28 มี.ค. 2022 เวลา 22:59 • ความคิดเห็น
“Ukraine Strikes Back”
จรวดร่อน Neptune ของยูเครนเริ่มถูกนำมาใช้โจมตีเรือของรัสเซีย
1
จาก VDO และภาพจากสำนักข่าวต่างๆ ที่เปิดเผยว่า เรือยกพลฯ (Landing Ship) ที่ใช้ในการเคลื่อนย้ายกำลังพลและอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพรัสเซีย ชื่อ Orsk ถูกโจมตีและได้รับความเสียหายดังภาพ
6
ที่มา https://gcaptain.com/russian-landing-ship-docks-ukraine/
คำถามสำคัญข้อที่ 1 คือ
อาวุธของยูเครนชนิดใดที่ถูกนำมาใช้ในการโจมตี ?
1
เพราะ การส่งกำลังบำรุงคือสิ่งสำคัญอันดับต้นๆ ในการทำสงคราม ดังนั้น เรือยกพลฯ ที่ใช้ในการขนส่ง สิ่งอุปกรณ์ (สป.) และอาวุธยุทโธปกรณ์ จึงควรได้รับการปกป้องเป็นอย่างดี ประดุจดั่งไข่ในหิน
ดังนั้น การเจาะไข่นี้ได้ย่อมต้องใช้อาวุธที่ทรงประสิทธิภาพ ซึ่งอาจเป็นตัวเปลี่ยนเกม (Game Changer)
ดังเช่น อาวุธต่อสู้รถถัง Javelin ที่ช่วยสกัดการบุกของรัสเซีย ซึ่งใช้รถถังหลัก M-90 และรถถังรอง M-72
สามารถอ่านย้อนหลัง อาวุธต่อสู้รถถัง Javelin ได้ที่ https://www.blockdit.com/posts/623f8de962b3c18f1d1db8fd
4
บางแหล่งข้อมูลระบุว่าเป็นจรวดมิสไซล์ Tochka-U ซึ่งเป็นเทคโนโลยีก่อนการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ทำให้เมื่อพิจารณาดูแล้ว “อาจเป็นไปไม่ได้” ในการที่จะดูแลรักษาอาวุธที่มีอายุเกิน 30 ปี ให้ยังใช้งานได้
7
อาวุธที่ดูมีความเป็นไปได้ว่ายูเครนใช้ทำลายเรือ Orsk คือ จรวดมิสไซล์ Neptune ซึ่งมีข้อมูลสำคัญดังนี้
6
คำถามสำคัญข้อที่ 2 คือ
การจะเป็นตัวเปลี่ยนเกม (Game Changer) ได้ จำเป็นต้องมีอะไรบ้าง ?
ข้อ 1. ขีดความสามารถเหมาะสม : พิจารณาจากรัศมีการยิงของ Neptune คือ 280 กิโลเมตร “พอฟัดพอเหวี่ยง” และอาจเหนือกว่า จรวดร่อน (Cruise Missile) รุ่น 3M-54 Kalibr ของรัสเซียที่มีระยะยิงอย่างน้อย 220 กิโลเมตร
สามารถอ่านย้อนหลังเรื่อง จรวดร่อน (Cruise Missile) รุ่น 3M-54 Kalibr ได้ที่ https://www.blockdit.com/posts/623cc3f42e3011842ab1fb2a
7
ที่มา https://www.overtdefense.com/2022/01/26/neptune-analyzing-ukraines-anti-ship-missile/
ข้อ 2. ปริมาณที่เพียงพอ : ถือเป็นปัญหาใหญ่ เพราะ ยูเครนมี Neptune ประจำการอยู่ในปริมาณที่ไม่มาก และที่สำคัญตัวจรวดมีขนาดใหญ่จึงยากต่อการเคลื่อนย้ายให้ปลอดภัย โดยมิให้กำลังรบฝ่ายรัสเซียเข้าสกัดกั้น
8
ที่มา https://www.overtdefense.com/2022/01/26/neptune-analyzing-ukraines-anti-ship-missile/
มองยูเครนในภาวะสงครามแล้ว ลองมองประเทศไทยในภาวะสงบ
ทำให้เกิดความคิดที่ว่า
การจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ให้มีขีดความสามารถ “เหมาะสม” ในปริมาณที่ “เพียงพอ” เป็นสิ่งท้าทายความสามารถของผู้บัญชาการทหารทั้ง 4 เหล่า (กองบัญชาการกองทัพไทย, กองทัพบก, กองทัพเรือ, กองทัพอากาศ) โดยเฉพาะในยุคที่ประเทศมีงบประมาณจำกัด และต้องมุ่งดูแลเศรษฐกิจที่ค่อยๆ ฟื้นตัวหลังจากสถานการณ์ COVID เริ่มคลี่คลาย
5
"แม้หวังตั้งสงบ จงเตรียมรบให้พร้อมสรรพ
ศัตรูกล้ามาประจัน จะอาจสู้ริปูสลาย"
บทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6
11
โฆษณา