1 เม.ย. 2022 เวลา 16:21
วันนี้ ไม่มีอะไรมาก แค่...
ยกตัวอย่าง ให้ฟัง ในฐานะทนายความ
เวลาออกสื่อ ต้องระวังคำถาม
ถามว่า
คุณเคยถาม 5 คนนั้นมั้ย ว่า หายไปไหนคืนนั้น...?
คำตอบ ควรจะตอบตามที่ตนรู้เห็นจริง
คือ เคยถาม คน 5 คนนั้น หรือไม่เคยถามคน 5 คนนั้นเลย
หรือเคยถามบางคน
ถ้าเคยถาม ตอบว่า "เคย"
ก็จะถูกถามต่อว่า เขาตอบว่าอย่างไร?
ถ้าไม่เคยถาม ก็ตอบเรื่องจริงว่า "ไม่เคย"
เต็มที่ก็ถูกถามต่อว่า "คุณคิดว่าทำไมเขาไม่อยู่ตามเพื่อนในคืนนั้น?"
ก็ตอบไปว่า "ผมไม่รู้ ต้องไปถาม 5 คนนั้น"
แค่นี้ ก็จบประเด็นนี้ไปแล้ว.....แต่ก็..สุดแต่ใครจะไขว่คว้า..!!!
ในการสอบสวนชั้นสอบสวน
ทนายความผู้เสียหาย ไม่อยู่ในฐานะที่จะไปถามผู้ต้องหาในคดี
เพราะคำถามต่างๆ เป็นเรื่องที่คาดหมายได้ว่า พนักงานสอบสวนต้องจัดการสอบสวน ตั้งคำถามอยู่แล้ว และ
เมื่อทนายความผู้เสียหาย ไม่ได้ร่วมในการสอบสวน
การกล่าวข้อเท็จจริงใดๆ ที่รับรู้มาจากการสอบสวน
จึงต้องพึงระวัง
และทนายความที่ดี จะไม่นำข้อมูลในสำนวนสอบสวน
มาเปิดเผย และไม่ควรคาดเดาหรือคิดเอาเองในข้อเท็จจริงใดเพื่อเผยออกสู่สาธารณะ
การคาดเดาการกระทำของคนอื่นที่เกี่ยวข้องกับคดี ไม่ควรกระทำ
หากทนายความ เห็นว่า การสอบสวนไม่ตรงไปตรงมาตามกฎหมาย
ทนายความมีสิทธิร้องขอความเป็นธรรมได้ตามระเบียบขั้นตอน
หรือชี้แจงข้อเท็จจริงที่รับรู้พร้อมหลักฐานต่อพนักงานสอบสวนได้ และจะเป็นหลักฐานในสำนวนสอบสวนตลอดไปจนถึงชั้นศาล
#กฎหมายให้สิทธิแก่ #ผู้ต้องหาให้มีทนายความ และเข้าร่วมฟังการสอบสวนได้
ส่วนทนายความผู้เสียหายหรือทนายความพยาน คงทำได้เพียง ร้องขอเข้าฟังการสอบสวน ตามแต่ที่พนักงานสอบสวนจะอนุญาต
(ซึ่งทางปฏิบัติ พนักงานสอบสวนมักจะไม่อนุญาตในขณะสอบปากคำพยาน แต่ก็อนุโลมให้ทนายความร่วมฟังกรณีการสอบปากคำผู้เสียหาย)
สิ่งที่ผมปฏิบัติเสมอ ในฐานะ
#ทนายความผู้เสียหาย หรือ #ทนายความของพยาน ที่ถูกเรียกไปให้การในคดีใดๆ โดยไม่จำต้องเข้าร่วมฟังการสอบปากคำผู้เสียหาย หรือพยานเลย
คือ การซักซ้อมให้ตอบตามข้อเท็จจริง โดยกำชับอย่างที่สุด ให้ตอบคำถามตามที่ตนเกี่ยวข้อง ห้ามเดา ห้ามเขาเล่าว่า ห้ามสงสัยว่า ห้ามคิดแทนเขา ห้ามอวดรู้ และให้กล้าพูดคำว่า ไม่ทราบ ไม่เกี่ยวกับตน
และที่สำคัญที่สุด
ให้อ่านบันทึกคำให้การตัวเองให้เข้าใจก่อนลงชื่อ
(พนักงานสอบสวนจะพิมพ์บันทึกคำให้การระหว่างการถามตอบ)
ส่วนใดที่เป็นความคิดความเห็นของตัวเอง ต้องลบออก
หากพนักงานสอบสวนไม่ยอมลบ ก็ให้บันทึกชัดเจนว่าเป็นความเห็นไม่ยืนยัน มิฉะนั้นจะต้องไม่ลงชื่อ
และร้องขอออกมาปรึกษาผมที่นั่งรอด้านนอกเสียก่อน
เท่านี้ ทนายความก็จะเข้าอยู่ในกระบวนการของความยุติธรรม
ได้ทุกชั้นกระบวนการอย่างดี เพราะเราไม่เข้าแทรกแซงอำนาจหน้าที่กัน
และที่สำคัญ ทนายความต้องฉลาดที่จะทำการ
ร้องขอความเป็นธรรมหรือร้องขอชี้แจงข้อเท็จจริง
ซึ่งถือเป็น "Know How skill" ไม่ใช่ "Light Eating skill"
รวมทั้ง ตราบใดที่ยังไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหาให้ลูกความของเรา เท่ากับยังไม่มีการแจ้งสิทธิผู้ต้องหาที่จะมีทนายความตามกฎหมายฉะนั้น ทนายความที่จะมีอำนาจเข้าร่วมฟังการสอบสวนในการสอบปากคำของผู้ต้องหาได้ ลูกความของเราก็ต้องถูกแจ้งข้อกล่าวหาแล้วเท่านั้น
และถึงแม้ว่าจะเป็นทนายความผู้ต้องหาแล้ว ก็ไม่มีกฎหมายให้สิทธิทนายความผู้ต้องหา เข้ายุ่งเกี่ยวกับการสอบสวนของพนักงานสอบสวน
ตรงนี้ ทนายความมักแกล้งไม่เข้าใจ หรือไม่เข้าใจจริง ๆ
แล้วมากล่าวหาว่า ตำรวจไม่ให้ความเป็นธรรมบ้าง ไม่ให้สิทธิทนายความบ้าง เพราะเข้าใจผิดว่าทนายความสามารถเข้าฟังการสอบปากคำได้ทั้งหมด มันไม่ได้เป็นเช่นนั้น ....
กฎหมายไม่ได้อนุญาตให้สิทธิทนายความเข้ายุ่งเกี่ยวกับการสอบสวนขนาดนั้น
ทนายความอยู่ได้ ร่วมฟังได้เฉพาะการสอบสวนผู้ต้องหา
ตามสิทธิผู้ต้องหา
ทนายยง
Legal Mind by TanaiYONG
โฆษณา