Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
SDG Wings Thailand
•
ติดตาม
23 มี.ค. 2022 เวลา 17:03 • สิ่งแวดล้อม
เสียงสะท้อนการจัดการไฟป่าและพิธีสาปแช่งคนเผาป่า ภูมิปัญญาพิทักษ์ป่าจากดอยอินทนนท์
สถานการณ์ไฟป่าและปัญหาหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย เป็นภัยคุกคามที่มีความรุนแรง และความถี่ในการเกิดมากยิ่งขึ้น การป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า เป็นวาระสำคัญที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมกันดำเนินการ อย่างจริงจัง
วันที่ 16 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดย กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ร่วมกับอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนนท์ สถานีควบคุมไฟป่าดอยอินทนนท์ หน่วยจัดการต้นน้ำแม่กลาง ดอยอินทนนท์ เทศบาลตำบลบ้านหลวง มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (ภาคเหนือ) มูลนิธิไทยรักษ์ป่า เครือข่ายองค์กรชุมชน เครือข่ายลุ่มน้ำภูมินิเวศดอยอินทนนท์ ภาคีเครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัด เวทีความร่วมมือหนุนพลังเครือข่ายจัดการไฟป่า ฝุ่นควันอย่างยั่งยืน และ“พิธีสาปแช่งคนเผาป่า” เสริมภูมิปัญญาและสร้างองค์ความรู้จัดการไฟป่า ขึ้น เพื่อเป็นการพัฒนากลไกและบูรณาการความ ร่วมมือจากทุกภาคส่วน ในการจัดการไฟป่า ฝุ่นควันอย่างยั่งยืน
นายพงษ์ทู เชื้อสุจริตไพบูลย์ พ่อหลวงบ้านแม่กลางหลวง อุทยานแห่งชาติ ดอยอินทนนท์ และ นายกอชิ เพชรไพรพนาวัลน์ นายกเทศมนตรีตำบลบ้านหลวง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ สะท้อนประสบการณ์การทำงานในพื้นที่ในเขตป่าสงวน ยาวนานกว่า 18 ปี นับตั้งแต่ปี 2547
“จากที่เมื่อก่อนเคยมีปัญหาความขัดแย้ง ปัจจุบันมีความร่วมมือกันมากขึ้น เป็นความภาคภูมิใจอย่างหนึ่งที่เป็นกลุ่มเป็นก้อนได้ ก่อนหน้านั้น พี่น้องใช้ประโยชน์ที่ดินโดยการทำเกษตรอย่างเดียว ทำอย่างอื่นไม่ได้ หลังจากที่ พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 แก้กฏหมายพี่น้องจะสามารถทำอย่างอื่นได้ มันมีโอกาสเสนอแผน ประกอบอาชีพอื่น เราเกษตรกรต้องคิดว่าจะลดการใช้ทรัพยากรต่างๆ อย่างไร อย่างยั่งยืน การทำโฮมสเตย์ ลานกางเต็นท์ ฯลฯ
ในอดีต ด้วยตัวกฏหมายอาจทำให้การเกษตรเป็นทางเลือกในการประกอบอาชีพที่ดีที่สุดสำหรับชาวเขา แต่ปัจจุบันคนรุ่นใหม่มีเริ่มมีแนวความคิดในการประกอบอาชีพอย่างอื่น แม้ว่าจะมีกฏหมายหลายอย่างที่ทับซ้อนอยู่ หากชุมชนทำการท่องเที่ยวพวกเขาก็ต้องดูว่าทำแล้วได้อะไร โดยมากถ้าทำแล้ว สิ่งแรกคือพวกเค้ามองเห็นว่าต้องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจริงๆ เพราะถ้านักท่องเที่ยวมาดูทะเลหมอกแต่มาเห็นควันไฟ มาเพื่อต้องการสูดอากาศบริสุทธิ์ แต่มาเจอควันไฟก็คงไม่มีใครอยากมาเที่ยว ในขณะเดียวกันพลาสติกซึ่งเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมสำคัญต้องเป็นศูนย์ ในอดีตชาวเขาจะใช้พลาสติกในปริมาณมากเพื่อทำการเกษตร แต่ตอนนี้ต่างช่วยกันคิดว่าจะทำอย่างไรให้ปราศจาคพลาสติคและขยะ เพื่อพัฒนาศักยภาพของตัวเอง เราก็มีเครือข่ายแล้วน่าจะได้คุยกันเพื่อต่อยอด เส้นทางธรรมชาติก็ดี คนมาดูนกก็ดี ช่วยกันได้ เพื่อไม่ให้มันสะเปะสะปะ”
นางสาวกลิ่นธูป เสียงจากตัวแทนจากภาคธุรกิจ “เมื่อก่อนเราก็จะคิดว่าทำไมคนดอยเผาอีกละ เราไม่ไหวละ ฤดูที่เราจะได้ตังค์ High season ของเราก็จะลดลง จากที่จะได้ก็จะไม่ได้ ในช่วงที่มีการเผาเกิดขึ้น นักท่องเที่ยวก็จะไม่มา เค้าก็จะไปเที่ยวที่อื่น เราไม่ได้นิ่งดูดาย เรามีเครือข่ายมาคุยกัน ตอนนั้นก็เป็นจุดเริ่มต้น มารู้จัก เขียว สวย หอม ชวนไปทำแนวกันไฟ อาชีพไหนๆ ก็ต้องมาช่วยร่วมกัน เพราะทุกคนหายใจร่วมกัน ”
ทางด้าน นายเดโช ไชยทัพ มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน กล่าวถึงความจำเป็นที่จะต้องมีการกระจายงบประมาณให้กับท้องถิ่น ภายหลังจากที่มีการถ่ายโอนภารกิจป้องกันและควบคุมไฟป่า เพื่อให้ชาวบ้านสามารถจัดการไฟป่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
“จำนวนพื้นที่ป่าที่กรมป่าไม้ถ่ายโอนมาให้กับท้องถิ่นมีจำนวน 42 ล้านไร่ 6,480 ตำบล แต่ยังไม่มีการจัดสรรงบประมาณให้ เฉพาะเชียงใหม่ 4 ล้านกว่าไร่ มันเหมือนกับพื้นที่ที่ไม่มีเจ้าภาพเพราะไม่มีคน ไม่มีงบ ปัญหาฝุ่นควันเกิดขึ้นเต็มบ้านเต็มเมือง เพราะเจ้าหน้าที่เค้าคนน้อย งบไม่มี สี่ล้าน่ไร่ พอจะมาสู่ชุมชนก็เป็นไปตามมีตามเกิด เงินก็ยังไม่มา ชาวบ้านมีจิตใจอยากจะไปช่วย ทำแนวกันไฟบ้าง สู้งานตลอด ปีนี้เราจะทำแนวกันไฟวันที่ 24 กุมภาพันธ์ งบก็ยังไม่มี”
นายมาณพ คีรีภูวดล แกนนำชาวปากาเกอะญอ เน้นย้ำถึงความสำคัญที่ทุกภาคส่วนจะต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนร่วมกัน คือ การทำให้คุณภาพอากาศดีขึ้น โดยชี้ให้เห็นถึงการจัดการไฟป่าที่มีประสิทธิภาพของบ้านขุนกลาง ดอยอินทนนท์ ซึ่งปัจจุบันสามารถจัดการการเผาได้ร้อยเปอร์เซ็นต์
“เป็นโจทย์ท้าทายนะครับ รัฐเองก็เอาไม่ไหวฝุ่นควันก็เต็มบ้านเต็มเมือง ถ่ายโอนภาระกิจมาแล้ว ทำยังไงจะทำให้ การถ่า่ยโอนภาระกิจนั้นมีความสมบูรณ์มากขึ้น หมายความว่าระเบียบกติกาในการบริหาร ให้ชุมชนเป็นคนกำหนด เวลาไหนควรเผา แต่ท้ายสุดเป้าหมายเดียวกัน คุณภาพอากาศต้องดีขึ้น ไม่ใช่ถ่ายโอนภาระกิจมาแล้ว แย่ยิ่งกว่าเดิม ฝุ่นควันมากขึ้นกว่าเดิมอันนี้ไม่ใช่เจตนารมณ์ จะทำยังไงให้แผนชาวบ้านเกิดความชัดเจนแล้วมีตัวชี้วัด
