3 เม.ย. 2022 เวลา 12:00 • ไลฟ์สไตล์
ระหว่างปี 2000 ถึง 2016 อายุขัยของคนเพิ่มขึ้นห้าปีครึ่งโดยเฉลี่ย นักสังคมศาสตร์ชาวยุโรปพูดถึงการปกครองแบบชราธิปไตยระดับภาคพื้น ซึ่งก็คือการปกครองโดยคนชรานั่นเอง
2
ปี 2018 อายุมัธยฐานของชาวยุโรปอยู่ที่ 42 ปี รายงานปี2019 ของธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศให้ความเห็นว่า "ความแตกแยกทางการเมืองในโลกอนาคตจะเป็นเรื่องของคนแก่ปกป้องเครือข่ายความปลอดภัยทางสังคมของตนเอง กับประชากรวัยทำงานปกป้องรายได้จริงหลังหักภาษีของตนเอง"
4
ปัจจัยสามประการ ได้แก่ การลดลงของการเจริญพันธุ์ อายุขัยและค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพที่สูงขึ้น และการลดลงของคนทำงาน ประกอบกันเป็นภัยคุกคามความฝันวันเกษียณอายุ ซึ่งมันเคยเป็นคำมั่นสัญญาของเศรษฐกิจแบบตลาดยุคหลังสงครามโลก ค่านิยมและนโยบายในยุคแห่งความรับผิดชอบ ส่งผลให้อัตราการเกิดยุคหลังสงครามพุ่งสูง เข้าสู่ยุคเบบี้บูมซึ่งมีปริมาณคนทำงานเพิ่มขึ้น
1
เด็ก ๆ ที่เกิดรุ่นนั้นโหมทำงาน ผลิต และบริโภคในระดับที่ทำให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองยาวนานครึ่งศตวรรษ คนยุคเบบี้บูมสร้างทั้งหมดนั่นด้วยความหวังที่จะได้ใช้ชีวิตอย่างสบาย ๆ หลังเกษียณ แต่ยุคสมัยนั้นจบลงแล้ว...
การปฏิวัติต่อต้านโลกาภิวัตน์และค่านิยมของมัน สะท้อนถึงความตึงเครียดระหว่างคนต่างรุ่น พ่อแม่รู้สึกว่าตนทำงานหนักมาตลอดชีวิต และควรมีสิทธิ์ได้รับความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการเมือง โดยเฉพาะบำนาญ
1
ส่วนคนหนุ่มสาวก็มองว่า ภาษีของตนถูกนำไปใช้จ่ายเพื่อความต้องการของคนรุ่นก่อน และหางานได้ยากเย็นขึ้นทุกที เพราะคนอายุมากยังคงครองตำแหน่งเพลินอยู่และไม่รีบเกษียณอายุ ซ้ำร้ายงานที่คนรุ่นใหม่หาได้ก็ไม่มีความมั่นคงแบบงานของพ่อแม่
1
ในปี 2013 รัฐมนตรีการคลังของญี่ปุ่น แสดงท่าทีในประเด็นอายุขัยของพลเมืองอาวุโสในประเทศตน โดยบอกว่าคนเหล่านี้ควร "รีบตายเสียที"
ข้อมูลจากหนังสือ "REVOLT โลกาปฏิวัติ"
นาดาฟ เอยัล เขียน
เขมลักขณ์ ดีประวัติ แปล
สำนักพิมพ์ Sophia
1
โฆษณา