26 มี.ค. 2022 เวลา 03:40 • ความคิดเห็น
อัตราตายโควิดในไทย เทียบกับประเทศอื่นเป็นอย่างไร ?
เกิดข้อสงสัยว่า บ้านเรารักษาโควิดแล้วตายมากกว่าประเทศอื่นในโลกไหม จึงหาข้อมูลดู ปรากฏว่า....
Dataset: https://github.com/owid/covid-19-data/tree/master/public/data
ดูเหมือนอัตราตายประเทศไทยมีแนวโน้มสูงขึ้นในเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา แต่ก็ลดลงแล้วใกล้เคียงกับชาวโลกในเดือน มี.ค. แสดงว่าเราแย่กว่าชาวโลก ?
ถ้าดูแบบหยาบๆ (crude death rate) ก็อาจจะใช่
อาจเป็นเพราะอัตราการติดเชื้อมากขึ้น แต่การตายก็ไม่ต่างจากเดิม ทำให้อัตราตายดูเหมือนลดลง 😂
แต่อย่าลืมว่า ยังมีความเป็นไปได้อย่างอื่น โดยอัตราตายขึ้นกับปัจจัยหลายอย่างมาก เช่น ลักษณะประชากร (ซึ่งเราจะพูดถึงประเด็นนี้) ลักษณะคนไข้ (คนไข้มีโรคประจำตัวมากหรือความเสี่ยงสูงก็ตายง่ายกว่า) ความพร้อมของทรัพยากรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นคน ของ หรือยา เป็นต้น
วัตถุประสงค์บทความนี้ ไม่ได้มาเทียบอัตราตายให้เห็นจริงๆ แต่อยากให้ระวังการเทียบระหว่างพื้นที่
🧐 ข้อควรระวังในการเปรียบเทียบอัตราตายระหว่างพื้นที่ : ประเด็นโครงสร้างประชากร
จากข้อมูลทั่วโลกพบว่า โครงสร้างประชากรในแต่ละประเทศนั้นต่างกัน เช่น ญี่ปุ่น ปัจจุบันมีประชากรผู้สูงอายุสัดส่วนที่สูงมาก จนเกิน 20% ของประชากรทั้งหมด ส่วนประเทศไทยก็กำลังเดินตามไปเรื่อยๆ
https://www.statista.com/statistics/331892/age-structure-in-thailand/
จากภาพ ประชากรประเทศไทยมีผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปเพิ่มมากขึ้นทุกปี จนเกินกว่า 10 เข้าไปแล้ว เข้าสูงสังคมผู้สูงอายุเรียบร้อย
โครงสร้างประชากรมีผลอย่างไร ?
แน่นอนว่าโรคแต่ละโรคที่ตายนั้น มีปัจจัยเสี่ยงอย่างนึง คือ อายุประชากร โรคบางโรคเป็นเฉพาะในกลุ่มสูงอายุ บางโรคพบเฉพาะในเด็ก บางโรคพบในวัยผู้ใหญ่ เป็นต้น ดังนั้น หากโครงสร้างประชากรต่างกัน ย่อมทำให้อัตราการตายด้วยโรคต่างๆนั้นต่างกัน แม้ในความเป็นจริง อัตราการตายเมื่อปรับเป็นมาตรฐานแล้ว (ซึ่งนำมาเทียบกันได้) อาจไม่ต่างกัน
เปรียบเสมือน คู่ชกย่อมต้องมีการกำหนดน้ำหนักก่อนขึ้นชก เป็นต้น หรือการสอบ ก็ต้องใช้ข้อสอบเดียวกันเพื่อเป็นมาตรฐานการชี้วัดเดียวกัน จะเอาคะแนนโรงเรียน A มาเทียบกับคะแนนโรงเรียน B ย่อมไม่ได้ (ระบบการศึกษาก็เป็นแบบนี้ ยอมรับซะเถอะ)
การทำให้โครงสร้างประชากรเป็นมาตรฐานเดียวกัน ย่อมต้องเทียบกับมาตรฐานสากล ซึ่งที่ยอมรับกัน คือ มาตรฐานองค์การอนามัยโลก (Age Standardization of Rates: A new WHO Standard)
https://www.who.int/healthinfo/paper31.pdf ภาพนี้ใช้คาดการณ์ระหว่าง ค.ศ. 2000-2025
จากภาพ สัดส่วนประชากรโลกมาตรฐาน ที่อายุตั้งแต่ 65 ขึ้นไปมีแค่ 8.24% ดังนั้น อัตราการตายระหว่างประเทศเทียบกันไม่ได้แน่นอน เมื่อคำนึงถึงปัจจัยโครงสร้างประชากร แต่นี่เป็นแค่เพียงปัจจัยเดียวนะครับ
แล้วถ้าอยากปรับตามโครงสร้างประชากรที่เป็นมาตรฐานละ ทำไง ?
ต้องปรับจำนวนการตายที่คาดใหม่ในแต่ละช่วงอายุ ดังตัวอย่างภาพข้างล่าง (เอามาตรฐานจำนวนประชากรในแต่ละกลุ่มอายุของประเทศไทย เพราะเป็นการเทียบระหว่างพื้นที่ในไทย ไม่ได้เทียบกับทั่วโลก)
https://thaidj.org/index.php/JHS/article/view/11734/10068 เป็นตัวอย่างในประเทศไทย เปรียบเทียบระหว่างเขตสุขภาพ
หลักการก็คือ นำอัตราตายในแต่ละกลุ่มอายุมาคูณกับจำนวนประชากรมาตรฐานในแต่ละกลุ่มอายุ จะได้จำนวนการตายที่คาดการณ์ เพื่อนำมาเทียบกันได้
แต่จากภาพ เป็นการเปรียบเทียบในประเทศ เขตสุขภาพแต่ละเขตอาจจะมีโครงสร้างประชากรไม่ต่างกันมากนัก (ไปในทางเดียวกัน) จึงไม่เห็นผลของความต่างระหว่างโครงสร้างประชากร แต่หากเทียบระหว่างประเทศก็น่าจะเห็นความต่าง
ดังนั้น เวลาฟังใครบอกว่า บ้านเราอัตราการตายน้อย (หรือมากกว่า ซึ่งก็แน่นอนไม่มีใครอยากพูดหากตัวเลขมากกว่า) ประเทศอื่น ก็อย่าพึ่งเชื่อว่าจริง ต้องระวังในการประเมินด้วย โดยอาศัยความรู้ดังที่กล่าวมา อย่างน้อยก็อาจถามคนพูดไปว่า "แล้วคุณได้คำนึงถึง ปัจจัยโครงสร้างประชากรหรือยัง ?"
เห็นไหม แค่ปัจจัยโครงสร้างประชากรก็ (ทำให้คนพูด) เหนื่อยแล้ว 555
อ้างอิง
-Age-Standardizes Death Rate: Comparative Mortality Figures - การคำนวณอัตราตายปรับฐานอายุ (Age-Standardizes Death Rate) เพื่อการเปรียบเทียบระหว่างพื้นที่ (https://thaidj.org/index.php/JHS/article/view/11734/10068)
-Age Standardization of Rates: A new WHO Standard (https://www.who.int/healthinfo/paper31.pdf)
-Age structure in Thailand from 2010 to 2020 (https://www.statista.com/statistics/331892/age-structure-in-thailand/)
โฆษณา