25 เม.ย. 2022 เวลา 01:07 • ความคิดเห็น
สมัยอยุธยา ลาลูแบร์ ทูตชาวฝรั่งเศส เล่าถึงอากาศในสยามว่ามี หน้าร้อน และ หน้าร้อนใหญ่ ร้อนจนคนไม่ได้ใช้ความคิด
4
วันนี้ขอเปลี่ยนแนวมาเล่าเรื่องอิงประวัติศาสตร์กันบ้างนะคะ เมื่อคนใกล้ตัวบ่นว่าเมืองไทยอากาศร้อน ร้อนมาก ร้อนที่สุด ทำให้ผู้เขียนนึกถึงชื่อฤดูกาลที่เคยอ่านเจอ
ในสมัยอยุธยา ซีมง เดอ ลา ลูแบร์ ทูตชาวฝรั่งเศส ก็บันทึกไว้คล้ายๆกัน คือ สยามมีหน้าร้อน และ หน้าร้อนใหญ่
1
(pic: Pexels)
ฤดูกาลในอยุธยานั้น มี 3 ฤดู
"..ฤดูกาลของสยามที่แผกกัน สองเดือนแรกตรงกับเดือนธันวาคม เป็นฤดูหนาว เดือน 3 4 5 เป็นฤดูร้อนน้อย อีก 7 เดือน เป็นฤดูร้อนใหญ่.."
4
"..ฤดูหนาว เรียก หน้าหนาว อากาศเริ่มเย็น ฤดูร้อนน้อย เรียก หน้าร้อน คือ เริ่มร้อน ฤดูร้อนมาก เรียก หน้าร้อนใหญ่ คือ เริ่มร้อนมาก.."
3
สำหรับอากาศร้อนและวิถีชีวิตของคนในสมัยอยุธยานั้น มีกล่าวถึงเครื่องนุ่งห่มไว้ว่า
"..ชาวสยามนุ่งห่มผ้าน้อยชิ้นเพราะร้อนและเพราะความเป็นอยู่ง่ายๆ ชาวสยามไม่ค่อยหุ้มห่อร่างกายมิดชิดนัก.."
นอกจากนี้ลาลูแบร์ยังมีความคิดเห็นเกี่ยวกับอากาศว่า
"..ความร้อนจัดในประเทศสยามขัดกับการใช้สติปัญญาอย่างขะมักเขม้นนัก สติปัญญาอันฉับไวและเฉียบแหลมของชาวสยามนั้น น่าจะเหมาะอย่างมากกับการเรียนวิชาคำนวณยิ่งกว่าวิชาอื่นๆ.."
"..แต่การขะมักเขม้นตั้งอกตั้งใจคิดการใดๆ ก็ตาม ในบรรยากาศร้อนจัดเช่นประเทศสยามนั้น เป็นการยากมาก แม้แต่ชาวยุโรปเองก็ยังไม่สามารถศึกษาอะไรได้ ถึงแม้จะมีความพยายามเพียงไรก็ตาม.."
3
ซีมง เดอ ลาลูแบร์ ผู้บันทึกเรื่องราวที่น่าสนใจในสมัยอยุธาไว้มากมาย (pic: teen.mthai.com)
จะเห็นว่าข้อมูลที่ลาลูแบร์บันทึกไว้นั้นส่วนนึงได้จากการสังเกตเช่นเรื่องการแต่งกาย
แต่ในส่วนของช่วงฤดูกาลน่าจะมาจากการสอบถาม เพราะลาลูแบร์อยู่ในสยามเป็นระยะเวลาไม่นานนัก
บางช่วงบางตอนก็เป็นความเห็นส่วนตัว อย่างเช่นแนวคิดที่ว่า อากาศร้อนมีผลต่อความคิด ทำให้คนไม่อยากศึกษาหาความรู้ ซึ่งในทวีปยุโรปที่ลาลูแบร์อยู่ก็ปรากฏหลักฐานว่ามีแนวคิดนี้เกิดขึ้นช่วงนั้น
1
ส่วนที่ลาลูแบร์บันทึกว่า ในสยามนั้นร้อนมากจนทำให้คนสยามไม่ค่อยได้ใช้ความคิดทางปัญญามากนัก ทั้งที่จริงแล้ว คนสยามมีความฉลาดเหมาะที่จะเรียนทางด้านการคำนวณ วิชาคำนวณนี้ผู้รู้บางท่านก็ว่าน่าจะเป็นวิชาทางโหราศาสตร์นั่นเอง
1
การเดินทางมาสยามของ ซีมง เดอ ลา ลูแบร์ นอกจากมาเจรจาเรื่องศาสนาและการค้าแล้ว ยังได้รับคำสั่งให้สังเกตเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับอาณาจักรอยุธยา จึงมีการจดบันทึกเพื่อกลับไปรายงานราชสำนัก จดหมายเหตุเหล่านี้ได้กลายเป็นหลักฐานที่มีคุณค่าต่อประวัติศาสตร์ไทย เพราะมีการกล่าวถึงชีวิตความเป็นอยู่ วัฒนธรรมประเพณี และเรื่องราวน่าสนใจของคนในสมัยกรุงศรีอยุธยา
Du Royaume de Siam, ตีพิมพ์ ค.ศ.1691
จดหมายเหตุลาลูแบร์ (ฝรั่งเศส: Du Royaume de Siam แปลตามตัวคือ "ว่าด้วยราชอาณาจักรสยาม") เป็นจดหมายเหตุบันทึกเป็นภาษาฝรั่งเศส เอกสารชิ้นนี้กล่าวถึงราชอาณาจักรสยามในปลายรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พ.ศ. 2230 ผู้บันทึก คือ ซีมง เดอ ลา ลูแบร์ อัครราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ซึ่งเข้ามาทูลพระราชสาส์น ณ ประเทศสยาม
wikipedia
ปัจจุบันประเทศไทยแบ่งเป็น 3 ฤดู คือ ฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน
ฤดูร้อนอย่างเป็นทางการจะเริ่มตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคมของทุกปีไปจนถึงกลางเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงที่โลกเคลื่อนที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์
เนื่องจากไทยอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรมาก ประกอบกับช่วงหน้าร้อนมักจะไม่มีลมจากฝั่งใดเข้ามาในประเทศไทยเลย ทำให้อากาศค่อนข้างร้อนอบอ้าว
และถึงแม้หน้าร้อนจะสั้นที่สุดมีระยะเวลาเพียงสองเดือนครึ่ง แต่ความรู้สึกก็เหมือน มีหน้าร้อน และร้อนมาก คล้ายการแบ่งฤดูในสมัยอยุธยา
เพราะช่วงหน้าหนาวของไทยนั้นมีหนาวจริงๆไม่กี่วัน นอกนั้นจะมีอากาศร้อนเข้ามาแทน ส่วนหน้าฝนก็เช่นกันวันไหนฝนไม่ตกอากาศก็ร้อน ถ้านับวันกันจริงๆ ในหนึ่งปีก็ แทบจะมีแต่วันที่ร้อนกับร้อนมากนั่นแหละ 😁
3
ไม่ได้เขียนบทความหลายวัน เพราะแอบมาพักผ่อนค่ะ ช่วงนี้ที่ภาคใต้ฝนตกทุกวัน แต่อากาศร้อนอบอ้าวมาก
ข้อมูลอ้างอิง
แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมได้ค่ะ
ถ้าชอบบทความที่นำมาเล่า อย่าลืม
♡กดติดตาม ♡กดไลค์ ♡กดแชร์ กันนะคะ
Simple Blog
25.04.22

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา