหารจานโปรดที่เรากินกันอยู่ทุกวัน ไม่ว่าจะเป็น ไก่ทอด สเต็กเนื้อ เบอร์เกอร์หมู ฯลฯ สัตว์ ต่างๆ ซึ่งเป็นที่มาของอาหารเหล่านี้ต้องใช้ชีวิตอย่างทรมานในฟาร์มเลี้ยงก่อนถูกฆ่าเป็นอาหารให้แก่มนุษย์
จำนวนประชากรมนุษย์ทั่วโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ปริมาณความต้องการอาหาร โดยเฉพาะเนื้อสัตว์เพิ่มสูงตามไปด้วย คาดกันว่าปริมาณการบริโภคเนื้อสัตว์ทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น ๒ เท่าจากปัจจุบันภายในปี ๒๐๒๐ ส่งผลให้ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ในระบบอุตสาหกรรมมีสารขนาดใหญ่เกิดขึ้นจำนวนมาก
ปีเตอร์ ซิงเกอร์ ศาสตราจารย์ด้านชีวจริยธรรม (bioethics) จากมหาวิทยาลัย พรินซ์ตัน ร่วมกับ จิม เมสัน ได้เขียนหนังสือชื่อ The Way We Eat: Why Our Food Choices Matter เปิดเผยเบื้องหลังการเลี้ยงสัตว์ในฟาร์มระบบอุตสาหกรรม ซึ่งปฏิบัติต่อสัตว์ต่างๆ เช่น หมู ไก่ อย่างปราศจากเมตตา
ไก่ที่เลี้ยงในฟาร์มระบบอุตสาหกรรมราว หมื่นล้านตัวต้องจับเจ่าอยู่แต่ในกรงโดยไม่ได้ออกไปไหน พวกมันถูกป้อนอาหารเพื่อเร่งเพิ่มน้ำหนักตัวให้มากที่สุดในเวลาอันสั้นจนกระดูกที่ยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่แทบไม่อาจแบกรับน้ำหนักตัวของมันได้และมีชีวิตอยู่ในโลกเพียง ๔๕ วันก็ถูกนำไปฆ่า กรณีแย่กว่านั้นที่เคยพบก็คือ บางฟาร์มยัดไก่ถึง 4 ตัวลงในกรงคับแคบ ซึ่งมีขนาดพอจะยังไม่เพียงตัวเดียว ความตึงเครียดทำให้ไก่จิกตีกันถึงตาย ฟาร์มแก้ปัญหานี้โดยใช้ใบมีดร้อนจัดเฉือนจะงอยปากของไก่ออกโดยไม่ใช้ยาสลบ หรือยาชาระงับความเจ็บปวด
หรืออย่างหมูซึ่งนับเป็นสัตว์ที่เฉลียวฉลาด ที่สุดในบรรดาสัตว์ที่เป็นอาหารของมนุษย์ การเลี้ยงแบบดั้งเดิมในท้องถิ่นชนบทพวกมัน
ที่มา นิตยสาร สารคดี ปีที่ ๒๒ ฉบับที่ ๒๕๗ เดือนกรกฎาคม ๒๕๕๙
โฆษณา