2 เม.ย. 2022 เวลา 08:41 • หุ้น & เศรษฐกิจ
Oppday FORTH Q4/2021 ⭐ : รายได้ 2,700 ลบ. เติบโต 30% แต่กำไรสุทธิลดลง 2% เหลือ 227 ลบ. โดยปีนี้ตั้งเป้ารายได้เติบโตที่ 20% และจะตั้งตู้เต่าบินเป็น 5,000 ตู้
Published: 04 Mar 2022
วันนี้พบกับ บริษัท ฟอร์ท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือใช้ตัวย่อในตลาดว่า FORTH ซึ่งประกอบธุรกิจ EMS, Enterprise Solution และ Smart Services โดยผลการดำเนินงานในปี 2021 สามารถสร้างรายได้ 8,813 ลบ. เพิ่มขึ้น 24% และกำไรสุทธิ 722 ลบ. ซึ่งขาดทุนเพิ่มขึ้นถึง 64% จากปี 2020
🚩1. ลักษณะธุรกิจ
✔ ธุรกิจ Forth แบ่งได้เป็น 3 ธุรกิจหลักๆ
1. EMS Business: รับจ้างผลิตประกอบแผงวงจรและสินค้าอิเล็กทรอนิกส์สำเร็จรูป (PCBA and Box-build) โดยมีลูกค้าที่อยู่ในอุตกสาหกรรมยานยนต์ อุปกรณ์การแพทย์ อุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม โดยรูปแปบแรกจะเป็นแบบ Consign Parts ซึ่งลูกค้าเป็นคนจัดเตรียทวัตถุดิบให้ทำให้บริษัทไม่มีความเสี่ยงเรื่องของวัตถุดิบ และรูปแบบที่สองจะเป็นแบบ Turnkey ซึ่งบริษัทต้องเป็นผู้รับผิดชอบเรื่องของวัตถุดิบ นอกจากนี้ยังมีธุรกิจ Trading ซึ่งจำหน่ายชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เช่น Electronic Component, Semiconductors, Industrial Automation และอื่นๆ
2. Enterprise Solutions Business: บริการจัดซื้อ จัดหา พัฒนา และวางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบสื่อสารครบวงจรให้กับภาครัฐและเอกชน เช่น สายรัดข้อเท้านักโทษ (Electronic Moniotring หรือ EM), Electronic Meter, หลอดไฟ LED, อุปกรณ์ชุมสาย MSAN, ระบบติดตามรถด้วย GPS, ระบบเรียกรถพยาบาล, ระบบสัญญาณไฟจราจรและควบคุมไฟจราจร เป็นต้น
3. Smart Services Business: บริการระบบชำระเงิน ธุรกรรมการเงิน และตู้อัตโนมัติ เช่น ตู้บุญเติมของ FSMART ที่ FORTH ถือหุ้นอยู่ 49.5% หรือ ตู้เต่าบินคาเฟ่ของ FVD (Forth Vending) ที่ FORTH ถือหุ้น 45%
✔ โครงสร้างรายมาจากสัดส่วนธุรกิจที่เท่ากันทั้ง 3 กลุ่ม
▪ EMS Business 30%
-> 18% = การผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
-> 12% = การขายชิ้นส่วนอิเล็กทรินิกส์
▪ Enterprise Solution 34%
-> 25% = งานโครงการจากภาครัฐและเอกชน
-> 8% = งานระบบสัญญาณไฟจราจร กล้องวงตรปิด และระบบป้ายอิเล็กทรอนิกส์
-> 1% = ระบบ ERP และอื่นๆ
▪ Smart Services Business: 33%
▪ Other: 3%
✔ บริษัทให้ความสำคัญกับ R&D และมีสินค้าจาก R&D เช่น
▪ ตู้คาเฟ่อัตโนมัติแบรนด์ “เต่าบิน”
▪ ตู้ Mini ATM แบรนด์ “บุญเติม”
▪ ตู้ e-KYC ยืนยันตัวตนอัตโนมัติ แบรนด์ “บุญเติม”
▪ สายรัดข้อเท้านักโทษ (Electronic Monitoring Device หรือ EM)
▪ ตู้ชาร์จรถ EV (EV Charging Station)
✔ นอกจากนี้ยังเตรียมตัวสำหรับธุรกิจในอนาคตอย่าง Aircraft Distribution และ Aircraft Maintenance Repair and Operations Service (MROs)
🚩2. ภาพรวมและผลการดำเนินงานที่ผ่านมา
