4 เม.ย. 2022 เวลา 17:06 • สุขภาพ
📍ผิวแตกลาย หรือ รอยแตกลาย (Stretch Mark หรือ Striae) ดูแลได้อย่างไร ?
🔬รอยแตกลายเกิดจากการยืด-ขยายอย่างรวดเร็วของผิวหนังและเนื้อเยื่อ เช่น จากการตั้งครรภ์ นํ้าหนักที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้โครงสร้างคอลลาเจนถูกทำลาย จนเกิดรอยแตกลายบริเวณต่างๆ ซึ่งผิวแตกลายนั้น
•มักจะเกิดขึ้นที่ผิวหนังชั้นกลาง และเกิดในบริเวณที่มีไขมันสะสมอยู่มาก เช่น บริเวณหน้าท้อง หน้าอก เต้านม สะดือ ต้นแขน ต้นขา สะโพก รักแร้ และน่อง
Plast. Reconstr. Surg. 148: 77, 2021.

•ส่วนมากจะเจอปัญหานี้ตอนเด็กที่กำลังเข้าสู่วัยรุ่น เพราะเป็นวัยกำลังเจริญเติบโต หรือเกิดจากการมีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างรวดเร็วจนผิวหนังขยายตามไม่ทัน และปัญหาผิวแตกลายในสตรีตั้งครรภ์มากถึง 90% เพราะครรภ์โตจนทำให้หน้าท้องและขาอ่อนแตกลาย
🧬อาการเริ่มแรกของผิวแตกลาย คือ ผิวหนังจะเกิดรอยเป็นเส้นสีแดงหรือม่วง Striae rubes (ระยะแรก) และจะมีสีอ่อนลงเรื่อย ๆ จนเป็นสีขาวขุ่น Striae alba (ระยะหลัง)
•โดยรอยแตกลายจะแบ่งออกเป็น 4 ประเภทหลักๆดังนี้
1.Striae distensae มีลักษณะเป็นลายเส้นขนานจากการยืด
2.Striae atrophicans มีลักษณะเป็นลายเส้นขนานโดยมีอาการผิวฝ่อ
3.Striae rubra มีลักษณะเป็นลายเส้นขนานสีแดง
4.Striae alba มีลักษณะเป็นลายเส้นขนานสีขาว
ลักษณะจากการตรวจชิ้นเนื้อพบผิวชั้นนอก Epidermis มีการฝ่อตัวลง ชั้นหนังแท้ dermis มีการฝ่อความหนา ลดลงมีคอลลาเจนและ extracellular matrix ลดลง เส้นใยอีลาสติน elastic fiber ลดลงในส่วนกลางของรอยโรค
🔬วิธีการดูแลผิวแตกลาย
* พยายามไม่ให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างรวดเร็ว : โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงอย่างวัยรุ่น ผู้ออกกำลัง และหญิงตั้งครรภ์
* ทาครีมบำรุง หรือครีมลดรอยแตกลายเป็นประจำ : เน้นการทาครีมบำรุงที่มีความเข้มข้นสูงในบริเวณผิวแตกลายทุกวันเป็นประจำก่อนนอนและในตอนเช้า หรือทาทุกครั้งหลังอาบน้ำ และอย่าปล่อยให้บริเวณที่ผิวแตกลายแห้งเป็นอันขาด เพราะมันอาจจะลุกลามกว้างขึ้นได้
* ยาทาดูแลผิวแตกลาย : เป็นยาทาในกลุ่มอนุพันธ์กรดวิตามินเอ ที่แนะนำคือ เรตินเอ (Retin A) ให้เลือกใช้ความเข้มข้น 0.025% หรือ 0.05% หลังเช็ดตัวให้แห้ง รอให้แห้งสนิทสักประมาณ 10 นาที นำมาทาบริเวณผิวที่เป็นรอยแตก ก่อนเข้านอนและทำวันเว้นวัน
* การใช้การรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและคลินิกที่ได้มาตรฐาน เชื่อถือได้
* รักษาด้วยทรีตเมนต์ : แบ่งออกเป็น การกรอผิวด้วยเกล็ดอัญมณี (Microdermabrasion) / การผลัดเซลล์ด้วยกรดผลไม้ (Chemical Peel) (ให้ผลการรักษาประมาณ 10-20%) / การรักษาโดยใช้คลื่นวิทยุเพื่อกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน (ให้ผลการรักษาประมาณ 20-40%)
* รักษาด้วยวิธี Dermaroller : ช่วยทำลายพังผืดที่หลุมบนผิวหรือรอยที่เป็นปัญหา ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการสร้างคอลลาเจนและอีลาสตินใต้ผิวหนัง และโดยมากแล้วจะนำมาใช้ควบคู่ไปกับตัวยาหรือเซรั่มบำรุงผิว แต่ต้องทำเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอทุก ๆ 2 สัปดาห์ ติดต่อกัน 5-6 ครั้ง จึงจะเห็นผลการเปลี่ยนแปลง
* รักษาด้วยวิธีแสงความเข้มข้นสูง IPL Intensed Pulsed Light : เทคนิคการใช้แสงความเข้มสูง นำมายิงบริเวณผิวที่เป็นรอยแตก แต่วิธีนี้จะได้ผลดีกับรอยแตกในระยะแรกที่มีสี และต้องทำอย่างน้อย 5 ครั้ง (ห่างกันครั้งละ 2 สัปดาห์) ให้ผลรอยแตกลายจางลงประมาณ 30-50% ขึ้นอยู่กับระยะของรอยแตกที่เป็น
* รักษาด้วยวิธีการ Carboxytherapy : การฉีดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไปในบริเวณที่ต้องการ เพื่อช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดบริเวณผิว กระตุ้นการสร้างคอลลาเจนใต้ผิวทำให้ผิวตึงกระชับขึ้น และยังช่วยสลายเซลล์ไขมันส่วนเกินในบริเวณที่ต้องการได้อีกด้วย โดยอาศัยเทคนิคการฉีดก๊าซที่แตกต่างกัน ซึ่งจะเป็นการฉีดตื้น ๆ เข้าไปเพียงชั้นหนังแท้ตามแนวร่องแตกลายผิวหนัง แต่การรักษาด้วยวิธีนี้จะต้องทำอย่างน้อย 3-5 ครั้ง ติดต่อกันทุก ๆ 1 สัปดาห์ ซึ่งวิธีนี้จะใช้ได้ผลประมาณ 30-60% หรืออาจจะไม่ได้ผลเลยในบางราย
* เลเซอร์รอยแตกลาย : แบ่งออกเป็น
- [ ] เลเซอร์แบบช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ปรับสีรอยแตกลายให้ใกล้เคียงกับสีผิวปกติ
- [ ] เลเซอร์สร้างผิวใหม่ Fractional Ablative Laser เช่น Fractional Carbondioxide Laser, Fractional Erbium laser
- [ ] เลเซอร์แบบรักษารอยแดงหรือรักษาความผิดปกติของเส้นเลือด เหมาะสำหรับรอยแตกลายที่มีสีแดง เช่น Pulsed dye laser PDL (Vbeam)
- [ ] •Picosecond Laser เป็นเทคโนโลยีที่จะเป็นจุดเปลี่ยนของ วงการเลเซอร์ผิวหนังเพราะนอกจากจะช่วยในเรื่องกำจัดเม็ดสีแล้ว ยังช่วยในเรื่องของการกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและอีลาสตินใหม่ โดยไม่เกิดการสะสมพลังงานความร้อน จึงไม่กระทบผิวข้างเคียง และใช้เวลาในการรักษาน้อยกว่าเครื่องเลเซอร์รุ่นเดิม
ช่วยผลัดเซลล์ผิว และกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนใหม่ใต้ชั้นผิว
• หลังทำ ไม่มีแผลตกสะเก็ด ไม่ต้องพักฟื้น และเจ็บน้อยกว่าเมื่อเทียบกับเครื่องเลเซอร์รุ่นอื่นๆ รวมทั้งไม่มีผลข้างเคียงเหมือนการรักษาด้วยเลเซอร์รุ่นเดิมๆ
• ยังช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและอีลาสติน (Elastin) ใต้ชั้นผิว ช่วยซ่อมแซมเซลล์ผิวที่เสื่อมสภาพ เนื้อเยื่อบริเวณรอยแตกลายให้เรียบเนียน ช่วยให้ผิวแข็งแรง ลง
ซึ่งการรักษาด้วยเลเซอร์ สามารถรักษาได้ทั้งรอยแตกลายในระยะแรก-ระยะหลัง และการรักษาด้วยวิธีนี้จะได้ผลประมาณ 40-60%
* การใช้คลื่นวิทยุ RadioFrequency device เช่น Ematrix, InfiniRF Microneedle
* มีเทคนิคการใช้หลายเทคนิคร่วมกันเช่น *Fractional CO2 Laser + Fractional RF
Microdermabrasion + เกล็ดเลือดเข้มข้น PRP, Ablative RF with topical retinoic acid cream
*การรักษารอยแตกลายต้องใช้เวลาและความอดทนในการรักษาและฟื้นฟูสภาพผิวให้กลับมาเรียบ เนียนดังเดิม*
Indian Dermatol Online J 2019;10:380-95.
🧬การดูแลหลังการดูแลรักษาด้วยเลเซอร์
• ประคบเย็นบ่อยๆ ในวันแรก
• ทาครีมลดอาการแดงหนาๆ บ่อยๆ และทาครีมที่ชุ่มชื้นมากเป็นพิเศษ
• บำรุงผิวด้วยสกินแคร์ที่ช่วยเสริมสร้างคอลลาเจน และห้ามใช้สกินแคร์ที่มีส่วนผสมของไวท์เทนนิ่ง หรือสารจำพวกกรดอ่อน
• ไม่ควรออกแดด หรือโดนแสงแดดโดยตรงอย่างน้อย 2 สัปดาห์ หากจำเป็นต้องออกที่แจ้งให้ป้องกันตัวเองจากแสงแดดด้วยการสวมแว่นตากันแดด สวมหมวก สวมเสื้อแขนยาว หรือกางร่ม เป็นต้น
• ทาครีมกันแดดที่ป้องกัน UVA และ UVB มีค่า SPF 40-50 เป็นประจำ หากมีกิจกรรมกลางแจ้ง แดดจัด แนะนำให้ทาครีมกันแดดซ้ำทุกๆ 2 ชั่วโมง

#รักษารอยแตกลาย #ผิวแตกลาย #เลเซอร์ลอยแตกลาย #fractionallaser #picosecondlaser #strechtmarks #striae #meetdrruj
#หมอรุจชวนคุย 👨‍⚕️🔬😉
📽ตัวอย่างเทคนิคการดูแลรักษารอยแตกลายด้วยเลเซอร์
โฆษณา