15 เม.ย. 2022 เวลา 03:00 • ยานยนต์
อนาคต แบตเตอรี่ จะแทนที่ น้ำมัน ? เมื่อพลังงานสะอาด มีบทบาทมากกว่าพลังงานฟอสซิล
3
ไม่นานมานี้ เราอาจได้เห็นข่าวคราวจากอุตสาหกรรมฝั่งยานยนต์ไฟฟ้า (EV) คึกคักมากเป็นพิเศษ โดยเฉพาะธุรกิจมาแรงอย่างแบตเตอรี่ ที่นับว่าเป็นกระดูกสันหลังของอุตสาหกรรมนี้ เลยก็ว่าได้
2
โดยความสนใจจากทุกภาคส่วนต่างจับจ้องไปยังบทบาทของแบตเตอรี่ในการปฏิวัติยานยนต์ ดังสะท้อนได้จากกระแสการผุดขึ้นของบริษัทผลิตแบตเตอรี่ EV หลายราย การจับมือเป็นพาร์ทเนอร์สร้างโรงงานผลิตแบตเตอรี่ร่วมกันระหว่างแบรนด์ใหญ่ระดับโลก เช่น Tesla ร่วมกับ LG Chem Panasonic และ CATL (Contemporary Amperex Technology Limited)
4
กลุ่มบริษัทพลังงานเชื้อเพลิงเริ่มเปลี่ยนทิศทางมาผลิตสินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องกับแบตเตอรี่พลังงานไฟฟ้า หรือแม้กระทั่งภาครัฐจากหลายประเทศ ก็ได้เล็งเห็นความสำคัญของแบตเตอรี่ในฐานะตัวขับเคลื่อนยานยนต์ ผ่านการออกนโยบายต่าง ๆ เช่น การตั้งเป้าหมายเลิกผลิตรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายใน มาเป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่ปล่อยมลภาวะเป็นศูนย์ (ZEV) ในทศวรรษถัดไป และมามุ่งผลิตโรงงานแบตเตอรี่เพื่อกักเก็บพลังงานไฟฟ้ามากขึ้น
6
เหตุใดผู้คนต่างคาดหวังแบตเตอรี่ในฐานะความหวังใหม่ของวงการยานยนต์? แบตเตอรี่จะมาแทนการใช้น้ำมันได้เต็มรูปแบบเลยหรือไม่ ? แล้วพัฒนาการของแบตเตอรี่จะไปสิ้นสุดลงที่ใดในอนาคต?
2
  • ย้อนวิวัฒนาการของแบตเตอรี่ แหล่งพลังงานจากปฏิกิริยาเคมี
1
เดิมทีแบตเตอรี่ได้ถูกนำไปใช้งานร่วมกับรถยนต์มาหลายร้อยปีแล้ว ซึ่งแบตเตอรี่ชนิดแรกที่ใช้คือ ตะกั่ว-กรด (Lead Acid Battery) ทำมาจากแผ่นธาตุ (Plate), แผ่นกั้น (Separator) และมีน้ำกรดกำมะถัน (Electrolyte) เป็นตัวนำปฏิกิริยาเคมีไฟฟ้า
1
ในช่วงแรก แบตเตอรี่มีจุดประสงค์หลักในการช่วยสตาร์ทเครื่องยนต์เท่านั้น ไม่สามารถขับเคลื่อนห้องเครื่องหลักของรถยนต์ได้ เนื่องจากมีน้ำหนักมาก ราคาสูง เกิดความร้อนได้ง่าย และอาจส่งผลให้เกิดการกัดกร่อนรถยนต์ จึงทำให้บริษัทผลิตรถยนต์ส่วนใหญ่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีเครื่องยนต์สันดาปภายใน (combustion engine) ซึ่งเป็นกระบวนการแปลงพลังงานเคมีเป็นพลังงานกล
4
เช่น เครื่องยนต์เบนซิน เครื่องยนต์ดีเซล ข้อดีก็คือสามารถใช้ขับรถยนต์ได้ในระยะไกล มีศูนย์บริการทั่วไปในทุกประเทศ ในทางกลับกัน เทคโนโลยีเครื่องยนต์สันดาปกลับส่งผลเสียรุนแรงต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมจนถึงปัจจุบัน
เพราะการใช้เครื่องยนต์สันดาปได้ทำให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณมาก และทำให้เกิดมลพิษทางอากาศหลายประเภท เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และก๊าซมีเทน (CH4) ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของภาวะโลกร้อน ก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์ (CO) และก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ตัวการก่อให้เกิดฝุ่นพิษ ก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ (NOx) ทำให้เกิดเหตุการณ์ฝนกรด เป็นต้น
1
นอกจากอันตรายที่เกิดขึ้นแล้ว เชื้อเพลิงที่ใช้ในเครื่องยนต์สันดาปก็มีจำกัด ซึ่งสวนทางกับจำนวนผู้ใช้ยานยนต์ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทางออกสำคัญจึงนำไปสู่แนวทางที่ว่า ทำอย่างไรให้มีพลังงานใช้ต่อไปในอนาคต และพลังงานนั้นต้องสะอาดและปลอดภัยต่อโลกให้ได้มากที่สุด
2
  • ในที่สุดแบตเตอรี่ลีเธียมไอออน กลายมาเป็น คำตอบของอุตสาหกรรม EV
1
ดังนั้น ผลลัพธ์ของการค้นหานั้น จึงนำไปสู่กระบวนการแปลงพลังงานรูปแบบใหม่ จากเครื่องยนต์สันดาปสู่พลังงานไฟฟ้าที่ปล่อยมลภาวะน้อยมากจนเกือบเท่ากับศูนย์ โดยมีแบตเตอรี่เป็นตัวกักเก็บพลังงาน
1
และจากการที่แบตเตอรี่มีต้นทุนที่ถูกลงมากกว่าแต่ก่อน หลายบริษัทก็ได้หันมาลงทุนผลิตยานยนต์ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า เริ่มต้นจากยานยนต์ไฟฟ้าพลังงานผสม (Hybrid Electric Vehicle: HEV) ที่ยังคงทำงานร่วมกับเครื่องยนต์สันดาปอยู่ พัฒนาจนไปถึงยานยนต์ไฟฟ้าแบบเต็มสูบ (Electric Vehicle: EV) ในปัจจุบัน
2
ในส่วนของแบตเตอรี่รุ่นใหม่ก็ได้รับการคิดค้นให้น้ำหนักเบา บาง มีระยะเวลาการใช้งานที่ยาวนานมากขึ้น จากแบตเตอรี่ชนิดตะกั่ว กรด กลายมาเป็นแบตเตอรี่ลิเธียมไออน (Lithium Ion) ทำจากโลหะอัลคาไลน์ที่มีน้ำหนักเบาที่สุดในโลก
1
ประกอบกับธาตุลิเธียมที่เป็นเซลล์ไฟฟ้าที่ให้ประจุไฟฟ้าสูง รวมไปถึงเป็นเซลล์แห้งที่ไม่มีส่วนประกอบอันตรายต่อธรรมชาติ จึงทำให้รถยนต์ที่มาใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนประหยัดพลังงาน ขับเคลื่อนในระยะทางที่ไกลขึ้นกว่าเดิม และมีรอบชาร์จไฟที่มากกว่าแบตเตอรี่ปกติ ยิ่งไปกว่านั้นยังสามารถนำไปใช้งานได้หลายกรณี
1
สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าขนาดใหญ่อย่างรถกระบะไฟฟ้า รถบัสไฟฟ้า หรืออุปกรณ์ขนย้ายไฟฟ้า แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนชนิด LFP (ลิเธียม-ไอออน ฟอสเฟต) จะตอบโจทย์ได้ดีที่สุด
1
ขณะที่แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนชนิด NMC (ลิเธียม-แมงกานีส-โคบอลต์-ออกไซต์) จะเหมาะกับยานยนต์ขนาดเล็กอย่าง รถยนต์ไฟฟ้าส่วนบุคคล (Passenger EV) โดยแบรนด์ที่เกี่ยวข้องกับ EV ทั่วโลกต่างเลือกใช้แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนในการผลิตเป็นหลัก ได้แก่ Tesla, BYD Company, LG Chem, Samsung SDI หรือ Panasonic Corporation
3
  • แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน โอกาสทางธุรกิจที่ไม่ควรมองข้าม
นักวิเคราะห์หลายรายเริ่มมองว่าแบตเตอรี่ลิเธียมจะมีราคาที่ถูกลงกว่านี้อีกมาก สร้างกำไรได้อย่างแข็งแกร่งสำหรับธุรกิจผลิตพลังงานและยานยนต์ในอนาคต ResearchAndMarkets.com คาดการณ์ว่ามูลค่าตลาดแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนทั่วโลกจะเติบโตจาก 41,100 ล้านดอลลาร์ ในปี 2021 สู่ 116,600 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2035