◼️ภาพรวมปี 2021◼️
✔ รายได้ 8,513 ลบ. เพิ่มขึ้น 25% โดยหลักๆมาจาก EMS Business เพิ่มขึ้นถึง 110% เกิดจากการย้ายฐานการผลิตของลูกค้าในส่วนของแผงวงจรรับจ้างผลิตตั้งแต่ Q4/2020 นอกจากนี้ Enterprise Solutions Business เพิ่มขึ้น 21% จากการได้งานโปรเจค เช่น ระบบ Smart Metro Grid, งานเช่าสายรัด EM ของกรมคุมประพฤติและศาลยุติธรรม งานบำรุงรักษาโครงข่ายสายเคเบิลใยแก้วนำแสง งานขายพร้อมติดตั้งอุปกรณ์ Access Switch และขายรถโบกี้ปั้นจั่นกล
ในส่วนสุดท้ายของ Smart Services Busines ลดลง 6% จากการได้รับผลกระทบจากโควิดทำให้กำลังซื้อของผู้บริโคคระดับกลางไปจนถึงระดับล่างลดลง และแต่ละ Business มีสัดส่วนรายได้ที่พอๆกัน
▪ EMS: 31%
▪ Enterprise Solutions: 35%
▪ Smart Service: 34%
✔ ผลประกอบการมีรายได้ 8,513 ลบ. เพิ่มขึ้น 25% โดย EMS เพิ่มขึ้น เกิดจากการย้าฐานการผลิตของลูกค้าในส่วนของแผงวงจรรับจ้างผลิต Enterprise เพิ่มขึ้นจาก Projet ระบบ Smart Grid และงานเช่าอุปกรณ์ EM
✔ อัตรากำไรขั้นต้น (GPM) ภาพรวมลด 1ppt (Percentage Point) เหลือ 22% โดยมาจาก EMS ลดลง 7ppt เหลือ 21% จากการปรับลดราคาทุนของสินค้าคงเหลือให้เป็นมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ ในส่วน GPM ของ Enterprise Solutions ยังอยู่ในระดับเดิมที่ 23% แลพ GPM ของ Smart Services n ยังอยู่ในระดับเดิมที่ 22% เช่นกัน
✔ ภาพรวมค่าใช้จ่ายในการขายลดลง 19% เหลือ 95 ลบ. ส่วนค่าใช้จ่ายในการบริหารเพิ่มขึ้น 11% เป็น 956 ลบ. มาจากการขึ้นเงินเดือนและการจ่ายโบนัส และในส่วนของต้นทุนทางการเงินลดลง 11% เหลือ 77 ลบ. มาจากการลดของเงินกู้ระยะยาว ทำให้กำไรสุทธิเพิ่มขึ้นถึง 65% เป็น 722 ลบ. คิดเป็นอัตรากำไรสุทธิ (NPM) 8%
✔ อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E) อยู่ที่ 2.4 เท่า ส่วนถ้านับเฉพาะหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยต่อทุน (IBD/E) จะอยู่ที่ 1.3 เท่า
◼️ภาพรวมปี Q4/2021◼️
✔ รายได้ 2,700 ลบ. เติบโต 30% แต่กำไรสุทธิลดลง 2% เหลือ 227 ลบ.
🚩3. แผนงานในอนาคตและการเติบโต
◼️EMS Business◼️
✔ ปีที่แล้วได้งานจากลูกค้ารายใหญ่ในการผลิต Power Board ส่วนปี 2022 ยังได้ Order เพิ่มและสูงขึ้นกว่าปีที่แล้ว
✔ หาลูกค้ารายใหม่เพิ่ม และกำลังทดสอบสินค้าในอุปรกรณ์ทางการแพทย์และชิ้นส่วนของรถไฟฟ้าอยู่
✔ ขยายกำลังการผลิตสำหรับการขยายตู้เต่าบินคาเฟ่ 5,000 ตู้
◼️Enterprise Solutions Business◼️
✔ มี Backlog 920 ลบ.
▪ กรมคุมประพฤติ 318 ลบ.
▪ การไฟฟ้านครหลวง 86 ลบ.
▪ กรมการปกครอง 363 ลบ.
▪ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 157 ลบ.
✔ มีงานใน Pipeline อีก 9,700 ลบ. คาดว่าน่าจะเริ่มเซ็นสัญญาใน Q2 - Q3/2022 และคาดว่าจะได้งานต่อเนื่องจาก กำไลข้อเท้า, Trunked Radio, Smart Grid
▪ การไฟฟ้า 5 โปรเจค = 2,600 ลบ.
▪ กระทรวงมหาดไทยและอุดมศึกษา 2 โปรเจค = 2,100 ลบ.
▪ กระทรวงคมนาคม 2 โปรเจค = 2,000 ลบ.
▪ กระทรวงยุติธรรม 8 โปรเจค = 3,000 ลบ.