ยกตัวอย่างเช่น ตอนนี้ บ้านขุนกลาง ดอยอินทนนท์ ตอนนี้พื้นที่เผาเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ไม่มีการเผา ยกเว้นบางจุด ที่ยังทำเกษตรแบบดั้งเดิม ก็คือปีนึงทำครั้งนึง แต่ถ้าปีนึงทำการเกษตรตลอดอันนั้นจะไม่มีการเผาเลย ดังนั้น บ้านขุนกลางจะมีโจทย์ให้เราแค่ไม่กี่จุด แต่หมู่บ้านอื่น ผมคิดว่าภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องน่าจะช่วยกันดูว่าในระหว่างที่เขาไม่ทำการเกษตรทำอย่างไรที่จะไม่ต้องเผา จะพัฒนายังไงให้เขามีรายได้มากขึ้น”
นายมานพ ยังได้กล่าวถึงความสำคัญของพื้นที่ดอยอินทนนท์ ในฐานะป่าต้นน้ำ ภาพรวมของการจัดการไฟป่า และกลไกการแก้ไขปัญหาโดยการกระจายอำนาจ “อินทนนท์สำคัญอย่างไร เป็นป่าต้นน้ำปริมาณน้ำฝนจากพื้นที่ดอยอินทนนท์สูงสุดในประเทศไทย 2,100 มิลลิเมตร ต่อปี เพราะว่าเป็นป่าเมฆ มีความหลากหลายทางชีวภาพ ถือว่าไม่น้อย โดยเฉพาะลุ่มน้ำแม่กลางด้านหลังของเราเนี่ยะ คิดเป็น 6% ของแม่น้ำเจ้าพระยา
แต่ว่าไฟป่าที่มันเกิดขึ้นเนี่ยะ เราจะช่วยกันอย่างไร เราจะดูแลเฉพาะดอยอินทนนท์ไม่ได้ เชียงใหม่ 13 ล้านไร่ 10 ล้านไร่เป็นป่า 60% เป้นป่าเต็งรังนะครับ และ 600,000 ไร่เป็นป่าดิบ แล้วภาคเหนือทั้งหมด 8 จังหวัดของเราถ้าคิดทั้งประเทศ ไฟป่าของเราจะเกี่ยวข้องประมาณ 9 จังหวัด ตั้งแต่จังหวัดตากขึ้นมา การแก้ปัญหามันต้องแก้ในเชิงนโยบายยุทธศาสตร์ ทุกจังหวัดที่เกี่ยวข้อง ไฟป่าจะเข้าประมาณช่วงมีนา เป็นช่วงที่พี่น้องจะต้องเตรียมปีใหม่เมือง ปีใหม่สงกรานต์แล้วใครจะมีอารมณ์ในการเฝ้าป่า
เพราะฉะนั้นการจัดการเชื้อเพลิงจึงเป็นวิธีการการจัดการการเลือก ตอนนี้คนกำลังมองเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศหรือ climate change หรือ คาร์บอนเครดิต หรือ tree world การอนุรักษ์ แต่ท้ายที่สุดกลไกการแก้ไขปัญหา การกระจายอำนาจน่าจะเป็นกระดุมแรกๆ”
นายธวัช ขัดผาบ ผู้จัดการมูลนิธิไทยรักษ์ป่า กล่าวถึงพิธีสาบแช่งผู้ที่เผาทำลายป่า รวมทั้งการขยายผลองค์ความรู้ที่ตกผลึกจากทำงานร่วมกันทุกภาคส่วน เพื่อสร้างความเข้มแข็งในการจัดการไฟป่าให้กับชุมชน “ผมกำลังมองถึงปัญหาไฟป่า ในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ 13.2 ล้านไร่ 25 อำเภอ ทุกๆ ปี โจทย์ใหญ่ถือว่าเป็นจำเลยสังคม เป็นพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์ บนดอย ในหลักความเป็นจริงแล้ว พื้นที่ที่ผาไหม้ 82% เป็นพื้นที่ป่าของทั้งอุทยานและของกรมป่าไม้ ม้นเลยเป็นที่มาของพิธีสาบแช่งในวันนี้ ว่าเราจะมีวิธีป้องกันไม่ให้ป่าพื้นที่ 82% ที่มันจะถูกเผาไหม้ในทุกปี จะมีกระบวนการยังไง หรือใช้ภูมิปัญญาต่างๆ
