1 เม.ย. 2022 เวลา 18:08
วันหวยรัฐบาลไทย
"มังกรฟ้า"
กรณีศึกษา จากข้อเท็จจริงตามข่าว
เป็นที่ทราบดี ว่า สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
มีการจำหน่ายล็อตเตอรี่ ตามโควต้า
โควต้าที่ให้กับประชาชนทั่วไป
โดยมีเงื่อนไข สรุปคือ
ต้องจำหน่ายสลากด้วยตนเองตามราคาที่กำหนด
ต้องจำหน่ายสลาก ด้วยวิธีจำหน่ายปลีกแก่ผู้บริโภคโดยตรง
ห้ามขายส่งให้กับผู้ที่จะนำไปจำหน่ายต่ออีกทอดหนึ่ง
โควต้าสมาคม มูลนิธิหรือองค์กรการกุศล ก็มีเงื่อนไขให้จัดสรรสลากแก่สมาชิกอย่างเป็นธรรม
คือไม่ว่าจะโควต้าไหน ทางกองสลากมีจุดมุ่งหมายให้
นำสลากไปจำหน่ายโดยตรงแก่ผู้บริโภค
ไม่ใช่ ขายให้ยี่ปั้ว ซาปั้ว เอาไปรวมชุดขายอีกทอด
นี่คือ หลักการแก้ปัญหาราคาจำหน่ายปลีกตามราคาที่กำหนด
บริษัทผู้สร้างแอพพลิเคชั่นขายสลากออนไลน์ ทำอย่างไร?
เท่าที่ผมทราบ
คือ มีบริษัทเป็นตัวกลาง ทำการ scan ภาพสลากออกขายทางแอพพลิเคชั่นหรือเวบไซท์ ให้กับผู้ได้รับโควต้า
แบบนี้ คือ กลุ่มผู้ค้าที่ได้รับโควต้า ผิดเงื่อนไขหรือไม่
ขึ้นอยู่กับสัญญาที่ผู้ค้าทำกับสำนักงานสลากฯ ซึ่งผมไม่เคยเห็นข้อความว่ามีข้อกำหนดรายละเอียดเพียงใด
แต่ในเวบไซท์ของสำนักงานสลาก มีเงื่อนไขเพียงให้จำหน่ายโดยตรงแก่ผู้บริโภคโดยตรง แล้วการขายทางเวบไซท์หรือถ่ายรูปขายออนไลน์ มันไม่ขายให้กับผู้บริโภคโดยตรงหรืออย่างไร?
บริษัทที่จัดการเป็นตัวแทนการขายสลาก
ไม่มีกฎหมายห้ามเป็นตัวแทนหรือห้ามจัดการการขาย ถ้าตราบใดที่บริษัทเหล่านั้นไม่ได้ทำการตกลงซื้อขายตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่เป็นข้อตกลงในลักษณะตัวแทน/นายหน้า อย่างมีบำเหน็จ
เงื่อนไขต่างๆ ในสัญญาของสำนักงานสลากฯ ก็เป็นข้อตกลงสองฝ่ายระหว่างสำนักงานสลากฯ กับผู้ได้รับโควต้า
ไม่ได้มีเงื่อนไขสัญญากับบริษัทที่เป็นตัวแทน
ส่วนค่าบำเหน็จของการเป็นตัวแทนนายหน้า ตามกฎหมายแล้ว
ฝ่ายผู้ค้าหรือผู้ซื้อจะต้องจ่าย หรือจะจ่ายร่วมกันก็ได้
บริษัทคนกลางที่ขายออนไลน์ จึงอ้างต่อสู้ว่า ข้อตกลงในารเป็นคนกลางขายผ่านออนไลน์ คือ การเก็บรักษาสลากไว้
ปัญหาเรื่องนี้ จึงอยู่ที่ข้อตกลงของบริษัทกับผู้ได้รับโควต้า
ว่า ผู้ได้รับโควต้า ได้โอนกรรมสิทธิในทรัพย์สินที่ขายคือสลาก
ให้แก่บริษัทคนกลางหรือไม่?