2
โอกาสของตลาดแบตเตอรี่ลิเธียมจึงดึงดูดทั้งผู้เล่นจากทั่วโลก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมพลังงานในประเทศไทยที่กำลังเปลี่ยนผ่านนโยบายบริษัทให้สอดคล้องกับกระทรวงพลังงานและกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ต้องการผลักดันไทยให้เป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนสำคัญของโลก ซึ่งมี 3 ผู้เล่นหลักที่อยู่ในสนามแข่งขันแบตเตอรี่ปัจจุบันดังต่อไปนี้
1
1. บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA อยู่ระหว่างเดินเครื่องโรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน ขนาด 1 กิกะวัตต์ชั่วโมง โดยร่วมมือกับ Amita Technologies ซึ่งเป็นบริษัทของไต้หวันที่เข้าไปลงทุน กับ Industrial Technology Research Institute (ITRI) สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีของรัฐบาลไต้หวัน โดยในปี 2021 นี้ได้วางงบลงทุน 6,000 ล้านบาท สนับสนุนในธุรกิจแบตเตอรี่ และยานยนต์ไฟฟ้าอย่างเต็มที่
4
2. บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC เป็น Flagship แบตเตอรี่ส่วนหนึ่งของปตท. ล่าสุดได้เปิดตัวโรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนแบบ Semi-Solid ซึ่งได้นวัตกรรมจากบริษัท 24M Technologies ของสหรัฐฯ ที่เข้าไปลงทุน
1
3.EVLOMO บริษัทยานยนต์ไฟฟ้าจากสหรัฐฯ และ บริษัท สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จำกัด (มหาชน) ได้จับมือลงนาม MOU จัดตั้งโรงงานแบตเตอรี่ลีเธียมที่มีขนาดกำลังการผลิต 8 กิกะวัตต์
3
  • อนาคตของแบตเตอรี่ EV ที่ไม่ได้หยุดอยู่แค่ลีเธียมไอออน
1
แม้ว่าแบตเตอรี่ลีเธียมไอออนได้ชื่อว่าเป็นตัวกักเก็บพลังงานที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และคุณสมบัติตอบโจทย์อุตสาหกรรมมากที่สุด ณ ตอนนี้ แต่แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนก็เป็นเพียงจุดเริ่มต้นที่ยังไม่สมบูรณ์แบบเท่าใดนัก ต้องอาศัยการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้แบตเตอรี่ใช้ได้นานยิ่งขึ้น บางลง เบากว่าเดิม ทนต่อความร้อน และไม่ปล่อยสารเคมีอันตรายตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตไปจนถึงออกมาเป็นผลิตภัณฑ์เต็มรูปแบบ
1
ข้อเสียของแบตเตอรี่ลีเธียมไอออนที่มักพบบ่อยก็คือ มีความหนาแน่นของพลังงานที่น้อย ยังคงเก็บพลังงานได้ในปริมาณค่อนข้างต่ำ และทำให้เล็กลงได้ยาก ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคต่อยานยนต์ EV รุ่นใหม่ในอนาคต อีกทั้งกระบวนการผลิตแบตเตอรี่ลีเธียมไอออนยังคงปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงยังมีข้อควรระวังในการใช้งานอีกมากมาย
2
ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้เกิดโซลูชันใหม่มากมายที่ตั้งใจจะแก้ Pain Point ดังกล่าว โดย
1
โซลูชันแรก คือ การทำให้แบตเตอรีลีเทียมทำจากอิเล็กทรอไลต์ในสถานะของแข็ง หรือที่เรียกว่า Solid State Batteries ที่ทำให้แบตเตอรี่มีความหนาแน่นของพลังงาน (Energy Density) สูงขึ้น มีพื้นที่กักเก็บพลังงานมากกว่าเดิม ราคาถูกลง อีกทั้งสถานะของอิเล็กทรอไลต์ที่เป็นของแข็งก็ได้ลดความเสี่ยงที่แบตเตอรี่ลีเธียมระเบิดหรือติดไฟไปได้เลย
11
ขณะนี้ยังไม่มีผู้ผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนชนิด Solid State Batteries อย่างเป็นรูปเป็นร่าง แต่เริ่มเห็นความเคลื่อนไหวจากบริษัทผลิต EV บ้างแล้ว นั่นก็คือ BMW และ Ford ที่จับมือลงทุนใน Solid Power เพื่อผลิตแบตเตอรี่ Solid-State ทั้งหมด คาดการณ์ว่าจะผลิตแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ในสายการผลิตทดลองของบริษัท ต้นปี 2022
2
อีกโซลูชันหนึ่งก็คือ การเปลี่ยนชนิดจากแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนเป็นโซเดียมไอออน (Sodium-Ion) ในการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า EV จากผลการศึกษาของ Faraday บริษัทผลิตยานยนต์ EV เผยว่า โซเดียมไออนมีราคาที่ถูกกว่าลีเธียมไอออนถึง 20-30% ปลอดภัยมากกว่า เนื่องจากสารอิเล็กทรอไลต์ในโซเดียม-ไอออนมีโอกาสติดไฟได้น้อยกว่า และเป็นมิตรต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
3
ที่สำคัญยิ่งกว่านั้น เป็นแบตเตอรี่ที่เกิดจากแร่ธาตุโซเดียมที่มีปริมาณมหาศาล สามารถรองรับกรณีที่ลิเธียมไอออนขาดแคลนได้ ขณะนี้เริ่มมีบริษัทวางแผนพัฒนาแบตเตอรี่ชนิดนี้บ้างแล้ว นั่นก็คือ CATL (Contemporary Amperex Technology Ltd) ผู้ผลิตแบตเตอรี่รายใหญ่ของจีน โดยมีแผนว่าจะสร้างเส้นทางห่วงโซ่อุปทานเพื่อรองรับการผลิตภายในปี 2023
2
ทั้งนี้ แบตเตอรี่ EV จะมีการนำไปใช้งานที่ขยับขยายไปในเครื่องยนต์อื่น ๆ ที่นอกเหนือจากยานยนต์ขนาดเล็กมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น กรณีที่ DHL ผู้นำด้านการขนส่งด่วนระหว่างประเทศ และ Eviation ผู้ผลิตเครื่องบินไฟฟ้าระดับโลกซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองซีแอตเทิล ได้สร้างประวัติศาสตร์ให้กับอุตสาหกรรมการบินด้วยการประกาศว่า DHL จะเป็นลูกค้ารายแรกที่สั่งซื้อเครื่องบินไฟฟ้า Alice จำนวน 12 ลำ จาก Eviation เพื่อใช้ในการขนส่งสินค้า
2
จากเรื่องราวนี้จะเห็นได้เลยว่า การเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมนี้ นับวันยิ่งเร่งความเร็วมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และขยายการใช้งานสู่วงกว้างมากขึ้น ดังนั้นสิ่งสำคัญ คือ การสร้าง Ecosystem ให้สามารถรองรับความเปลี่ยนแปลงได้อย่างทันท่วงที เพราะ Disruption เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ไม่มีอะไรต้านทานได้ โดยเฉพาะ การปรับตัวของธุรกิจน้ำมันเชื้อเพลิงฟอสซิล ที่ตอนนี้ อนาคตที่ว่า แบตเตอรี่อาจจะมาแทนน้ำมัน ไม่ได้เป็นเพียง อนาคตที่จับต้องยาก และอาศัยเวลาให้ค่อย ๆ เปลี่ยนผ่านอีกต่อไปแล้ว แต่ทุกอย่างที่จะเกิดนั้น อยู่เพียงแค่เอื้อมเท่านั้นเอง
1
โฆษณา