จริงๆ ผมว่าคนที่อยู่ในที่ประชุมก็ทราบว่าหน่วยงานที่รับผิดชอบก็รู้ ว่าต้องจัดการยังไง เหมือนที่เราทำงานในพื้นที่กันในวันนี้ เราสลายหัวออกหมดเลยครับ ใครอยู่กรมอุทยาน กรมป่าไม้ ปกครอง ถ้าเราใช้พื้นที่สามแสนกว่าไร่เนี่ยะเป็นพื้นที่ทุกหน่วยงานต้องเข้ามา ใครมีงบประมาณ ใครมีบุคลากร ใครมีอุปกรณ์ก็มา มาดูตรงนี้ ที่นี้
ถ้าเชียงใหม่ 13 ล้านไร่เนี่ยะ 3 ล้านไร่เป็นที่ดินที่มีเอกสาร อีกสิบล้านไร่เป็นป่า ผมคิดว่าควาถามรู้ทั้งหมดมันถูกตกผนึกพอสมควรนะ สิบล้านไร่เนี่ยะ 60% เป็นป่าเต็งรัง ป่าเต็งรังเป็นป่าที่มีลักษณะเป็นป่าผลัดใบ และเป็นป่าที่จะเกิดไฟเพราะฉะนั้นเรารู้ข้อมูลหมดแล้ว เราจะใช้ความรู้อะไรในการบรหารจัดการ ตรงไหนจะจัดการเชื้อเพลิง ตรงไหนจะไม่ให้ไฟเข้า ตรงไหนจะเฝ้าระวัง ตรงไหนจะทำปุ๋ย ส่วนเรื่องของระบบสนับสนุน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ภาคธุรกิจจะสนับสนุนยังไง เชียงใหม่มีอยู่ 2,500 กว่าหมู่บ้าน ครึ่งหนึ่งติดกับป่า อยู่ในป่า ถามว่าชุมชนที่เข้มแข็งอย่างบ้านหลวงเนี่ยะ มีกี่ชุมชน”
นอกเหนือจากเวทีเสวนา ภายในงานยังได้มีการจัดพิธีสาบแช่ง คนเผาป่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการพิทักษ์รักษาผืนป่า สายน้ำและป้องกันไฟป่า ลดหมอกควัน คือ พิธีเฟ่าแหย่ง หรือ ฝีแหย่ง ของชาวม้ง และ พิธีตาหลือ ของชาวปากาเกอะญอ รวมทั้งพิธีทางสงฆ์ โดย พระครูปลัดบดินทร์ สีลสังวโร พุทธอุทยานแม่กลางหลวง เพื่อเป็นสิริมงคลให้กับผู้พิทักษ์ป่า รวมทั้งพิธีประกาศเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำศูนย์การเรียนรู้การจัดการทรัพยากรที่ยั่งยืน บริเวณแม่น้ำกลาง นำโดย นางภาวินี ณ สายบุรี รองอธิบดี กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม พิธีมอบทุนชุมชน พิธีมอบต้นผ้าป่าระดมทุนสนับสนุนการจัดการไฟป่า การแสดงจากเยาวชนชาวม้งและการทำแนวกันไฟ
จิตติมา จันทนะมาฬะกะ
SDG Wings Thailand
#กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
#กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม #อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนนท์ #สถานีควบคุมไฟป่าดอยอินทนนท์ #หน่วยจัดการต้นน้ำแม่กลางดอยอินทนนท์ #เทศบาลตำบลบ้านหลวง #มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน(ภาคเหนือ) #มูลนิธิไทยรักษ์ป่า #การจัดการไฟป่า #ฝุ่นควัน #พิธีสาปแช่งคนเผาป่า #SDG #ClimateChange #LiveonLand #16ชีวิตบนบก #13แก้ปัญหาโลกร้อน #17ร่วมมือเพื่อพิชิตเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน #การพัฒนาที่ยั่งยืน เขียว สวย หอม Greenery.Beauty.Scent SDG Wings Thailand
- -
Also published on:
++ พลเมืองสีเขียว
https://www.facebook.com/112346387893793/posts/149374624190969/
++ CNS
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย