13 เม.ย. 2022 เวลา 09:53 • ธุรกิจ
พร้อมแล้วหรือยังหาก รัฐบาลเลิกอุดหนุนราคาน้ำมัน
1
น้ำมันถือเป็น 1 ในต้นทุนใหญ่อันดับแรก ๆ ของทุกอุตสาหกรรมในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับภาคขนส่ง
4
น้ำมันถือเป็นหนึ่งในสินค้าที่ภาครัฐเข้ามาการควบคุม หรือ ใช้ในการเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนสินค้าเกษตรของภาครัฐ
โดยตัวอย่างนโยบาลที่ภาครัฐใช้เช่น
1
- การนำน้ำมัน B100 มาผสมกับน้ำมัน ดีเซล เพื่อสนับสนุนชาวสวนปาล์ม
- การจัดราคาน้ำมันพิเศษสำหรับชาวประมง (น้ำมันเขียว)
- การจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน
โดยที่ผ่านมารัฐบาลจะดำเนินการควบคุมราคาเพื่อประคองให้ราคาน้ำมันดีเซลไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตร
2
ซึ่งตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาภาครัฐก็ได้มีดำเนินการคุมราคาน้ำมันผ่านการลดสัดส่วนส่วนผสมน้ำมันปาลม์ หรือ B100 เพื่อประคองราคาน้ำมันดีเซลให้ไม่ให้สูงเกินไป
1
นอกจากนั้นยังมีการจ่ายเงินอุดหนุนน้ำมัน ดีเซล เพื่อที่จะประครองไม่ให้น้ำมัน ดีเซลสูงเกินไปกว่า 30 บาท
โดยข้อมูล ณ วันที่ 12 เมษายน 2565 นั้น โครงสร้างน้ำมัน ดีเซลนั้น รัฐบาลใช้กองทุนอุดหนุนราคาน้ำมันอยู่ที่ลิตรละ 7.440 บาท
ซึ่งหากรัฐบาลมีนโยบาลในการยกเลิกการอุดหนุน ราคาน้ำมันดีเซลแล้วนั้นราคาน้ำมัน น่าจะปรับเพิ่มขึ้น 7.440 บาท ถึง 7.96 บาทต่อลิตร ( ขึ้นอยู่กับว่าจะคำนวณ Vat เข้ามาด้วยหรือไม่)
โดยต้นทุนที่เพิ่มขึ้นคิดเป็น 24.8% – 26.53% จากการคำนวณที่ฐานราคาน้ำมันที่ 30 บาทต่อลิตร
1
จากข่าวรัฐบาลมีแนวโน้มที่ยกเลิกการใช้เงินทุนอุดหนุนราคาน้ำมัน ดีเซลตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. 65 เป็นต้นไปเนื่องจากไม่สามารถแบกรับต้นทุน และ จัดสรรเงินกองทุนให้กับกองทุนได้อย่างเพียงพอ
หากถามว่าภาคส่วนไหนจะได้รับผลกระทบจากการยกเลิกอุดหนุนมากที่สุด
ก็คงจะเป็นภาคขนส่ง ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง แต่เนื่องจากปัจจุบันการขนส่งในประเทศไทยยังมีการพึงพาการขนส่งทางรถยนต์เป็นหลักทำให้ต้นทุนที่เพิ่มชึ้น น่าจะถูกส่งต่อไปอย่าง ลูกค้าอย่างเลี่ยงไม่ได้ (Cost tranfer)
1
จากตัวเลข ดัชนีราคาผู้บริโภค ของกระทรวงพาณิชย์ รอบเดือน มีนาคม
1
หมวด ไฟฟ้า เชื้อเพลิง น้ำประปา และแสงสว่าง มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคา อยู่ในระดับ 28.21% หากเทียบระหว่างเดือน มีนาคม 65 กับ มีนาคม 64 และเพิ่มขึ้น 18.58% สำหรับ 3 เดือนแรกของปี 65 เทียบกับ 64
หมวด ยานพาหนะและน้ำมันเชื่อเพลิง เพิ่มขึ้น 16.77% สำหรับ มีนาคม 65 เทียบกับ มีนาคม 64 และ 15.08% สำหรับ 3 เดือนแรกของปี 65 เทียบกับ 64
ซึ่งจากตัวเลข ดัชนีราคาผู้บริโภค นั้นพบว่าดัชนี ของหมวดที่เกียวกับเชื้อเพลิงได้มีการปรับเพิ่มขึ้นมาระดับหนึ่งแล้ว แต่การเพิ่มขึ้น หรือ การปล่อยลอยตัว น้ำมันดีเซลน่าจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อ ดัชนีราคาผู้บริโภค ไม่มากก็น้อยในช่วงระยะเวลาอันสั้น
ทางแก้ และ แนวทาง
ระยะสั้น
2
การรับซื้อน้ำมัน จากประเทศรัซเซีย : นโยบาลนี้อาจทำได้ยากที่สุดคือการซื้อน้ำมันจากประเทศ Russia ซึ่งปจจุบัน Russia เองก็มีการขาย น้ำมัน ดิบในราคาที่ discount จำนวนมากออกมา
การปรับขึ้นแบบขั้นบันได : ดูเป็น แนวทางที่รัฐบาลจะเลือกใช้ เนื่องจากทะยอย ให้ประชาชนรับรู้ต้นทุนที่เพิ่มมากขึ้น จากภาคขนส่ง
ระยะกลาง ถึง ยาว
นโยบาล รถบรรทุกไฟฟ้า : น่าจะเป็นทางแก้ปัญหาในระยะยาวที่อาจไม่ได้เกิดขึ้นได้ในระยะเวลาอันสั้น เนื่องจากต้องสร้างรแรงจูงใจให้กับผู้ประกอบการเปลี่ยนมาใช้
2
การสนับสนุน Renewable energy ที่ราคาเหมาะสม : การสนับสนุน การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทางเลือก ถือเป็นเลือกที่รัฐบาลได้มีการทำอย่างต่อเนื่องมาแล้ว แต่ การ ปรับราคามาให้เหมาะสมน่าจะเป็นอีกหนึ่งอย่างที่ต้องมีการบริหาร เพื่อลดผลกระทบจากราคาน้ำมัน ที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อค่า Ft ซึ่งสะท้อนมาในค่าไฟฟ้า
2
เรื่องการยกเลิกอุดหนุนราคาดีเซล ดูเหมือนจะเป็นเลือกไกลตัวสำหรับหลาย ๆ คน แต่ถ้าหากมองภาพร่วมแล้วนั้น การปรับขึ้นของราคาดีเซลแล้วนั้นส่งผลกระทบโดยตรงต่อประชาชนแทบทุกคน ไม่ว่จะมาจาก ต้นทุนค่าครองชีพ หรือ ต้นทุนการขนส่งและเดินทาง เพราะแม้แต่สินค้าชิ้นที่เล็กที่สุดก็ต้องใช้น้ำมันดีเซลในการขนส่ง
บทความโดย
ภูเก็จ ทองสม
อ้างอิง
โฆษณา