10 เม.ย. 2022 เวลา 00:52 • การตลาด
เมื่อผู้สมัครเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ก้าวข้ามจากนักการเมือง สู่การเป็นแบรนด์
3
ปัจจุบันคนรุ่นใหม่ไม่เชื่อกับคำที่โฆษณาป่าวประกาศอีกต่อไปแล้ว กลับกันพวกเขามองหาแบรนด์ที่มี Brand Purpose โดยเกิดจาก 2 สิ่งรวมกันนั่นคือ สิ่งที่แบรนด์เป็น และประเด็นที่คนสนใจ และมีน้ำหนักมากพอที่แบรนด์จะหยิบยกขึ้นมาพูด การเมืองก็เช่นเดียวกัน
2
จากข้อมูลกรมการปกครอง เดือนกุมภาพันธ์ 2565 ผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ครั้งนี้มีทั้งหมด 4,481,523 คน ในจำนวนนี้ เสียงของคนรุ่นใหม่ที่เป็น First Time Voter มีจำนวนเกือบ 7 แสนคน คนกลุ่มนี้ มีอายุระหว่าง 18-27 ปี ซึ่งนับย้อนหลังไป 9 ปี นับจากวันเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ครั้งสุดท้าย 3 มีนาคม 2556 ซึ่งจะเป็นคะแนนเสียงสำคัญในการตัดสินการเลือกตั้งครั้งนี้ว่าใคร จะได้เป็นผู้ว่าฯ กทม.คนใหม่
5
นี่จึงเห็นได้ชัดสำหรับบริบทการเมืองไทยเวลานี้คือ พรรคการเมืองต่างๆ พยายามสร้างฐานเสียงไปยัง ผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งที่เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่อย่างมาก อีกทั้งบริบทการเมืองช่วงหลังก็เห็นชัดว่า คนรุ่นใหม่เข้ามามีบทบาทการเมืองทั้งในรัฐสภาและนอกรัฐสภามากขึ้นเรื่อยๆ
3
ยกตัวอย่างชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้สมัครชิงตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม. หมายเลข 8 ที่ปรับโมเดลในการหาเสียงเลือกตั้งรูปแบบใหม่โดยหา pain point ก่อน แล้วหา solution เข้ามาตอบโจทย์ เพราะสิ่งที่กลุ่มคนรุ่นใหม่ concern คือเรื่องสิ่งแวดล้อม
4
ชัชชาติเริ่มเลยกับแนวคิด “หาเสียงแบบรักเมือง” ด้วยการพยายามใช้รถไฟฟ้าในการหาเสียงให้มากที่สุด โดยใช้รถยนต์ไฟฟ้าจำนวน 23 คัน แบ่งเป็น รถเมล์ไฟฟ้า 2 คัน รถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า 5 คัน มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า 7 คัน, รถกระบะไฟฟ้า 1 คัน และรถยนต์ไฟฟ้าอื่นๆ อีก 8 คัน มีเป้าหมายเพื่อลดมลภาวะทางอากาศจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 และส่งเสริมการใช้พาหนะไฟฟ้าใน กทม.
8
โดยการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า จะเป็นส่วนสำคัญของการแก้ไขปัญหามลภาวะทางอากาศอย่างยั่งยืน เป็นการรักษาสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนในการเข้าถึงอากาศสะอาด เพื่อสร้าง กทม. ให้เป็นเมืองน่าอยู่ของทุกคนอย่างแท้จริง
2
ต่อมากับการใช้ป้ายหาเสียง ทำป้ายหาเสียงสื่อสารออฟไลน์ ตามท้องถนนให้น้อยที่สุด ลดเรื่องวัสดุและขนาดการทำป้ายเพื่อจะได้ไม่เกะกะขวางทางสัญจรของผู้ใช้ทางเท้า สุ่มเสี่ยงให้เกิดอุบัติเหตุต่อผู้สัญจรผ่านไปมา รวมถึงผู้พิการทางสายตา และเน้นสื่อสารการเมืองบนโลกออนไลน์ ใช้งบประมาณน้อย ประหยัดกว่าการซื้อป้าย
6
และสุดท้ายกับการใช้ป้ายไวนิลหาเสียงมาทำกระเป๋า ทำจากของเหลือใช้ นั่นคือป้ายไวนิลหาเสียง ที่เก็บมาดีไซน์ตัดเย็บใหม่ เลือกใช้ธีมสีเขียว เพราะต้องการสื่อเรื่องสิ่งแวดล้อม และความหวัง
3
“ทีมงานเพื่อนชัชชาติไม่อยากให้ไวนิลป้ายหาเสียงกลายเป็นขยะหลังการเลือกตั้ง เราจึงมีแผนนำกลับมาหมุนเวียน (Recycle) โดยตัดเย็บเป็นกระเป๋าหรือเป็นผ้ากันเปื้อน ไว้ใช้ต่อกันเองในทีม ป้ายใหม่ที่กำลังติดตั้งเพิ่มจะมีลาย Pattern ตัดเย็บให้เห็นลางๆ ลองตามหากันดูนะครับ”
5
ทั้งหมดที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่าสิ่งที่ชัชชาติทำคือแบรนด์ ไม่ใช่นักการเมืองอีกต่อไปแล้ว
#BrandAgeOnline #ชัชชาติ #BrandPurpose #เลือกตั้งผู้ว่าฯกทม
โฆษณา