Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
SDG Wings Thailand
•
ติดตาม
23 มี.ค. 2022 เวลา 17:41 • สิ่งแวดล้อม
[เชียงดาวกระซิบรัก]
ตอนที่ 3 จ่อขยายถนนสี่เลนทับลำน้ำปิง-ป่าต้นน้ำ
เขตพื้นที่สงวนซีวมณฑลดอยหลวงเชียงดาว
ในขณะที่ทั่วโลกพยายามอย่างหนักเพื่อยกระดับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เพิ่มมาตรการในการปกป้องคุ้มครองเพื่อต่อสู้กับการสูญเสียพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ สนับสนุนให้คนอยู่ร่วมกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน โครงการพื้นที่ชีวมลฑลของ UNESCO ตั้งเป้าหมายเพิ่มพื้นที่อนุรักษ์จาก 5% ในปัจจุบันให้ครอบคลุมพื้นที่ 30% ของโลก ในปี พ.ศ. 2573 ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยองค์การสหประชาชาติ
ทว่าภายหลังจากที่ ดอยหลวงเชียงดาวได้รับการประกาศให้เป็นพื้นที่ชีวมณฑลลำดับที่ 5 ของประเทศไทย เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.2564 ที่ผ่านมา คนรักเชียงดาวต่างก็ต้องหายใจไม่ทั่วท้องกับ #โครงการสำรวจและออกแบบทางหลวง 4 ช่องจราจร เพื่อขยายถนนจากเดิมที่มีสองช่องทางการจราจรและสี่ช่องในบางจุด เป็นถนนสี่ช่องทางการจราจร ตลอดระยะทาง 8.4 กิโลเมตร บนเส้นทางหมายเลข 107 โดยมีจุดเริ่มต้นที่ กม.ที่ 55 ถึง กม.ที่ 64
ซึ่งจะต้องมีการขยายพืันที่ทั้งสองข้างทางทับลำน้ำสายสำคัญและผืนป่าต้นน้ำช่วงที่อุดมสมบรูณ์ที่สุดช่วงหนึ่ง โดยบริเวณฝั่้งซ้ายมือของถนนสายดังกล่าว อยู่ในเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าเชียงดาว และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว มีลำน้ำปิงไหลตรงกลาง และแนวเขตอุทยานแห่งชาติศรีลานนาขนาบทางด้านฝั่งขวามือ อีกทั้งยังทับซ้อนบริเวณ Buffer Zone และ Transition Zone เขตพื้นที่ชีวมณฑลดอยหลวงเชียงดาว โดยระบุในเอกสารโครงการดังนี้
… ทางหลวงหมายเลข 107 เป็นทางหลวงสายหลักเชื่อมโยงจากจังหวัดเชียงใหม่ไปยังจังหวัดเชียงราย มีปริมาณการจราจรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เส้นทางมีความลดเลี้ยว เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ทำให้ผู้ใช้เส้นทางไม่ได้รับความสะดวกในการเดินทาง การศึกษาและออกแบบโครงการ จาก 2 ช่องการจราจรเป็น 4 ช่องจราจร จะช่วยในการเดินทาง การท่องเที่ยวและการขนส่งสินค้า มีความสะดวกปลอดภัยมากขึ้น
ทั้งนี้ การตรวจสอบพื้นที่โครงการเบื้องต้นพบว่า แนวเส้นทางของโครงการผ่านพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 2 จึงเข้าข่ายต้องจัดทำรายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดประเภทและขนาดโครงการหรือกิจการซึ่งต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 48 แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 และ ฉบับที่ 2 พ.ศ.2561 โครงการดังกล่าวยังอาจส่งผลกระทบต่อการใช้ประโยชน์ที่ดิน คุณภาพชีวิต วิถีชีวิต หรือมีส่วนได้เสียสำคัญเกี่ยวกับบุคคล ชุมชนท้องถิ่น โดยพื้นที่ในการศึกษาโครงการมีรัศมี 500 เมตร นับจากกึ่งกลางถนน ครอบคลุม ดำบลอินทขิล ตำบลบ้านเปา ในเขตอำเภอแม่แตง และตำบลแม่นะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
หลายฝ่ายจึงได้ออกมาแสดงความเป็นห่วงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมบริเวณผืนป่าต้นน้ำสำคัญและเกรงว่าการขยายถนนสี่เลนตลอดทั้งสายจะยิ่งเพิ่มความอันตรายและอุบัติเหตุ เนื่องจากการใช้ความเร็วสูงในการขับขี่
“อันดับแรกที่เค้าอ้างผิดก็คือ ถนนกว้างอุบัติเหตุลดลง ไม่ใช่นะครับ #ถนนกว้างส่งเสริมให้คนขับรถเร็วขึ้น ดังนั้นความสามารถในการระมัดระวังมันลดลง ถนนกว้างสงเสริมให้ไปขัดขวางการข้ามถนนครับ แม้แต่สัตว์ป่า นกหรือแมลงแถวนั้นที่จะข้ามถนน โอกาสรอดชีวิตมันก็น้อยลง แต่ถนนที่กว้างทำให้การจราจรมัน ลื่นไหลขึ้น อันนี้พูดถูก เค้าไม่รอติดรถที่มันช้าๆ แล้วก็หาจังหวะแซง หรือตรงนั้นมีรถเสีย รถหกล้อยางแตก ก็ไม่ต้องไปบล็อคอะไร มันยังมีช่องทางไปให้การจราจลมันลื่นไหล แต่ว่าลดอุบัติเหตุผมว่าไม่ใช่ สับสนในประเด็นละ” #อาจารย์จากภูมิสถาปัตย์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วรงค์ วงศ์ลังกา ทักท้วง
““พื้นทีเชียงดาวในเวลานี้ถูกประกาศเป็นพื้นที่ไม่ธรรมดา ก่อนหน้านี้มันก็ไม่ธรรมดามาตั้งนานแล้ว เชียงดาวเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญทางธรรมชาติมาก มีความเฉพาะมาก ซึ่งการพัฒนาทางธุรกิจในพื้นที่แบบนี้มันต้องทำตามภายใต้กรอบของความสำคัญเดิมที่มีอยู่ คือความสำคัญทางธรรมชาติ ที่นี่ไม่ใช่สุขุมวิท คุณจะมาลงทุนสร้างตึกสูงแบบไหนก็ได้ตามใจ ที่นี่คุณจะมาประกอบธุรกิจในพื้นที่ที่มีความสำคัญทางธรรมชาติ ธรรมชาติมันต้องเป็นใหญ่ คุณต้องเอาธรรมชาติเป็นหลัก ไม่ใช่คุณจะมาแล้วมาลบล้างอันแรก แล้วสุดท้ายธุรกิจคุณจะไปไม่ได้ ถ้าคุณไปลบล้างความสำคัญเดิมที่มันมีอยู่” อาจารย์วรงค์เตือน
ทางด้าน คุณมานพ แก้วฟู #หัวหน้าสถานีวิจัยต้นน้ำดอยเชียงดาว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ แสดงความกังวลต่อแบบจำลองการก่อสร้างที่ปรากฎในเอกสารโครงการซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อทิศทางการไหลของแม่น้ำ
“ผมไม่ทราบว่าภาพรวมในระดับประเทศเป็นอย่างไร แต่จากมุมมองที่เราอยู่ตรงนี้ ในตัวรูปที่เค้าโชว์ในส่วนของที่มีไหล่ทางแคบติดน้ำปิง เค้าจะต้องใช้วัสดุที่จะเสริมความแข็งแรงของฝั่งตลิ่งเป็นคอนกรีตเข้าไป เพราะงั้นมันต้องไปเบียดพื้นที่ของน้ำปิงที่จะรองรับน้ำที่จะไหลผ่าน หน้าตักมันแคบ หมายความว่า น้ำไหลแรง น้ำไหลแรงมากขึ้นมันก็จะไปเซาะฝั่งนู้นซิครับ ใช่มั้ยครับ มันก็พัง เพราะว่าบีบให้ท่อมันเล็กลง เพราะงั้นแน่นอน แรงดันมันต้องเพิ่มขึ้น ส่วนอันที่เป็นเสาขั้นมาเนี่ยะผมว่ามันเหมือนถนนในกรุงเทพ ซึ่งมันไม่น่าจะมาอยู่ที่นี่ แล้วอันตรายนะ ถ้าตอนหน้าน้ำหลากรับรองว่า ได้รับผลกระทบแน่นอนครับ”
เสียงสะท้อนชาวบ้านในพื้นที่ส่วนหนึ่งมองว่าการขยายถนนเป็นสี่เลนตลอดทั้งสายน่าจะเป็นการซ้ำเติมปัญหาแและแก้ไขไม่ตรงจุด “บริเวณที่เกิดอุบัติรถชนบ่อย อยู่ตรงหน้าบ้านแม่นะ อยู่เลยไปจากช่วงถนนที่ระบุในโครงการ สาเหตุที่เกิดอุบัติเหตุที่ผ่านมาเค้ามักจะบอกว่า ไม่มีป้ายบอกลดความเร็ว หลังจากที่ทำถนนสี่เลนแล้ว”
อาจารย์วรงค์ เรียกร้องให้มี #การชะลอโครงการเพื่อทำการประเมินผลการทบทางสิ่งแวดล้อมใหม่อย่างรอบคอบอีกครั้ง “ผมไม่เห็นการเริ่มงานแบบหน้าไซด์ ยังคงเป็นการทำงานเชิงโครงการ การชะลอโครงการเพื่อเหตุผลบางประการผมว่าไม่โดนปรับหรอก ผมว่าทำ EIA ตรงนั้นเดือนเดียวมันก็น่าจะเสร็จแล้วแปดกิโลเอง ผมว่าทบทวนตรงนี้ใหม่น่าจะดี แล้วก็เคลียร์ทั้งสองฝ่าย ไม่มีข้อกังขา ดีมากด้วยเป็นเรื่องที่ควรทำที่สุดเลย
ในมุมมองของผมมันทำได้ ในเชิงของการออกแบบให้มันไหลดีก็ทำได้ จะเบี่ยงทางน้ำให้เป็นทางน้ำใหม่มันก็ทำได้ แต่คุณจะต้องวิเคราะห์ดีๆ ก่อนว่าทำแล้วมันจะไม่ก่อให้เกิดผลกระทบในเชิงลบ ถนนหนะคนต้องการมั้ย มันก็คงมีคนต้องการแหละ อันนี้เราก็เข้าใจเช่นกัน แต่ว่าก่อนที่จะทำ วิเคราะห์ดีๆ ก่อน ยังมีเวลา ยังทำทัน คนวิเคราะห์เป็นก็มี เครื่องมือก็มี”
#หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ คุณบุญยัง ศรีจันทร์ มองว่า ผลกระทบขึ้นอยู่กับความรัดกุมในขั้นตอนการบริหารจัดการ และชี้ให้เห็นถึงผลกระทบที่สัตว์ป่าจะได้รับ ทั้งในแง่ของการเกิดอุบัติเหตุและผลกระทบเชิงพันธุกรรม
“ในพื้นที่ตรงนี้ ตามจริงผมไม่เคยไปประชุมร่วมด้วย มันจะมีเส้นที่ผ่านป่าสงวน ซึ่งมันไม่ได้ผ่านเข้ามาในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า จะมีผลกระทบมั้ยผมว่ามันก็มีบ้าง มันก็อยู่ที่การบริหารจัดการมากกว่าครับ ก่อนที่จะทำเนี่ยะ ทางหลวงก็ต้องมีการประชาสัมพันธ์ การเก็บข้อมูล การทำ EIA ผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมอยู่แล้วในส่วนนี้ การก่อสร้างจะใช้เวลานานขนาดไหน ออกแบบยังไงให้เข้ากับพื้นที่ก็ลดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม ต้องไปดูแบบอะไรพวกนั้น
#ความจำเป็นในการขยายถนนจากสองเลนเป็นสี่เลน พื้นที่ปัจจุบันผมว่าบางส่วนก็แคบบางส่วนก็กว้าง บางส่วนก็โค้งมากแล้วก็อันตราย ความเร็วมันก็มีส่วนที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ ในส่วนตัวผมว่ามันมีผลกระทบต่อสัตว์ป่าอยู่แล้วครับไม่ว่่าจะกว้างหรือแคบเพราะว่าถ้าเป็นเส้นทางที่สัตว์ป่าเขาใช้ประจำอยู่แล้วในการสัญจร โดยเฉพาะจากเขตป่าสงวนข้ามไปทางเขตศรีลานนา ถ้าสัตว์มันมีเส้นทางเฉพาะเจาะจงอยู่แล้ว ต่อไปในอนาคต ก็จะต้องทำเป็นแบบพวกคอริดอร์อะไรพวกนี้ อาจจะทำอุโมงค์เชื่อม เพื่อให้สัตว์ป่าได้เดิน ได้สะดวก เพื่อความปลอดภัย
#ถ้าถนนถูกตัดขาด สัตว์ใหญ่ผลกระทบจะเป็นเรื่องของพันธุกรรม ซึ่งมันก็จะผสมวนเวียนอยู่ในกลุ่มของมัน ก็จะเลือดชิด ความต้านทานโรคมันก็จะต่ำ แต่ถ้ามันข้ามไปขยายพันธุ์กับอีกฝั่งนึงได้ เลือดมันก็จะไม่ชิดไม่อะไร ความแข็งแรงโดยธรรมชาติมันก็จะสูงขึ้น อันนี้ก็เรื่องของพันธุกรรมนะครับ ซึ่งสัตว์เล็กสัตว์น้อยมันมีปัญหาอยู่แล้วครับในการที่จะข้าม สัตว์เล็กๆ อ่ะ เพราะว่าถนนมันกว้าง เพราะมันไปช้า โอกาสที่มันจะโดนรถชนหรือรถเหยียบเนี่ยะมีอัตราสูงนะครับ”
