27 มี.ค. 2022 เวลา 14:31 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ประชากรที่ลดลงของประเทศญี่ปุ่นสร้างความกังวลอย่างไร
สังคมสูงวัยสร้างปัญหาต่อเศรษฐกิจอย่างไร........ เราควรจะรับมืออย่าไร
หากพูดถึงประเทศญี่ปุ่นจะต้องนึกถึงปลาดิบสุดแสนอร่อย และสิ่งต่อมาที่นึกถึงคงจะเป็นความสะอาดและความเป็นระเบียบ ถ้าหากลองสังเกตดู จะพบว่าพนักงานบริการส่วนมากมักเป็นผู้สูงอายุ ไม่ว่าจะเป็นคนขับแท็กซี่ พนักงานเสิร์ฟอาหาร หรือแม้แต่เจ้าของร้านค้า อย่างที่เราทราบกันดีว่าประเทศญี่ปุ่นนั้นก้าวสู่สังคมสูงอายุเป็นประเทศแรกๆ ญี่ปุ่นได้กลายเป็นสังคมผู้สูงอายุตั้งแต่ปี 2537 ด้วยสาเหตุของอัตราเด็กเกิดใหม่ที่ต่ำติดต่อกันมาตลอด ทำให้บรรดาธุรกิจ SME ขนาดเล็กจำนวนมากไม่มีผู้สืบทอดกิจการ คาดว่าในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าประเทศไทยเองก็จะก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุเต็มขั้น ดังนั้นประเทศไทยจะต้องเตรียมความพร้อมในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมสูงอายุแบบเต็มขั้นในอนาคต รวมทั้งประชากรส่วนใหญ่ของประเทศไทยยังไม่มีเงินที่เพียงพอไว้ใช้ในยามเกษียณอายุ ทำให้ยังคงต้องพึ่งพาลูกหลานเมื่อยามแก่เฒ่า
1
ปัจจุบันนี้ประเทศญี่ปุ่นอยู่ในประเทศที่มีผู้สูงอายุคิดเป็นสัดส่วนถึง 1 ใน 3 ของประชากรทั้งหมด การมีเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพทำให้อัตราการเสียชีวิตลดลงและอายุขัยของประชากรในประเทศเพิ่มขึ้น และปัญหาในเรื่องประชากรวัยเด็กและวัยทำงานที่มีจำนวนลดลง ซึ่งการมีประชากรในวัยทำงานที่ลดลงจะส่งผลทำให้ประชากรในวัยทำงานต้องทำงานนอกบ้านมากขึ้น และปัญหาในเรื่องประชากรวัยเด็กที่มีแนวโน้มลดลง เป็นผลมาจากความต้องการในการมีบุตรในปัจจุบันของประชากรมีแนวโน้มที่ลดลง
1. “แรงงานวัยหนุ่มสาวของประเทศญี่ปุ่นหายไปไหนหมด”
ประเทศญี่ปุ่นมีการกระจุกตัวของประชากรสูงในเขตเมืองซึ่งเป็นที่ราบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานหนุ่มสาว ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างในเมืองกับชนบทมากขึ้น ในเมืองกลายเป็นพื้นที่ของคนหนุ่มสาว และชนบทกลายเป็นพื้นที่ของคนสูงอายุ ชนบทกลายเป็นพื้นที่ที่เรียบง่าย ไม่ได้เป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เพราะไม่มีธุรกิจเกิดใหม่ อันเป็นผลมาจากการมีแต่ผู้สูงอายุ แต่ในขณะที่ในเมือง มีแต่ธุรกิจเกิดใหม่ มหาวิทยาลัย นักศึกษา แรงงานวัยหนุ่มสาว ที่ต่างก็พากันเข้ามาในเมือง ซึ่งจะส่งผลเสียต่อเศษฐกิจของประเทศ ดังนั้นเป้าหมายการวางแผนในเรื่องการออมเงินเพื่อใช้หลังเกษียณจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากของชีวิต
2
2. “สังคมสูงวัยของประเทศญี่ปุ่นส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจมากน้อยแค่ไหน”
