30 มี.ค. 2022 เวลา 03:33 • หนังสือ
ปลุกพลังการอ่าน จุดไฟการคิดวิเคราะห์แบบ Critical Thinking
Jim Trelease
เคยมีนักวิชาการที่มีชื่อเสียงในการทำหนังสือน่าอ่านให้เด็กชื่อ Jim Trelease กล่าวไว้อย่างน่าคิดว่า "เมื่อไรก็ตามที่เราเริ่มใช้ชีวิตตามสิ่งที่เราเคยรู้มาโดยไม่อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเลย เรากำลังใช้ชีวิตอยู่ในอันตราย"
แน่นอนว่าคำพูดแบบนี้สะดุดหูคนเป็นครูสอนอ่านอย่างดิฉันไม่น้อย เพราะหลายครั้งเรามักเลือกที่จะสอนนักเรียนลูกหลาน มาตามสิ่งที่เราเคยถูกสอนมา หรืออ่านมา โดยที่ลืมไปว่าโลกมันเปลี่ยนแปลงทุกวัน โดยเฉพาะยุคนี้ที่มีสื่อโซเชียลมีเดียมากมาย หากเรายังปิดกั้นตัวเอง บกพร่องข้อมูล ไม่อ่านหนังสือที่มีประโยชน์ให้เป็นนิสัย เราจะเอาอะไรไปสอนลูกหลาน
ในประเทศที่พัฒนาแล้วเช่น อเมริกา นักวิชาการต่าง ๆ พยายามหาทางแก้ปัญหาให้ประชาชนในประเทศหันมาสนใจการอ่านหนังสือ โดยมีหลักสูตร Sustain Silent Reading คือ มีคาบเรียนให้นักเรียนเลือกอ่านหนังสืออะไรก็ได้ที่ตัวเองชอบ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นตำราเรียน โดยแต่ละโรงเรียนมีการเรียกชื่อหลักสูตรไม่เหมือนกัน บางที่ก็เรียกว่า Free Voluntary Reading (FVR)
เราทุกคนทราบดีว่าการอ่านสำคัญมาก แต่หลายครั้งเราไม่เข้าใจการอ่านอย่างแท้จริง หลายครั้งที่การศึกษาถูกทำเป็นธุรกิจ จนต้องเอาอกเอาใจนักเรียนที่เรียนอ่อน อ่านไม่ได้ เราพยายามเอาใจเด็กแต่เราไม่เยียวยาการไม่รู้หนังสือของเค้าเลย
จริง ๆ แล้วการศึกษาควรหาวิธีกระตุ้นให้เด็กมีใจชอบการอ่าน ทำหลักสูตรการอ่านให้สนุก เลือกหนังสือที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ รวมทั้งทันสมัยด้วย และครูผู้สอนก็ควรเป็นคนชอบอ่านและอ่านให้เด็กฟังบ้าง รวมทั้งให้เค้าไปอ่านเองตามเหมาะสม มากกว่าการเอาใจนักเรียน โดยการปล่อยให้เค้าเรียนจบพร้อมกับการอ่านไม่ได้ (Illiteracy) หรือไม่ชอบอ่านหนังสือ (Aliteracy) เมื่อไรก็ตามที่การเรียนเป็นถูกทำเป็นการค้า เรากำลังผลิตคนไม่มีความรู้เป็นจำนวนมากในแต่ละปี โดยพวกเราไม่ทันระวังว่า นักเรียนแต่ละรุ่นนั้นอ่านไม่ออก หรือไม่มีแรงบันดาลใจในการอ่านเลย
ปัญหาในการอ่านภาษาอังกฤษนั้นแยกออกเป็นสองแบบ คือ การอ่านไม่ออก และไม่ชอบอ่าน และจัดว่าเป็นปัญหาฝาแฝดคุกคามประเทศ (Twin Menace) มีผลต่อเศรษฐกิจ สังคม และการยกระดับมาตรฐานประชากร
เมื่อการอ่านมีปัญหา หากไม่ได้รับการแก้ไขแล้ว มันมีผลกระทบต่อชีวิต ทำให้แนวความคิดแคบ ไร้เหตุผลในการวิเคราะห์ เกิดการฟังแล้วเชื่อทันที เพราะไม่ได้ไปหาอ่านเพิ่ม
ปัญหาหลักๆของการอ่านภาษาอังกฤษในประเทศต่างๆทั่วโลกมีดังนี้ค่ะ
• Illiteracy
คืออ่านไม่ออก เพราะไม่มีโอกาสได้เรียน ซึ่งมักเกิดจากปัญหาความยากจน หรือมักเกิดในประเทศที่มีความรุนแรงจนเป็นเหตุให้การศึกษาต้องหยุดชะงักเป็นปีๆ • Functionally illiterate คือ ภาวะการรู้หนังสือแต่ไม่สามารถเขียนออกมาได้ ซึ่งเกิดในทุกประเทศทั่วโลก แม้แต่ประเทศที่ถูกมองว่าเจริญก้าวหน้าเช่น อเมริกา ซึ่งต่างจาก Absolute Illiterate คือการไม่รู้หนังสือเลย สาเหตุเกิดจากการอ่านหนังสือน้อยเกินไป อ่านจับใจความไม่ได้ อ่านในวงแคบและไม่ลึก จึงขาดความสามารถในการตีความ จับใจความ และเขียน
• Aliteracy คือ ภาวะการอ่านออก แต่ไม่ชอบอ่าน ซึ่งเป็นผลมาจากการฝึกใช้ประโยชน์การอ่านมาน้อย (Functionally illiterate ) ไม่มีต้นแบบ role model ในการอ่าน ไม่ถูกปลูกฝัง และผลที่ตามมา จะมีความคิด และการตัดสินใจในชีวิตก็จะที่ไม่ต่างไปจากคนไม่รู้หนังสือ หรือ Illiteracy
องค์กร UNESCO เคยทำงานวิจัยออกมาใน INTERNATIONAL BOOK YEAR โดยอธิบายว่า ในยุโรปมีการผลิตงานเขียนออกมา 57% ของคนในประเทศ แต่มีผู้อ่านไม่ถึง 47%
ทักษะการอ่านในระดับปานกลางจริง ๆ แล้วคือ กับดัก ที่ทำให้เราใช้ชีวิตราวกับคนไม่รู้หนังสือในเวลาต่อมา บางคนอาจเคยได้ยินประโยคที่ว่า ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด จริงๆแล้วมาจากความรู้ที่ยังไม่แตกฉาน ไม่มีการแสวงหาความรู้เพิ่มเติม ติดกับกับความคิดเดิม ๆ จึงทำให้ได้ใช้การคิดวิเคราะห์ที่เบา หรือบางคนไม่มีโอกาสได้ใช้เลย จึงเข้าใจแบบท่องจำ หรือเชื่อโดยไม่มีเหตุอันสมควร
หากเราฝึกอ่านภาษาอังกฤษจริง ๆ จัง ๆ โดยมีผู้เชี่ยวชาญช่วย จะสามารถอ่านได้ดี และปรับสมดุลย์การอ่านไม่ให้เครียดเกินไป เราไม่จำเป็นต้องอ่านเพื่อสอบ เพื่อทำงาน เพราะการอ่านสร้างความคิดที่ผ่อนคลาย หากวันนี้คุณเข้าใจการอ่าน วิธี และจุดเด่นของคนอ่านเก่งได้แล้ว ก็จะสามารถนำสิ่งที่ได้จากการอ่านไปต่อยอดชีวิต และเพิ่มมาตรฐานการคิดในเชิงตรรกะ หรือการคิดแบบมีการวิเคราะห์ (Critical Thinking)ได้อย่างแท้จริง
ครูฮ้วงทอล์คชิลล์
KhruHuang Talk Chill
โฆษณา