7 เม.ย. 2022 เวลา 02:50 • หุ้น & เศรษฐกิจ
“เบรตตัน วูดส์” ระบบที่ทำให้ ดอลลาร์สหรัฐ เป็นสกุลเงินหลักของโลก
5
ปัจจุบันประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นมหาอำนาจทางการเงินเบอร์หนึ่งของโลก
จากความเชื่อมั่นใน “ดอลลาร์สหรัฐ” ที่ถูกใช้เป็นสกุลเงินหลัก
ในการค้าขายกันระหว่างประเทศทั่วโลก มายาวนานหลายทศวรรษ
10
จากข้อมูลของ SWIFT หรือสมาคมเพื่อการโทรคมนาคมทางการเงินระหว่างธนาคารทั่วโลก ธุรกรรมทางการเงินระหว่างประเทศที่อยู่ในรูปสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 40% ของธุรกรรมทั้งหมดเลยทีเดียว
2
แล้วดอลลาร์สหรัฐก้าวขึ้นมาเป็นสกุลเงินหลักของโลกได้อย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ย้อนกลับไปในปี 1944 สงครามโลกครั้งที่สองใกล้จะสิ้นสุดลง
สงครามโลกครั้งนั้น ได้ส่งผลความเสียหายต่อหลายล้านชีวิต
และสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล
2
โดยเฉพาะประเทศในยุโรป อย่างประเทศอังกฤษ มหาอำนาจเบอร์หนึ่งของโลกในขณะนั้น
ก็ได้รับความบอบช้ำอย่างมาก จากการที่ต้องสูญเสียทรัพยากรทางเศรษฐกิจไปกับการทำสงคราม
1
เมื่อไปเทียบกับประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งบอบช้ำน้อยกว่ามาก ทำให้ฟื้นตัวได้เร็วกว่า
ประกอบกับความมั่งคั่ง ณ เวลานั้น ที่ถือครองทองคำสูงถึง 2 ใน 3 ของโลก
ก็ทำให้ประเทศสหรัฐอเมริกา ก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจแทนที่ประเทศอังกฤษ
กลายเป็นผู้กำหนดกฎระเบียบของโลกใหม่
โดยหนึ่งในเรื่องที่ประเทศสหรัฐอเมริกาต้องการวางรากฐานใหม่ ก็คือ “ระบบการเงินของโลก”
เพื่อรองรับการฟื้นฟูเศรษฐกิจและการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน
เพื่อรองรับการขยายตัวของการค้าขายและการทำธุรกรรมระหว่างประเทศที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
2
จึงได้มีการจัดประชุมขึ้น เพื่อหารือเรื่องระบบการเงินของโลกใหม่ ที่โรงแรม The Mount Washington
ในเมืองเบรตตัน วูดส์ รัฐนิวแฮมป์เชอร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา
1
โดยมีตัวแทนกว่า 700 คน จาก 44 ประเทศทั่วโลกเข้าร่วมประชุม
โดยมีหัวเรือหลักอย่างคุณ John Maynard Keynes นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดัง ตัวแทนจากฝั่งประเทศอังกฤษ
และคุณ Harry Dexter White รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ตัวแทนจากฝั่งประเทศสหรัฐอเมริกา
ร่วมกันกำหนดระบบการเงินของโลกขึ้นมาใหม่
1
เรียกกันว่า “Bretton Woods System” หรือ “ระบบเบรตตัน วูดส์” โดยมีการเรียกตามชื่อเมืองที่จัดประชุม
3
จุดประสงค์หลัก ๆ ของระบบเบรตตัน วูดส์ จะเน้นไปที่การลดความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินสกุลต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศให้มีเสถียรภาพ
2
โดยมีข้อตกลงกันว่า จะให้ทองคำและสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นทุนสำรองระหว่างประเทศ
และให้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐผูกกับทองคำเพียงสกุลเดียว
ที่อัตราแลกเปลี่ยนคงที่ 35 ดอลลาร์สหรัฐต่อทองคำ 1 ออนซ์
7
แล้วให้สกุลเงินของประเทศต่าง ๆ มาผูกกับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐด้วยค่าคงที่ อีกที
โดยให้ประเทศต่าง ๆ สามารถนำสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ มาแลกเปลี่ยนเป็นทองคำได้ตามต้องการ
2
ซึ่งการผูกสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐกับทองคำเพียงสกุลเดียวไว้แบบนี้
จึงทำให้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นที่ต้องการเพิ่มขึ้น
จนท้ายที่สุดแล้ว ดอลลาร์สหรัฐ ก็ได้ก้าวขึ้นเป็นสกุลเงินหลักของโลก
3
นอกจากนี้ ได้มีการก่อตั้งองค์กรขึ้นมา เพื่อดูแลและสนับสนุนการทำงานของระบบเบรตตัน วูดส์ อีก 2 แห่ง ได้แก่
1. กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ International Monetary Fund (IMF)
เพื่อกำกับดูแลอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ให้เป็นไปตามที่ตกลงกัน และสามารถแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยนได้ตามที่จำเป็น
 
รวมถึงเป็นแหล่งเงินสนับสนุนในระยะสั้นให้กับประเทศที่ประสบปัญหาสภาพคล่อง
2
2. ธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและพัฒนา หรือ The International Bank for Reconstruction and Development (IBRD)
1
เพื่อเป็นแหล่งให้กู้ยืมระยะยาวแก่ประเทศที่ต้องการใช้เงิน เพื่อลงทุนพัฒนาเศรษฐกิจ รวมถึงการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบหรือเกิดความเสียหายจากสงคราม
 
โดยปัจจุบัน IBRD เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มธนาคารโลก หรือ The World Bank Group
2
ซึ่งการค้าของโลกภายใต้ระบบเบรตตัน วูดส์ ส่งผลให้เศรษฐกิจทั่วโลกหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด
1
แต่หลังจากนั้น ประเทศสหรัฐอเมริกาได้เข้าสู่ช่วงเศรษฐกิจถดถอย เนื่องจากมีการใช้จ่ายในการทำสงครามเวียดนามอย่างมหาศาล เกิดการขาดดุลงบประมาณอย่างต่อเนื่อง
4
ประเทศสหรัฐอเมริกาจึงต้องพิมพ์เงินออกมาเพื่อชดเชยการขาดดุลที่เกิดขึ้น
จนทำให้ปริมาณเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐในเศรษฐกิจโลกมากกว่าปริมาณทองคำที่มี
4
พอเรื่องเป็นแบบนี้ ความเชื่อมั่นในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐก็ลดลง ส่งผลให้ประเทศต่าง ๆ ไม่อยากถือเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐอีกต่อไป จึงนำมาแลกเปลี่ยนเป็นทองคำแทน
3
จนในที่สุด ประเทศสหรัฐอเมริกาจึงประกาศยกเลิกการผูกสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐไว้กับทองคำ และมีการลดค่าเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ
2
จุดนี้เอง นับเป็นการปิดฉากการใช้ระบบเบรตตัน วูดส์ในปี 1971 หรือเป็นระยะเวลาเพียง 27 ปี
2
นำไปสู่การเปลี่ยนผ่านเป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวที่เป็นไปตามกลไกตลาดมากขึ้น และใช้กันจนมาถึงในปัจจุบัน
2
อย่างไรก็ตาม จากระบบเบรตตัน วูดส์ ก็ทำให้ดอลลาร์สหรัฐยังถือเป็นสกุลเงินหลักของโลกในการอ้างอิงกับอัตราแลกเปลี่ยนนับตั้งแต่นั้นมา..
3
โฆษณา