โครงสร้างประชากรของปะเทศญี่ปุ่นจะเป็นเหมือนระเบิดเวลาทางสังคมและเศรษฐกิจ เมื่อมีจำนวนผู้สูงอายุจำนวนมาก อาจหมายความว่า ผลิตภาพการทำงานของประเทศกำลังจะลงลดน้อยลงด้วย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างมากในอนาคต เพราะจะพบว่าธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดย่อม เจ้าของกิจการส่วนมากเป็นคนสูงอายุที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ซึ่งธุรกิจส่วนมากเหล่านี้ไม่มีผู้สืบทอด แสดงให้เห็นว่าในอีกไม่ช้าธุรกิจเหล่านี้จะค่อยๆล้มหายตายจากไป การเข้าส่สังคมสูงวัยนั้นส่งผลกระทบต่อความต้องการบริโภคด้วย ซึ่งทำให้สินค้าที่ขายดีในประเทศญี่ปุ่นเปลี่ยนแปลงไป ผู้ผลิตต้องปรับเป้าหมายทางการตลาด ให้สอดคล้องกับความต้องการผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป
3.” ความเชื่อมโยงสังคมสูงอายุของญี่ปุ่นกับสังคมไทย”
หนุ่มสาววัยทำงานต้องแบกรับภาระงบประมาณในเรื่องสวัสดิการในการดูแลผู้สูงอายุจำนวนมหาศาล ความไม่ต้องการมีบุตรของหนุ่มสาวในปัจจุบัน ที่สืบเนื่องมาจากความกังวลถึงความไม่แน่นอนในเรื่องรายได้ในอนาคต ในขณะที่แรงงานไทยกำลังเจอกับภาวะการว่างงานเป็นจำนวนมาก ซึ่งสวนทางกับญี่ปุ่นที่ขาดแคลนแรงงาน สำหรับประเทศไทยเองก็เข้าสังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ในปี 2565 นี้ ผู้สูงอายุในอนาคตนั้นจะมีระดับการศึกษาโดยเฉลี่ยสูงขึ้น และมีแนวโน้มครองโสดถาวร และไม่มีบุตร ซึ่งผู้สูงอายุที่ไม่มีบุตร และไม่มีหลักประกันรายได้ยามชราภาพแบบทางการจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น โดยจำนวนและสัดส่วนประชากรวัยผู้สูงอายุในอนาคตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ประเทศไทยถูกคาดการณ์ว่าจะเป็นประเทศกำลังพัฒนาประเทศแรกของโลกที่ก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุแบบสมบูรณ์ ขยับขึ้นเป็นสังคมสูงอายุแบบสุดยอด
1
ญี่ปุ่นทำอย่างไร รัฐบาลญี่ปุ่นพยายามแก้ปัญหาหลายวิธี การนำหุ่นยนต์และเครื่องจักรมาใช้ การปรับปรุงสภาพการทำงาน เช่น ลดชั่วโมงทำงาน การเพิ่มค่าจ้าง แต่ที่สำคัญมากคือการเพิ่มการนำเข้าแรงงานต่างด้าว แต่ก่อนญี่ปุ่นมีความเป็นเอกภาพทางชาติพันธุ์สูง แต่ปัจจุบันนี้สถานการณ์บังคับให้จำเป็นต้องพึ่งและหาแรงงานต่างชาติโดยเร่งด่วน แรงงานต่างด้าวในญี่ปุ่นส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า การเคลื่อนไหวครั้งสำคัญของญี่ปุ่นคือการเปิดทางรับแรงงานต่างด้าวเพิ่มขึ้นโดยออกกฎหมายเพื่อเพิ่มจำนวนแรงงานต่างด้าวกึ่งทักษะให้สามารถทำงานและอยู่อาศัยในญี่ปุ่นได้เป็นเวลา 5 ปี ประสบการณ์ของญี่ปุ่นในเรื่องนี้น่าจะมีประโยชน์สำหรับผู้เกี่ยวข้องในประเทศไทย 2 ด้าน คือ ด้านแรก การส่งแรงงานออกไปทำงานต่างประเทศ และด้านที่สอง การบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติในประเทศ
ประเด็นปัญหาสำคัญของประเทศไทยเมื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ คือ คนไทยส่วนใหญ่ ยังไม่มีเงินเพียงพอไว้ใช้ในยามเกษียณในช่วงบั้นปลายชีวิต รายได้เฉี่ลยต่อครัวเรือนยังน้อย ถ้าเทียบกับหนี้สินครัวเรือน และปัญหาด้านแรงงานที่ในปัจจุบันกำลังมีอัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้น อันเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ดี ดังนั้นทั้งคนไทยและรัฐบาลควรให้ความสำคัญในการเตรียมความพร้อมในการรับมือกับการเป็นสังคมผู้สูงอายุ
โฆษณา