6 เม.ย. 2022 เวลา 02:50 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ทำไมข้าวไทย ถึงโดนข้าวอินเดียและเวียดนาม แซงหน้า
11
ข้าวไทย เรียกได้ว่าเป็นสินค้าเกษตรส่งออกสำคัญ และเคยเป็นอันดับหนึ่งของโลก
3
แต่ในระยะหลังโดยเฉพาะในปี 2563 ประเทศไทยกลับส่งออกข้าวน้อยที่สุดในรอบ 20 ปี
จนหล่นมาอยู่อันดับสามของโลก ตามหลังประเทศอินเดียและเวียดนาม
3
จากในอดีต ที่ข้าวไทยมีคุณภาพเป็นอันดับหนึ่ง และไม่มีใครเทียบได้
แต่ในปัจจุบันกลับถูกคู่แข่ง พัฒนาข้าวจนมีคุณภาพทัดเทียมกับไทย
6
เกิดอะไรขึ้นกับการค้าข้าว ในเวทีโลก
แล้วข้าวไทยเสียแชมป์ผู้ส่งออก ได้อย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
2
เรามาเริ่มกันที่ตัวเลขการส่งออกข้าวใน 4 ปี ล่าสุดของไทยกัน
1
ปี 2561 ส่งออก 11.23 ล้านตัน มูลค่า 1.82 แสนล้านบาท
ปี 2562 ส่งออก 7.58 ล้านตัน มูลค่า 1.32 แสนล้านบาท
ปี 2563 ส่งออก 5.73 ล้านตัน มูลค่า 1.16 แสนล้านบาท
ปี 2564 ส่งออก 6.12 ล้านตัน มูลค่า 1.08 แสนล้านบาท
1
จะเห็นว่าปริมาณการส่งออกข้าวของไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง
โดยเฉพาะในปี 2563 ซึ่งเป็นปีที่เรามีปริมาณการส่งออก ต่ำที่สุดในรอบ 20 ปี
5
ในทางกลับกัน ประเทศอินเดีย ที่ส่งออก 9.8 ล้านตันในปี 2562 กลับเพิ่มขึ้นเป็น 14.2 ล้านตัน
รวมถึงเวียดนาม ที่ยังสามารถรักษาปริมาณการส่งออกได้ระดับเดิมในปีเดียวกัน
2
ถึงแม้ว่าในปี 2564 ประเทศไทยจะมีปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้น
แต่เราจะเห็นได้ว่า มูลค่าการส่งออกรวม กลับสวนทางลดลงจากปีก่อนหน้า
สะท้อนให้เห็นว่าข้าวที่ส่งออก มีราคาถูกลงกว่าเดิม
แล้วมันเกิดอะไรขึ้น ?
สำหรับสาเหตุสำคัญที่ทำให้การส่งออกข้าวไทยลดลง ก็คือ “ราคาข้าวไทย”
แพงกว่าประเทศผู้ผลิตอื่น ๆ
2
หากเรามาดูผลผลิตข้าวต่อไร่
ประเทศไทย มีผลผลิต 400 ถึง 500 กิโลกรัมต่อไร่
ประเทศเวียดนาม มีผลผลิต 700 ถึง 900 กิโลกรัมต่อไร่
4
พูดง่าย ๆ ก็คือ เวียดนามมีผลผลิตมากกว่าเรา เกือบเป็นเท่าตัวบนพื้นที่เพาะปลูกเท่ากัน
12
โดยปัจจัยหลักที่ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตต่อไร่ของประเทศไทยต่ำกว่าคนอื่น
นอกจากเรื่องของพันธุ์ข้าว กรรมวิธีในการปลูก และคุณภาพของดินแล้ว
ก็คือ “แหล่งน้ำที่ใช้หล่อเลี้ยงต้นข้าว”
7
ประเทศไทยมีพื้นที่เพาะปลูกกว่า 90% เป็นการปลูกข้าวแบบนาปี หรือการปลูกตามฤดูกาล
ในขณะที่มีเพียง 10% ที่เป็นการปลูกแบบนาปรัง หรือการปลูกข้าวนอกฤดูกาล
4
แปลว่าหากปีไหนฝนตกตามฤดูกาล และแหล่งน้ำมีความอุดมสมบูรณ์ ผลผลิตที่ได้ก็จะมีมาก
แต่หากเมื่อไรก็ตามที่น้ำแล้งหรือเกิดอุทกภัย ก็จะได้รับผลกระทบอย่างหนักและผลผลิตลดลงทันที
2
และถึงแม้การปลูกข้าวนอกฤดูกาลจะทำให้เกษตรกรได้ผลผลิตต่อไร่ที่มากกว่า
แต่การจะเปลี่ยนไปปลูกข้าวนาปรัง ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย
3
เพราะการปลูกข้าวนาปรัง จำเป็นต้องมีระบบชลประทานที่ดี
ปัญหาก็คือ ประเทศไทยมีเกษตรกรจำนวนมากที่ไม่สามารถเข้าถึงระบบชลประทาน
15
ซึ่งถ้าหากระบบชลประทานดี เกษตรกรก็จะเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวได้หลายรอบ
ทำให้ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น อย่างเช่นอินเดีย และเวียดนาม
ที่ปีหนึ่งสามารถเก็บเกี่ยวข้าวได้อย่างน้อย 2 ถึง 3 รอบต่อปี
4
อีกหนึ่งสาเหตุ ที่ทำให้ข้าวไทยส่งออกลดลงคือ “การพัฒนาพันธุ์ข้าวของคู่แข่ง” ที่แต่เดิมปลูกแต่ข้าวพื้นแข็ง ซึ่งไม่เป็นที่ต้องการของตลาดโลกมากนัก
5
ที่ผ่านมา ข้าวไทยแม้จะมีราคาแพงกว่า แต่ด้วยคุณภาพของข้าวเป็นที่ต้องการของตลาด โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิ ทำให้ข้าวไทยกลายเป็นอันดับหนึ่งของโลกมาอย่างยาวนาน
4
แต่ในระยะหลัง หลายประเทศเริ่มมีการพัฒนาพันธุ์ข้าวและปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกให้เหมาะสมกับความต้องการของตลาดมากขึ้น
5
อย่างเช่นประเทศเวียดนามในปัจจุบัน ได้มีการพัฒนาพันธุ์ข้าวนุ่ม ที่มีคุณภาพและเป็นที่นิยมของประเทศในทวีปเอเชีย จนสามารถแย่งตลาดฟิลิปปินส์ไปจากประเทศไทยได้
7
แม้แต่พันธ์ุข้าวหอม ซึ่งข้าวหอมมะลิไทยถือว่าเป็นเกรดพรีเมียม
แต่พันธุ์ข้าวหอมที่เวียดนามและกัมพูชาพัฒนาขึ้น
แม้จะยังมีคุณภาพสู้ข้าวหอมมะลิไทยไม่ได้
แต่เนื่องจากราคาถูกกว่ามาก จึงมีผู้ซื้อหลายรายสั่งซื้อทดแทนข้าวหอมมะลิไทย
5
หรือแม้แต่ประเทศจีนเอง ที่เคยนำเข้าข้าวจากประเทศไทยมากถึง 1.2 ล้านตัน ในปี 2560
แต่ในปัจจุบัน กลับลดลงอย่างต่อเนื่อง เหลือเพียง 6 แสนตันต่อปี เท่านั้น
2
โดยประเทศจีนบริโภคข้าว เป็นอาหารหลักไม่ต่างจากประเทศไทย รัฐบาลจีนจึงเล็งเห็นถึงความสำคัญของแหล่งอาหารหลักของประเทศ จึงได้มีการพัฒนาและปรับปรุงการผลิตข้าวของเกษตรกรภายในประเทศ
5
จนสามารถลดการพึ่งพาข้าวจากต่างประเทศได้ รวมถึงมีการคาดการณ์กันว่าประเทศจีนกำลังจะกลายเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่อีกหนึ่งรายในอนาคต
6
นอกจากนั้น การพัฒนาเทคโนโลยีของประเทศคู่แข่ง ก็ทำให้ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น
รวมถึงต้นทุนรวมในการเพาะปลูกจึงถูกลง ทำให้สามารถตั้งราคาขายได้ถูกกว่าประเทศไทย
9
รู้หรือไม่ว่า ต้นทุนในการปลูกข้าว 100 บาท
เป็นค่าปุ๋ยที่ใช้บำรุงต้นข้าวคิดเป็น 26 บาท
1
ตรงนี้ หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าประเทศไทยกลับต้องนำเข้าปุ๋ยมากกว่า 90%
อีกทั้งตลาดปุ๋ยในประเทศไทยมีผู้ผลิตและนำเข้าเพียงไม่กี่รายเท่านั้น
12
จึงทำให้เป็นเรื่องที่ยากมากที่จะควบคุมหรือลดราคาปุ๋ยลง
ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่เราไม่มีความสามารถในการควบคุม
ต้นทุนของเรา จึงสูงกว่าประเทศอื่น ๆ
4
คำถามที่ตามมาก็คือ แล้วทำไมเราถึงไม่ปรับปรุงกระบวนการผลิต
โดยใช้เครื่องจักรที่ทันสมัย เหมือนการทำเกษตรกรรมของประเทศที่พัฒนาแล้ว ?
3
เราทราบกันดีอยู่แล้วว่า เครื่องจักรที่มีคุณภาพและทันสมัยจะมาพร้อมกับต้นทุนที่แพงเสมอ
ถึงแม้ว่าเมื่อเทียบกับผลผลิตที่จะเพิ่มขึ้นแล้วก็อาจจะคุ้มค่า
6
แต่ปัญหาหลักของเกษตรกรไทยคือ การเป็นเจ้าของที่ดินเพียงไม่กี่ไร่ และเกินกว่า 70% ต้องอาศัยการเช่าที่ดิน หรือไม่ก็ทำนาในที่ดินที่ติดจำนอง
6
เมื่อครอบครองที่ดินในการเพาะปลูกน้อย
การลงทุนในเครื่องจักรราคาแพงจึงกลายเป็นทางเลือกที่ไม่คุ้มค่า
เพราะกลุ่มเกษตรกร จะใช้งานเครื่องจักรได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ
ทั้งเรื่องของขนาดที่ดินและความถี่ต่อการเพาะปลูก
3
เกษตรกรจำนวนมาก ต้องพึ่งพาการเช่าเครื่องจักร อย่างเช่นรถไถ หรือรถเกี่ยวข้าว
จึงเป็นเรื่องยากที่จะลดต้นทุนด้วยการใช้เครื่องจักรที่ทันสมัย
4
อีกทั้ง ชาวนาจำนวนมากยังต้องจ่ายค่าเช่าที่ดิน หรือชดใช้หนี้สินที่มีอยู่แต่เดิม
ทำให้ไม่มีเงินมากพอที่จะไปพัฒนาหรือลงทุนในส่วนอื่น ๆ เพิ่มเติม
ในขณะที่ชาวนาบางส่วน เมื่อเก็บเกี่ยวและหักค่าใช้จ่ายแล้วอาจจะขาดทุนด้วยซ้ำ
4
นอกจากนี้เกษตรกรที่ปลูกข้าว ยังถูกซ้ำเติมด้วยโครงสร้างอุปทานของข้าวไทย
หากเรามาดูกำไรของแต่ละกลุ่มธุรกิจข้าวในห่วงโซ่อุปทาน
อ้างอิงจากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย
2
ปี 2560
ผู้ส่งออก มีกำไรสุทธิเฉลี่ย 18,410,000 บาทต่อราย
โรงสี มีกำไรสุทธิเฉลี่ย 6,270,000 บาทต่อราย
แต่ชาวนา กลับมีกำไรสุทธิเฉลี่ยเพียง 10,000 บาทต่อราย เท่านั้น
17
เราจะเห็นได้ว่ากำไรสุทธิของชาวนา อยู่ในระดับที่ต่ำมาก
โดยสาเหตุสำคัญมาจากเมื่อเราต้องแข่งขันในสงครามราคา
5
และมีจุดเริ่มต้นของการกำหนดราคาข้าวอยู่ที่ผู้ส่งออก
ทำให้เกิดการกดราคาต่อกันเป็นทอด ๆ ทั้งราคาที่รับซื้อจากโรงสีและชาวนา
2
ท้ายที่สุดแล้ว ปัญหาดังกล่าวก็ได้ถูกผลักไปยังชาวนา
และด้วยความที่ชาวนาไม่มีอำนาจต่อรอง และไม่สามารถลดต้นทุนที่สูงได้
ผลกำไรที่ได้จึงน้อยลง ปัญหาความยากจนของชาวนาจึงเพิ่มมากขึ้น
11
และแม้ว่าภาครัฐจะเข้ามาช่วยอุดหนุนรับภาระเฉลี่ยปีละไม่ต่ำกว่า 5 หมื่นล้านบาท
แต่โดยส่วนใหญ่ เม็ดเงินจะถูกใช้จ่ายไปกับการชดเชยความเสียหายหรืออุ้มราคาข้าว
ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ
10
โดยวิธีแก้ปัญหาที่ดีกว่าการนำเงินไปอุ้มราคาข้าว ก็คือการเพิ่มมูลค่าของข้าวไทยให้สูงขึ้น
3
ตัวอย่างในประเทศญี่ปุ่น จะมีการต่อยอดผลิตภัณฑ์จากข้าว เช่น สาเก ที่ไม่ว่าใครก็ผลิตได้ หรือข้าวสำหรับทำซูชิที่มีการส่งออกไปทั่วโลก ซึ่งนับเป็นการเพิ่มมูลค่าให้ข้าวของญี่ปุ่นที่บางชนิดมีราคาขายต่อน้ำหนักที่สูงขึ้น
8
หรือการลดต้นทุนการผลิต ทั้งจากการลดราคาต้นทุนโดยตรง อย่างเช่นค่าปุ๋ย
และการสนับสนุนเครื่องจักรทางการเกษตรให้แก่เกษตรกรได้ซื้อหรือเช่าในราคาถูก
รวมถึงการพัฒนาพันธุ์ข้าวและระบบชลประทาน
เพื่อให้ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น แทนที่การขยายพื้นที่เพาะปลูก
9
แต่เมื่อดูจากความลำบากที่เกิดขึ้นกับเกษตรกร
ที่ต้องเจอกับต้นทุนที่สูง และราคาขายที่ตกต่ำจากการแข่งขันกันส่งออกในปัจจุบัน
4
ก็เป็นเรื่องที่น่าชวนคิดไม่น้อยว่า มันคุ้มค่าแค่ไหน
กับความพยายามที่เราจะต้องรักษาตำแหน่งผู้ส่งออกข้าวของโลก
และต้องทุ่มเทงบประมาณมหาศาลกับเรื่องนี้เป็นประจำทุกปี
6
หรือแท้ที่จริงแล้ว
เราควรจัดสรรทรัพยากรไปยังอุตสาหกรรมอื่น
ที่โดดเด่นและกำลังเป็นเมกะเทรนด์ของโลก
ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์
หรือพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า
13
และเปลี่ยนแนวคิดต่ออุตสาหกรรมข้าวไทย ให้มีเป้าหมายเพื่อความมั่นคงทางอาหาร หรือการต่อยอดไปยังสินค้าอื่น
11
ซึ่งมันก็อาจจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า การที่เราต้องการเป็นผู้ส่งออกข้าวเบอร์หนึ่งของโลก
แต่ชาวนาไทยกลับยังคงย่ำอยู่กับที่ วนเวียนอยู่ในวัฏจักรไม่รู้จบ
เหมือนที่เป็นอยู่ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา..
6
โฆษณา