16 เม.ย. 2022 เวลา 01:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ทำไมประเทศญี่ปุ่นถึงสามารถแข่งขันกับประเทศมหาอำนาจด้าน soft power อย่างเกาหลีใต้ได้ ?
https://travel.mthai.com/world-travel/172487.html
ย้อนกลับไปประมาณทศวรรษที่ 70s-80s กระแสอเมริกันคือทิศทางหลักที่นิยามมาตรฐานคำว่า ‘Cool’ ในประเทศไทยจึงทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นก็ได้ก่อตั้งโครงการ Japan Foundation ขึ้นมาในปี 1974 เพื่อเผยแพร่วัฒนธรรมญี่ปุ่นในหมู่ชาวไทย ซึ่งหลักๆ แล้วจะเน้นไปที่วัฒนธรรมในแบบญี่ปุ่นดั้งเดิม นับตั้งแต่การชงชา จัดดอกไม้ รวมถึงภาพยนตร์ซามูไร ที่อาจจะยังดูห่างไกลจากความเข้าใจของคนไทยอยู่มากทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นตัดสินใจจะดำเนินโครงการโดยดำเนินโครงการในรูปแบบการส่งออกวัฒนธรรมตามนโยบาย Cool Japan ถือกำเนิดขึ้นในระยะสิบปีที่ผ่าน ภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ต้องการหยิบจับสินค้า Made in Japan ผสานเข้ากับวิถีทางวัฒนธรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าในการตีตลาดโลกนี้ (พิจิตรา ศุภสวัสดิ์กุล, 2559)
2
นโยบาย COOL JAPAN คือนโยบายที่ว่าด้วยการสนับสนุนสินค้าและบริการส่วนใหญ่ในกลุ่มคอนเทนต์ต่างๆไม่ว่าจะเป็น การ์ตูน ดนตรี เกม เป็นต้น และเริ่มขยายวงกว้างสู่อุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น อุตสาหกรรมเสื้อผ้า อาหารและวัฒนธรรมอีกด้วยโดยนโยบาย COOL JAPAN เป็นนโยบายที่เกิดขึ้นสมัยนายกรัฐมนตรีนาโอโตะ คัง เหตุจากที่จำนวนประชากรประเทศญี่ปุ่นลดลงอย่างต่อเนื่องและอุตสาหกรรมที่เคยรุ่งเรื่องในอดีตถดถอย การบริโภคภายในประเทศลดลงส่งผลทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจนโยบายนี้จึงถือกำเนิดขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว
ระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศญี่ปุ่นเกิดขึ้นจากการที่รัฐบาลญี่ปุ่นได้ตระหนักถึง การแข่งขันทางด้านราคาและการพัฒนาทางเทคโนโลยีอย่างรุนแรงในกลุ่มอุตสาหกรรมรถยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมส่งออกหลักของประเทศ โดยเหตุผลหนึ่งมาจากการลดลงของอัตราการเกิด ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนแรงงานในตลาดอุตสาหกรรมการผลิต อีกทั้งยังเกิดการแข็งค่าของเงินเยนที่ส่งผลให้ยอดการส่งออกสินค้าจากประเทศญี่ปุ่นลดลง ถ้าหากญี่ปุ่นยังไม่สามารถหาวิธีรับมือกับปัญหาเหล่านี้ได้อาจจะทำให้เกิดการหดตัวในอุตสาหกรรมยานยนต์และตามมาด้วยการว่างงานของแรงงานในประเทศจำนวนมาก
แต่ในขณะนั้นรัฐบาลก็ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและศักยภาพในการแข่งขันของมูลค่าผลิตภัณฑ์ที่มาจากสินทรัพย์ทางวัฒนธรรม ซึ่งเป็นที่ยอมรับในหลายประเทศ รวมถึงการขยายตัวของภาคบริการภายในประเทศ รัฐบาลญี่ปุ่นจึงมีความตั้งใจที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยการส่งออกสินค้าที่มีรากฐานมาจากความคิดสร้างสรรค์และวัฒนธรรมของประเทศญี่ปุ่นออกไปยังตลาดโลกมากขึ้น จนเกิดเป็นนโยบาย “Cool Japan” ซึ่งมีแนวคิดการพัฒนาสินค้าและบริการของญี่ปุ่นที่ชาวต่างชาติมองว่ามีความพิเศษหรือ Cool พร้อมทั้งการสร้างความสัมพันธ์กับต่างประเทศทั้งในแง่ของเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และการทูต
1