1
◼️Smart Business◼️
✔ ตู้บุญเติม: มองตู้บุญเติมผ่านจุดพีคมาแล้ว โดยทิศทางจะเน้นไป Cashless Society มากขึ้น
✔ EV Charger: เน้นการขาย EV Charger ให้ราคาต่ำที่สุด โดย FORTH มีจุดแข็งเรื่องระบบเก็บเงินหลังบ้านทั้งมี license ของแบงค์ชาติและระบบ Wallet
🐢ตู้เต่าบินคาเฟ่🐢
✔ ขยายโรงงานตู้เต่าบิน ใช้กาแฟในเมล็ดพันธุ์ที่ย่อมเยา และถ้าเปิดถึงในระดับ 5,000 ตู้ได้จะมีแผนการตั้งโรงคั่วกาแฟ โรงผลิตแก้ว โรงผลิตน้ำRO เอง
✔ มีทดลองขายโจ๊กในตู้เต่าเบิน
✔ ได้สิทธิในการขาย Pepsi และ Coke ในตู้เต่าบินและยอดขายของ Pepsi ติด Top 2 ตลอด
✔ มีสิทธิบัตรอยู่ 35 สิทธิบัตร มองว่าการเลียนแบบจะใช้ระยะเวลา โดยตู้เต่าบินสามารถเลือกเมล็ดกาแฟได้เอง
✔ มีแผนทำตลาดต่างประเทศโดยเริ่มที่ UK
✔ ขนาดตลาดเครื่องดื่มนอนแอลกอฮอล์มีมูลค่า 247,000 ลบ. แบ่งเป็น
▪ Soda 62,000 ลบ.
▪ Coffee 60,000 ลบ.
▪ Milk and Chocolate 60,000 ลบ.
▪ Energy Drink 20,000 ลบ.
▪ Tea 13,000 ลบ.
▪ Other 32,000 ลบ.
✔ โดยสินค้าของตู้เต่าบินคาเฟ่อยู่ในนั้นทั้งหมดยกเว้น Energy Drink ซึ่งตั้งเป้าหมายตั้งตู้ 20,000 ตู้ภายใน 3 ปี โดยคาดหวัง margin ที่ 60% ซึ่งหวังจำนวนแก้วที่ขายไว้ที่ 600,000 - 1,000,000 แก้วต่อวัน ซึ่งคิดเป็นเฉลี่ยที่ 30-50 แก้วต่อวัน โดยคาดว่าสามารถสร้างรายได้ที่ 6,000 - 10,000 ลบ.ต่อปี ส่วนตอนนี้ยอดขายเฉลี่ยต่อตู้อยู่ที่ 61 แก้วต่อวัน
✔ ตอนมี 818 ตู้ และตั้งเป้าหมายปีนี้ 5,000 ตู้ และปี 2023 ไปตั้งเป้าหมายจะมี 10,000 ตู้ และปี 2024 คาดว่าจะมี 20,000 ตู้ความเป็นไปได้
✔ จากจำนวน 818 ตู้ที่มี โดย 47% อยู่ในคอนโด, 20% ในโรงงาน, 12% ในห้าง, 2% ในระบบขนส่ง
✔ ตู้เป็นระบบออนไลน์ทั้งหมดโดยสามารถ Track ยอดขายต่อวัน จำนวนแก้วต่อวัน จำนวนตู้ที่ทำเงิน ได้ผ่านระบบทั้งหมด โดยที่ผ่านมายอดขายทำ New High เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
✔ ส่วนตออนนี้ติดปัญหาเรื่องการผลิต โดยมีชิ้นส่วนในตู้มากกว่า 7,000 ชิ้น และสามารถผลิตได้เพียงวันละ 15 ตู้
🚩4. ข้อมูลอื่นๆ จาก Section Q&A
◼️การเติบโต◼️
1
✔ การเติบโตจะมาจากทั้ง 3 ส่วนงาน โดยในส่วน Enterprise Solutions จะเป็นงานที่ต้อง Bidding แข่งขัน โดยโอกาสที่บริษัทจะได้งานต่อเนื่องจากงานเดิมมีค่อนข้างสูง
✔ ตั้งเป้าการเติบโตรายได้ไว้ที่ 20%
◼️EMS Business◼️
✔ งานแผงวงจร EV คิดเป็นสัดส่วนรายได้หลัก โดยจะได้ Order ปีต่อปี โดยปกติ 1 Model จะมี Order 3 - 5 ปี
✔ Margin จะอยู่ในระดับ 22 - 23%
◼️Enterprise Solutions◼️
✔ คาดว่าจะ Bidding ได้ 60% - 70% จากงานใน Pipeline ที่ 9,700 ลบ.
🐢ตู้เต่าบินคาเฟ่🐢
✔ การผลิตตู้ไม่ได้มีปัญหาเกี่ยวกับการขาดแคลนชิฟ
✔ กำลังอยู่ในระหว่างการเจรจาเพิ่มสัดส่วนหุ้นในตู้เต่าบินให้ FSMART
✔ เดือนมีนาคาดว่าจะตั้งตู้ได้ 400 ตู้ โดยตอนนี้ผลิตได้วันละ 10 - 12 ตู้ โดยตั้งเป้าไว้วันละ 15 ตู้
✔ จำนวนผู้ใช้บริการตอนนี้อยู่ที่ 50,000 คน (สมมุติ 1 แก้ว 1 คน)
✔ GPM ของเต่าบินที่เพิ่มมา 5ppt เป็น 65% มาจากการที่ Scale ตู้ได้เพิ่มขึ้น ทำให้อำนาจในการซื้อวัตถุดิบมีมากขึ้น และตอนนี้มี NPM ประมาณ 20%
✔ เป้าตั้งตู้เต่าบินปีนี้อยู่ที่ 5,000 ตู้ โดยตั้งเป้ายอดขายเฉลี่ยต่อวันที่ 50 แก้วและราคาขายเฉลี่ยต่อแก้วที่ 30 กว่าบาท
✔ โมเดลตู้เต่าบิน คือ FORTH ผลิตตู้ ลงทุนเรื่องอะไหล่ การคุณคุมภาพตู้ ส่วนตัวแทนจะหาพื้นที่วางตู้ เติมสินค้า เก็บเงิน และโอนเงินกลับมาให้ FORTH จากนั้นก็จะมาแบ่งกำไรกัน
◼️อื่นๆ◼️
✔ มีแผน Spin-Off บริษัท Forth Vending ที่เป็นเจ้าของเต่าบินออก โดยให้ Pre-emptive Right (สิทธิในการจองซื้อหลักทรัพย์ของบริษัทในเครือ) ให้ผู้ถือหุ้น FORTH และส่วนธุรกิจ EMS ก็มีแผน Spin-Off ออกภายใน 2 ปีเช่นกัน
💡 Key Takeaways & Ideas
▪ อันดับแรกของบอกว่าตู้เต่าบินนี่ร้อนแรงเป็นกระแสมากจริงๆครับ จนแอดต้องไปลอง และขอบอกว่าเป็นตู้ที่เหนือว่าคู่แข่งในตลาดจริงๆในเรื่องของจำนวนเมนูที่เยอะมาก การจ่ายเงินแบบไร้เงินสด รสชาติของสินค้า และการปรับแต่งเมนูเองตามใจชอบ ไปสุดท้ายถึงเรื่องราคา ใน่วนเรื่องรายได้ แอดจะให้ข้อสังเกตุว่ารายได้ของ FORTH มาจาก 3 ธุรกิจหลัก คือ EMS, Enterprise Solutions และ Smart Service
▪ ในส่วนธุรกิจ EMS ที่ GPM ลดลงมาจากการลดราคาทุนของสินค้าคงเหลือให้เป็นมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ อันนี้แอดแนะนำให้ถาม IR เพิ่มเติมนะครับ เพื่อที่จะวิเคราะห์ได้ว่ามันน่าจะเป็นเหตุการณ์ที่เป็นปกติรึเปล่า
▪ รายได้ของตู้เต่าบินจะอยู่ใน Smart Service จาก FVD ซึ่ง FORTH ถือ 45%, FSMART ถือ 19% แต่ FORTH ถือ FSMART ที่ 51% ถ้าให้คิดง่ายๆ คือ กำไรสุดท้ายหลังจากแบ่งให้กับตัวแทน 100 บาทจากตู้เต่าบินจะเป็นของ FORTH 55 บาท (45 บาทจาก FORTH เอง และ จาก FORTH ไปถือ FSMART อีก 10 บาท) และเพิ่มเติมที่เหลือใน FVD มีบริษัท Singha Corporation ถืออีก 20%
1
▪ บริษัทมีแผนจะ Spin-Off FVD ออกมาซึ่งน่าสนใจมากครับ ว่า FVD จะเปิดราคาเท่าเท่าไหร่ และบริษัทยังมีแผนให้คนถือหุ้น FORTH มีสิทธิ์ซื้อ FVD ได้ครับ
ขอให้สนุกกับการลงทุนครับ 😄
ถ้าชอบ Content ของแอดก็ขอกด Like กด Share เป็นกำลังใจให้แอดหน่อยนะครับ 😽
Reference:
▪ One Report บริษัท 2021
สามารถฟัง Oppday ตัวเต็มได้ที่ ▶️ https://www.set.or.th/streaming/vdo/4996?title=Opp%20Day
#ลงทุนลงดอย #OpportunityDay #OppdayQ42021 #เต่าบิน #FORTH
โฆษณา