ปัญหานี้ พิจารณาง่ายครับ
ง่ายจน ผมอยากเตือนให้ เจ้าพนักงานที่ตรวจค้นจับกุม
ต้องระมัดระวังพิจารณาให้ดี การออกหมายค้นก็เช่นกัน
ควรพิจารณาเกี่ยวกับการออกหมายค้นให้รอบคอบด้วย
เพราะเมื่อเริ่มเข้าตรวจค้น เจ้าพนักงานก็อ้างว่าบริษัทกว้าน
ซื้อสลาก กลุ่มผู้ค้าที่ได้รับโควต้า เต็มที่ก็ถูกเลิกสัญญา
มันก็จะเหลือจุดเดียว ที่ต้องตัดสินใจ ว่า
ที่ขายราคาเกินกว่า 80 บาท ใครเป็นคนขายเกินราคาที่ต้องรับโทษ ผู้ค้าที่ได้รับโควต้า หรือบริษัทตัวกลาง หรือทั้งคู่
หรือหากกรณี พบข้อเท็จจริงว่า ไม่มีการขายสลากเป็นทอด
คือผู้ค้าที่ได้รับโควต้าไม่ได้ขายให้บริษัท บริษัทก็ไม่ได้ซื้อสลาก
แต่สลากถูกโฆษณาขายเกินราคา ผู้ค้าที่ได้รับโควต้าก็ต้องรับโทษ
หากกรณี ผู้ค้าที่ได้รับโควต้าขายให้บริษัท และบริษัทขายต่อให้ผู้บริโภค เกินราคาทอดไหน คนขายเกินราคาทุกทอด ก็รับผิดทุกทอดไป
อุ้ย...!!!
จำหน่ายสลากเกินราคา ระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
ต่อการกระทำความผิดหนึ่งกรรม นะ
ทำการสอบสวน ดี ๆ ละคร๊าบบบบ
ส่วนผู้จำหน่ายสลากที่ไม่ได้เป็นตัวแทนจากสำนักงานสลากฯ
ตาม พรบ.สำนักงานสลากฯ มีกำหนดโทษหรือไม่นะ
ในฐานะนักกฎหมาย ให้พิจารณาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้ดี
เพราะการออกสลากขาย มันก็แค่กระบวนการการค้าขายทางพาณิชย์ ในโลกที่มีหลักการค้าเสรี แต่จำกัดเฉพาะให้รัฐบาลทำเนื่องจากมันเป็นสลากกินแบ่ง คือ
กินรายได้จากการขาย และเอารายได้นั้น มาแบ่งเป็นรางวัลแก่ผู้ซื้อ
มันไม่เหมือนการขายสิ่งที่กฎหมายบัญญัติเป็นความผิด
อีกประการหนึ่ง คือ
ทนายยง มีข้อให้พิจารณา ในประเด็น
หากสลากจำหน่ายไม่หมด ใครเป็นเจ้าของสลาก แต่เรื่องนี้คงยากที่จะหาคำตอบมั้ง งั้นเสนอให้อีกประเด็น ให้พิจารณา คือ
เมื่อสลากถูกรางวัล ใคร เอาเงินรางวัลจากไหน ไปให้ผู้ถูกสลาก
ไอเดียดี...แต่ตกม้าตาย...เพราะการตลาด..!!!
ไปคิดเอาละกันนะ ครับ
บริษัทคนกลาง ควรผิดกฎหมายใดหรือไม่?
บริษัทคนกลาง ควรถูกปิดเวบไซท์ตามกฎหมายใด?
ผลของคำสั่งศาล จะเป็นสิ่งที่วัด ความก้าวหน้าทางด้านความยุติธรรม ในฐานะที่เป็น
องค์กรหนึ่งในสามฝ่าย ของระบอบประชาธิปไตย
นิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ
ทนายยง
Legal Mind by TanaiYONG
โฆษณา