เพื่อเตรียมพร้อมให้กับการต่อยอดและส่งออกสินค้าและบริการที่มีความเป็นญี่ปุ่นจากนโยบาย Cool Japan ไปสู่นานาประเทศทั่วโลกนั่นจึงเป็นเหตุผลที่ประเทศญี่ปุ่นทุ่มงบประมาณมหาสารเพื่อสนับสนุนโครงการดังกล่าวเพื่อหวังให้เป็นอุตสาหกรรมสำคัญในอนาคตตลอดจนถือเป็นความหวังของใหม่ของประเทศญี่ปุ่น (cea , 2562)
ซึ่งจากเหตุผลดังกล่าวทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นเห็นความสำเร็จในการสร้างกระแส K-POP ของประเทศเกาหลีใต้ซึ่งถือเป็นประเทศที่มีการส่งออกวัฒนธรรมเป็นลำดับต้นๆซึ่งประเทศเกาหลีใต้ส่งออกวัฒนธรรมของประเทศในรูปแบบ ละคร ซีรี่ย์ ภาพยนตร์ ดนตรี อาหารโดยผ่านการสนับสนุนจากรัฐบาลซึ่งเราจะสามารถเห็นได้ว่าการส่งออกนี้ประสบความสำเร็จอย่างมากและสามารถสร้างรายได้อย่างมหาศาลส่งผลให้ประเทศเกาหลีใต้เป็นผู้นำด้านการส่งออกวัฒนธรรม ดังนั้นประเทศญี่ปุ่นเองซึ่งมีจุดแข็งทางวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง จึงได้พัฒนานโยบาย “Cool Japan” เพื่อสร้างให้เป็นกลไกในการขยายตลาดสินค้าและบริการออกสู่ต่างประเทศ ผ่านวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของประเทศญี่ปุ่นในรูปแบบของแฟชั่น เกม การ์ตูน อาหาร หรือที่เรียกว่า “อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Industry)”
1
นโยบาย “Cool Japan” เป็นนโยบายที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจทั้งในและนอกประเทศ โดยใช้จุดเด่นของสินค้าและบริการที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ไปใช้ในการสร้างฐานการตลาดในต่างประเทศ เพื่อเชิญชวนนักท่องเที่ยวให้เดินทางมาเยือนประเทศญี่ปุ่น เพื่อให้เกิดการบริโภคภายในประเทศเพิ่มขึ้นโดยได้รับการผลักดันจากรัฐบาลอย่างเต็มที่ (วิฑูรย์ สิมะโชคดี, 2560)
เมื่อประเทศญี่ปุ่นเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซานิ่งไม่เติบโตกว่าสิบปี จนเรียกว่าเป็นทศวรรษที่สูญเสียไป (the lost dacade) ของประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากการขายสินค้าอุตสาหกรรมที่เป็นรายได้หลักทำเงินให้ประเทศญี่ปุ่นมาโดยตลอดถูกประเทศจีน และเกาหลีใต้ แย่งตลาดไป ทำให้สินค้าญี่ปุ่นขายได้น้อยลงทำให้รายได้ของประเทศลดลงเนื่องจากคนญี่ปุ่นเป็น คนมีระเบียบชีวิต มีการคิดวางแผนอนาคต และมีอายุยืนยาวมากขึ้น จึงทำให้มีความวิตกกังวล กลัวจะไม่มีเงินใช้ยามแก่จึงไม่ยอมใช้เงินจับจ่ายใช้สอยโดยไม่จำเป็น ทำให้การบริโภคในประเทศถดถอย การขายสินค้าภายในประเทศไม่เติบโต
ประเทศญี่ปุ่นจึงคิดแก้ไขโดยหาทางออกจากกรอบเศรษฐกิจเดิมที่อาศัยฐานการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม มาเป็นแนวคิดเศรษฐกิจใหม่ คือการเอาสิ่งดีที่ประเทศญี่ปุ่นมีอยู่แล้วในวัฒนธรรมและวิถีชีวิตชาวญี่ปุ่นมาใช้ให้เป็นประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เรียกว่า The Cool Japan ซึ่งใช้ความอ่อนโยนทางวัฒนธรรมในการผลิตสินค้าและบริการซึ่งแตกต่างจากอำนาจทางเศรษฐกิจเดิม (สมชัย, 2559)
โดยเป้าหมายว่าจะมีรายได้จากขายสินค้าและบริการบนพื้นฐานวัฒนธรรมของญี่ปุ่นภายใต้โครงการผสมผสานความเป็นญี่ปุ่นและวัฒนธรรมร่วมสมัยไว้อย่างน่าสนใจไม่ว่าจะเป็นการแสดง Pictogram สัญลักษณ์กีฬาที่ได้กลิ่นอาย ‘เกมซ่าท้ากึ๋น’ รายการเกมโชว์ประชันความสามารถชื่อดังของญี่ปุ่น แอนิเมชันโปรโมทที่ทำให้นึกถึง Studio Ghibli การที่ ‘วัฒนธรรมร่วมสมัย’ ของญี่ปุ่นสามารถมีอิทธิพลกับการยอมรับในระดับนานาชาติขนาดนี้ ถือว่าเป็นการใช้ Soft Power ที่ประสบความสำเร็จมาก ๆ ในการฟื้นคืนเศรษฐกิจประเทศญี่ปุ่นที่ซบเซามากว่า 20 ปี (Laksana Kachaban, 2564)
โฆษณา