“ผมก็พึ่งไปมาเมื่อวันก่อนนี้เองไม่ได้นานเลย ผมไม่เห็นว่าการที่จะต้องขับสองเลนในระยะทาง 11 กิโลเนี่ยะ มีปัญหาเลย สำหรับผมเองที่เป็นผู้ผ่านทางไม่ใช่คนอยู่อาศัยทุกวัน ผมว่าคนในพื้นที่นั่นแหละจะตอบได้ดีที่สุด คนในพื้นที่มีทั้งส่วนที่เค้าต้องใช้ถนน และก็ยังมีคนที่เค้าต้องพึ่งพาลำน้ำ อันนี้คือในมุมมองของคน แต่มุมมองของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นอีกล่ะ พื้นที่น้ำตรงนั้นอ่ะ มันเอื้อเฟื้อต่อสิ่งมีชีวิตอื่นมากขนาดไหน ทั้งนี้ทั้งนั้นมันอาจจะมีทางแก้ไขได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องสำรวจก่อน วิเคราะห์ EIA ออกมาก่อน ไม่ใช่สามหน้า ผมว่ามันควรจะมีซักเล่มนึง” อาจารย์วรงค์ เสริม
“ถ้าพื้นที่ขนาดเชียงดาวยังโดนรุกรานขนาดนี้ไมต้องคิดถึงพื้นที่อนุรักษ์แบบอื่นเช่นอุทยานแห่งชาติ ป่าสงวนต่างๆ มันก็น่าจะโดนแทะเล็มจากการขยายตัวของเมืองและเศรษฐกิจได้โดยง่าย ผมว่าแบบนี้ต้องทักท้วงครับ ทักท้วงให้ทบทวน ลำน้ำนั้นจริงๆ มันคือต้นน้ำปิงนะครับ การขยายถนนที่กำลังจะทำนี่ไม่มีผลกระทบอะไรเลยจริงๆเหรอ” อาจารย์วรงค์ ตั้งคำถามทิ้งท้าย
โครงการขยายถนนฯ ดังกล่าวเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ.2564 พิจารณาเลือกแบบจำลองการก่อสร้างเป็นที่เรียบร้อยในการสัมมนาครั้งที่ 2 เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ.2564 และจะสรุปผลการศึกษาของโครงการในการสัมมนาครั้งที่ 3 เดือนเมษายน พ.ศ.2565 นี้ ทั้งนี้รายงานการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (EIA) ในเอกสารโครงการสรุปสั้นๆ ไว้เพียงสี่หน้ากระดาษและไม่มีการระบุถึงจำนวนงบระมาณโครงการแต่อย่างใด
จิตติมา จันทนะมาฬะกะ
รายงานจากฟาร์ม 63 อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
_ _
[เชียงดาวกระซิบรัก]
ตอนที่ 1 เรื่องเล่าริมสายน้ำ ผ่านมุมมองของนักต่อสู้เพื่อสิ่งแวดล้อม อ้ายนิคม พุทธา และนักชีววิทยา นักสืบสายน้ำ ดร.สรณรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์
คลิกเพื่ออ่าน >>
https://fb.watch/bAaz8sZ64Y/
ตอนที่ 2 ดอยหลวงเชียงดาวพื้นที่สงวนชีวมณฑล - UNESCO แห่งใหม่
สนทนากับ คุณบุญยัง ศรีจันทร์ หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว
คลิกเพื่ออ่าน >>
https://fb.watch/bAawRlLoyl/
[SDG Wings Podcast] รับฟังการสัมภาษณ์พิเศษ อาจารย์วรงค์ วงศ์ลังกา จากภูมิสถาปัตย์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประเด็น โครงการขยายถนนสี่เลนทับลำน้ำปิง-ป่าต้นน้ำ เขตพื้นที่สงวนซีวมณฑลดอยหลวงเชียงดาว
คลิกเพื่อรับฟัง >>
https://fb.watch/bAcBgKFf-g/
#UNESCO #BiosphereReserve #SDG14_LifeBelowWater #SDG15_LifeOnLand #SDG17_PartnershipfortheGoal #การพัฒนาที่ยั่งยืน #ดอยหลวงเชียงดาว #conservation #เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว #สัตว์ป่า
facebook.com
Đăng nhập Facebook
Hãy đăng nhập Facebook để bắt đầu chia sẻ và kết nối với bạn bè, gia đình và những người bạn biết.
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย