8 เม.ย. 2022 เวลา 06:19 • การศึกษา
ในภาวะฉุกเฉินอย่างเช่นการเกิดสงคราม เราจะทำพินัยกรรมด้วยปากเปล่าได้หรือไม่?
ในปัจจุบันหลายประเทศเกิดภาวะตึงเครียด ทั้งจากโรคระบาด สถาพเศรษฐกิจ และสงคราม
ปัญหาข้าวยากหมากแพง เงินเฟ้อ และทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ทำให้เกิดแนวโน้มที่มนุษย์เราจะใช้ความรุนแรงเข้าแย่งชิงกันมากขึ้นเรื่อย ๆ
2
คำถามก็คือ หากวันหนึ่งเราต้องกลายเป็นผู้โชคร้าย เช่น ติดโรคระบาด หรืออยู่ท่ามกลางสงคราม หรือถูกทำร้ายจนถึงแก่ชีวิต
ทรัพย์สินต่าง ๆ ของเราที่มีอยู่จะถูกจัดการอย่างไร เราจะสามารถสั่งเสียด้วยวาจาเพื่อให้ทายาทหรือญาติของเราดำเนินการในเรื่องทรัพย์สิน หรือเรื่องอื่น ๆ ได้หรือไม่
ซึ่งในทางกฎหมายนั้น "หากในภาวะปกติ” ผู้ทำพินัยกรรมจะต้องทำตามวิธีการที่กฎหมายกำหนดอย่างใดอย่างหนึ่งนี้ คือ
การทำพินัยกรรมด้วยตนเองโดยเขียนเองทั้งฉบับ ลงวันเดือนปีที่ทำและลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรม
2
หรือจะใช้แบบพิมพ์หรือพิมพ์ขึ้นมาใหม่ (ไม่ต้องสนใจว่าใครเป็นคนพิมพ์) ซึ่งเรียกว่าการทำเป็นหนังสือ โดยลงวันเดือนปีที่ทำ และผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อตัวเองต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คนและพยานต้องลงลายมือชื่อตัวเองเพื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมในขณะนั้น
2
หรือจะทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง โดยผู้ทำพินัยกรรมต้องไปแจ้งความประสงค์และดำเนินการที่สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอ
2
หรือจะทำเป็นเอกสารลับ โดยผู้ทำพินัยกรรมต้องลงชื่อในพินัยกรรม ปิดผนึกและลงลายมือชื่อคาบรอยผนึกที่ปิด แล้วนำพินัยกรรมไปแสดงต่อสำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอพร้อมพยานอย่างน้อย 2 คน และให้ถ้อยคำต่อบุคคลทั้งหมดนั้นว่าพินัยกรรมเป็นของตนเอง และถ้าพินัยกรรมนั้นผู้ทำไม่ได้เขียนเองทั้งฉบับจะต้องแจ้งชื่อและที่อยู่ของผู้เขียนให้ทราบด้วย
2
ซึ่งนี่คือวิธีการโดยทั่วไป ในภาวะปกติสำหรับการทำพินัยกรรม
แต่ในกรณีที่เกิดภาวะอันตราย หรือฉุกเฉินแก่ชีวิต ที่ผู้ทำพินัยกรรมไม่สามารถที่จะทำพินัยกรรมตามวิธีการปกติได้ล่ะ…
4
หากต้องการทำพินัยกรรม ผู้ทำพินัยกรรมจะต้องใช้วิธีใดเพื่อให้พินัยกรรมนั้นมีผลตามกฎหมาย…
คำตอบก็คือ ผู้ทำพินัยกรรมสามารถทำพินัยกรรมด้วยปากเปล่าได้ ซึ่งภาษากฎหมายเรียกวิธีนี้ว่า "การทำพินัยกรรมด้วยวาจา" โดยต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขดังนี้
3
  • 1.
    ต้องมีพฤติการณ์พิเศษที่ไม่สามารถทำพินัยการโดยวิธีปกติได้ เช่น ผู้ทำพินัยกรรมตกอยู่ในอันตรายใกล้ความตาย หรือเวลามีโรคระบาด หรือสงคราม
  • 2.
    ผู้ทำพินัยกรรมต้องแสดงเจตนา ข้อกำหนดต่าง ๆ ในพินัยกรรม ต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คนซึ่งอยู่พร้อมกัน ณ ที่นั้น
  • 3.
    พยาน 2 คนต้องไปแสดงตน ณ สำนักงานเขต หรือที่ว่าการอำเภอโดยเร็ว และแจ้งข้อความที่ผู้ทำพินัยกรรมได้สั่งไว้ด้วยวาจา และแจ้งวันเดือนปี สถานที่ที่ทำพินัยกรรมและพฤติการณ์พิเศษนั้นไว้ด้วย
  • 4.
    ให้เจ้าหน้าที่จดข้อความที่พยานแจ้งไว้และพยานทั้ง 2 คนนั้นต้องลงลายมือชื่อไว้ แต่ถ้าไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ก็ให้พิมพ์ลายนิ้วมือไว้ โดยจะต้องมีพยานลงลายมือชื่อรับรองการพิมพ์ลายนิ้วมือสองคน
  • 5.
    หากทำครบขั้นตอนที่ว่ามา การทำพินัยกรรมด้วยปากเปล่าก็จะมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย แต่ถ้าทำไม่ครบถ้วน การทำพินัยกรรมด้วยปากเปล่านั้นจะตกเป็นโมฆะไป
1
อ้างอิง:
- ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1663 และมาตรา 1705
1
ภาพ:

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา